เคล็ดลับในการฝึกอารมณ์สำหรับทารกหรือเด็กวัยหัดเดินอายุต่ำกว่า 2 ขวบ

(วีดีโอที่อัปโหลดแล้ว 06/23)

การถอดเสียง

หัวข้อ:
เคล็ดลับในการฝึกอารมณ์สำหรับทารกหรือเด็กวัยหัดเดินอายุต่ำกว่า 2 ขวบ

ผู้บรรยาย:
ผู้บรรยาย: เคล็ดลับในการฝึกอารมณ์
สำหรับทารกหรือเด็กวัยหัดเดินอายุต่ำกว่า 2 ขวบเราทุกคนต่างเกิดมาพร้อมอารมณ์
โดยการเข้าร่วมการเข้าใจและการยอมรับอารมณ์ของเด็กและกลายเป็น “โค้ชอารมณ์” ของเด็ก
ผู้ปกครองควรสนับสนุนสุขภาพทางกาย
และทางจิตใจตั้งแต่แรกเกิด
ซุปเปอร์: การฝึกฝนอารมณ์; สนับสนุนสุขภาพทางกายและทางจิตใจ
ผู้บรรยาย: ทารกมีความสามารถการออกเสียงที่จำกัด
เคล็ดลับทั้ง 3 ข้อนี้จะช่วยคุณตอบสนองอารมณ์ของพวกเขา:
หัวข้อย่อย: เคล็ดลับในการตอบสนองอารมณ์ของทารก
ซุปเปอร์: ให้ความสนใจ: สังเกตการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์
และสถานะของทั้งลูกและตัวคุณเอง
ผู้บรรยาย: “ให้ความสนใจ”
สังเกตการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์
และสถานะของทั้งลูกและตัวคุณเอง
ซุปเปอร์: ปรับมุมมอง: ทำความเข้าใจ
และใช้โอกาสนี้ในการสร้างสัมพันธ์กับลูกของคุณ
ผู้บรรยาย: “ปรับมุมมอง”
ทำความเข้าใจและใช้โอกาส
ในการสร้างสัมพันธ์กับลูกของคุณ
ซุปเปอร์: แสดงความเข้าอกเข้าใจ: แสดงความเข้าใจ
ผู้บรรยาย: “แสดงความเข้าอกเข้าใจ”:
แสดงความเข้าใจ
มาดูกันว่าพ่อแม่จะตอบสนองต่ออารมณ์ของทารกได้อย่างไร
หัวข้อย่อย: เคล็ดลับในการตอบสนองต่ออารมณ์ทารกหรือเด็กวัยหัดเดิน
ผู้บรรยาย: เคล็ดลับในการตอบสนองต่ออารมณ์ทารกหรือเด็กวัยหัดเดิน
เด็กน้อยวัยสี่เดือนเอาของเล่นเข้าปาก
ผู้ช่วยแม่บ้านนำ
ของเล่นออกทันทีที่เธอเห็น
และบอกเด็กว่าห้ามนำสิ่งของเข้าปาก
ผู้ช่วยแม่บ้าน: ไม่นะ! ไม่!
ซุปเปอร์: ให้ความสนใจ
ผู้บรรยาย: คุณแม่ “เอาใจใส่” ลูกซุปเปอร์: ปรับมุมมองแม่: ฉันรู้ว่าคุณกังวลว่าของเล่นสกปรก
แต่ถ้าคุณ “ปรับมุมมองของคุณ”
เขาชอบหยิบของใส่ปากในขั้นนี้
และการเอาของเล่นออกไปจะทำให้เขาอารมณ์เสียแน่ๆ
ให้ยางกัดที่สะอาดแก่เขาแทนเถอะนะ
ซุปเปอร์: แสดงความเข้าอกเข้าใจ
ผู้บรรยาย: คุณแม่กำลังอุ้มลูกขึ้นมาอย่างอ่อนโยน
และเลียนแบบการแสดงออกของเขาเพื่อ "แสดงความเข้าอกเข้าใจ"ผู้ช่วยจึงเอายางกัดที่สะอาดให้เด็ก
และเด็กก็ยิ้มอีกครั้ง
ลองดูอีกสถานการณ์
คุณพ่อกลับมาจากทำงาน
และคุณแม่ก็อุ้มลูกให้เขา
คุณพ่อรู้สึกตื่นเต้น
แต่ลูกเริ่มร้อง
ซุปเปอร์: ให้ความสนใจ
ผู้บรรยาย: คุณพ่อ “ให้ความสนใจ” กับความรู้สึก
และความต้องการของตนเองและลูกและคิด
ซุปเปอร์: ปรับมุมมอง
พ่อ: ผมผิดหวังเล็กน้อย
เขาไม่ต้องการอยู่กับผม
แต่มันเป็นเรื่องปกติสำหรับทารกอายุเก้าเดือน
ที่จะกลัวการแยกจากแม่
เมื่อผม “ปรับมุมมองของผม”
ผมเห็นว่าการอยู่กับเขาขณะที่เขาไม่มีความสุข
ยังสามารถเป็นช่วงเวลาแห่งความสัมพันธ์
ซุปเปอร์: แสดงความเข้าอกเข้าใจ
ผู้บรรยาย: จากนั้นคุณพ่อจึงปลอบลูกอย่างอ่อนโยน
และ “แสดงความเข้าอกเข้าใจ” โดยการพูด
พ่อ: แย่จัง คิดถึงแม่แล้วใช่ไหม
ไปหาแม่กันเถอะ ชู่วว...
ผู้บรรยาย: คุณพ่อจึงอุ้มลูก 
และทั้งคู่ก็มองคุณแม่จากนอกห้องครัว
ลูกค่อยๆ หยุดร้อง
เมื่อลูกของคุณมีความสุข
คุณอาจจะใช้เคล็ดลับนี้
ไปดูกันเลย!

คุณยายกำลังยุ่งในการเตรียมอาหารเย็น
เมื่อหลานอายุ 18 เดือนของเธอพยายามจะให้เธอเล่นกับเขาพร้อมกับของเล่นในมือ
เด็กชาย: คุณยาย!
ซุปเปอร์: ให้ความสนใจ
ผู้บรรยาย: คุณยาย “ให้ความสนใจ”
และรู้ว่าหลานของเธอต้องการจะเล่นกับเธอ
แต่เธออยากจะทำอาหารให้เสร็จก่อน
ซุปเปอร์: ปรับมุมมอง
ผู้บรรยาย: คุณยาย “ปรับมุมมองของเธอ” และ
ตระหนักได้ว่าหลานเธอไม่เข้าใจว่า
เธอกำลังยุ่ง แต่เพียงแค่อยากให้มีใครสักคนมาอยู่ด้วย
ซุปเปอร์: แสดงความเข้าอกเข้าใจ
ผู้บรรยาย: ดังนั้น คุณยายจึง “แสดงความเข้าอกเข้าใจของเธอ” และพูดคุณยาย: หนูมีความสุขและหนูอยากจะเล่นกับยาย!

นั่งตรงนี้นอกครัวเป็นไงล่ะ
เพื่อที่ฉันจะได้ดูคุณเล่น
แล้วฉันจะเล่นกับคุณเมื่อฉันทำอาหารเสร็จ
ผู้บรรยาย: เด็กชายรู้สึกมีเพื่อนและเล่นอย่างมีความสุข
นอกประตูกั้นเด็กโดยอยู่ในสายตาของคุณยาย
ในเวลาเดียวกัน
เธอสามารถทำอาหารต่อได้อย่างสบายใจ
ซุปเปอร์: ให้ความสนใจ; ปรับมุมมอง; แสดงความเข้าอกเข้าใจ
ผู้บรรยาย: เมื่อลูกของคุณมีอารมณ์
“ให้ความสนใจ” และสังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงทางอารมณ์
ของคุณและลูกของคุณ
“ปรับมุมมอง” และเตือนตัวเอง
นี่คือโอกาสที่จะสร้างสัมพันธ์กับลูกของคุณ
จากนั้น “แสดงความเข้าอกเข้าใจ” เพื่อเสริมความรู้สึกด้านความปลอดภัย
และส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองและเด็กหากต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับพัฒนาการด้านสังคมอารมณ์ของเด็ก
และวิธีการตอบสนองต่ออารมณ์ของเด็กก่อนวัยเรียน
โปรดรับชมวิดีโอ “ความรู้สึกและความสัมพันธ์มีความสำคัญ”
และ “การฝึกอารมณ์ 5 ขั้นตอน”
หากต้องการเข้าใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับการฝึกอารมณ์
กรุณาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของบริการสุขภาพครอบครัว
กรมอนามัยที่ ที่ www.fhs.gov.hk
และอ้างถึงแผ่นพับที่เกี่ยวข้อง
วิดีโอนี้จัดทำโดย
บริการสุขภาพครอบครัว กรมอนามัย