ความรู้สึกและความสัมพันธ์มีความสำคัญ – ส่งเสริมการพัฒนาอารมณ์ทางสังคม
การถอดเสียง
หัวข้อ:ความรู้สึกและความสัมพันธ์มีความสำคัญ – ส่งเสริมการพัฒนาอารมณ์ทางสังคม
ผู้บรรยาย:ผู้บรรยาย: ความรู้สึกและความสัมพันธ์มีความสำคัญส่งเสริมการพัฒนาอารมณ์ทางสังคม
ซุปเปอร์: การพัฒนาอารมณ์ทางสังคม
การดูแลความต้องการทางกายของลูกเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง
การเลี้ยงดูการพัฒนาทางสังคมและอารมณ์ก็เช่นกัน
การจัดการอารมณ์ของเด็กตั้งแต่อายุยังน้อยช่วยส่งเสริม
พัฒนาการระยะยาวในด้านต่างๆ รวมถึง
การควบคุมอารมณ์และทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์
หัวข้อย่อย: เด็กแรกเกิด
ผู้บรรยาย: เด็กแรกเกิด
เด็กแรกเกิดยังไม่สามารถพูดได้ แต่พวกเขาสามารถแสดงอารมณ์หลากหลายแบบผ่านการส่งเสียงและท่าทาง
ทารกอายุหนึ่งเดือนคนนี้
ได้รับอาหารและเปลี่ยนผ้าแล้วแต่ยังคงร้องอยู่ผู้ปกครองไม่รู้ว่าต้องทำอย่างไรน้าของคุณแม่ย้ำเตือนพวกเขา
ว่าการร้องไห้เป็นวิธีที่ง่ายที่สุดที่ทารกจะแสดงความต้องการของเขา
เขาอาจจะรู้สึกไม่สบายตัวหรือต้องการเพื่อน
เธอบอกให้แม่อุ้มลูกขึ้น
กอดและโอ๋เขา
คุณแม่จึงอุ้มลูกขึ้นมาและพูดว่า
แม่: โอ้! แม่อยู่นี่แล้ว ชู่วว...
ผู้บรรยาย: หลังจากนั้นทารกจึงเงียบลง
ป้ายังคงบอกแม่ว่า
ป้า: เขาจำเสียงแม่ได้แล้ว
ให้กอดเขามากขึ้นและอยู่เป็นเพื่อน
เพื่อช่วยให้เขารู้สึกปลอดภัย
ดูเหมือนว่าการร้องไห้จะเป็นสิ่งเดียวที่เขารู้จัก
แต่เขาจะแสดงอารมณ์มากขึ้นในหนึ่งหรือสองเดือน
ผู้บรรยาย: ทารกจะค่อยๆ หยุดร้องหลังจากถูกอุ้มและได้ยินเสียงอ่อนโยนของแม่
หัวข้อย่อย: ความวิตกกังวลจากการพรากจาก
ผู้บรรยาย: ความวิตกกังวลจากการพรากจาก
แม่คนนี้กำลังจับลูกชายวัยเก้าเดือนที่ห้องเด็กเล่นและพบกับเพื่อนที่ไม่ได้เจอกันนานเพื่อนของเธอพยายามจะอุ้มลูก
ทารกเริ่มร้อง
คุณแม่ปลอมลูกของเธอก่อน
หลังจากที่เล่นด้วยกันสักพักคุณแม่นำลูกเข้าใกล้เพื่อนของเธอทารกเริ่มยอมรับและหัวเราะตอนเล่นกับเขา
ซุปเปอร์: ความวิตกกังวลจากการพรากจาก
ผู้บรรยาย: ทารกเริ่มแสดงความวิตกกังวลจากการพรากจากตั้งแต่อายุราวแปดเดือนเมื่อทารกถูกแยกตัวออกจากผู้ดูแล
โดยอยู่กับผู้คนหน้าใหม่หรือสิ่งแวดล้อมใหม่
ทารกอาจเกิดความเครียดและเริ่มร้อง
การยอมรับการตอบสนองพัฒนาการตามธรรมชาตินี้
ผู้ปกครองควรช่วยลูกของท่านในการพัฒนาความรู้สึกปลอดภัย
และค่อยๆ ปรับตัวจากการแยกจากได้
หัวข้อย่อย: สองขวบตัวร้าย
ผู้บรรยาย: สองขวบตัวร้าย
เมื่อเด็กอายุครับสองขวบ
อารมณ์ของเขาจะซับซ้อนยิ่งขึ้น
ด้วยการพัฒนาตนเองทางความคิด
เขาเริ่มจะมีความคิดของตัวเองมากยิ่งขึ้นและอาจจะไม่ค่อยให้ความร่วมมือมากนักคุณคุ้นเคยสถานการณ์เหล่านี้หรือไม่
คุณพ่อท่านนี้กำลังแต่งตัวให้ลูกสาว
เพื่อไปเล่นที่สวนสาธารณะ
ลูกสาวของเขาเริ่มขัด
และไม่ยอมสวมกางเกงซ้ำแล้วซ้ำเล่า
ลูกสาว: ไม่ค่ะ!
ผู้บรรยาย: คุณพ่อจึงปลอบลูกสาวอย่างใจเย็น
ก่อนจะเชิญชวนให้ลูกให้ความร่วมมืออย่างอ่อนโยน
เด็กสองขวบจะมีความหงุดหงิดได้ง่าย
และพวกเขาสามารถเรียนรู้ที่จะรับมือ
อย่างไรก็ตาม การมองสิ่งต่างๆ จากมุมมองของเขา
และให้คำแนะนำด้วยความอดทนผู้ปกครองสามารถช่วยเขาในการควบคุมอารมณ์ได้
หัวเรื่องย่อย: เด็กก่อนวัยเรียน
ผู้บรรยาย: เด็กก่อนวัยเรียน
เมื่อเข้าสู่วัยก่อนเรียน
ลูกของคุณจำเป็นต้องเรียนรู้วิธีการเข้ากับเพื่อนๆคุณสามารถให้โอกาสเขาในการเล่นกับเพื่อนๆ และ
แนะนำเขาให้ใส่ใจความต้องการและความรู้สึกของผู้อื่น
กลุ่มเด็กๆ กำลังเล่นอย่างมีความสุขในสวนสาธารณะ
คุณย่าและคุณพ่อของเด็กกำลังมองกลุ่มเด็ก คุณย่าพูดว่า
ย่า: ลูกชายของเธอเล่นตลอดเวลาทำไมเธอไม่ลองส่งเขาเข้าเรียนล่ะ
ผู้บรรยาย: คุณพ่อไม่เห็นด้วยและอธิบาย
พ่อ: การเล่นเป็นสิ่งสำคัญสำหรับเด็ก
พวกเขาจะสนุก
และเรียนรู้การเข้ากับคนอื่นไปด้วย
ผู้บรรยาย: ขณะที่พวกเขาคุยกัน เด็กชายเริ่มโต้เถียง
กับเด็กอีกคนหนึ่งบนม้าสปริง
ลูกชาย: เราก่อนสิ! โว้ววว...
เด็ก: ไม่! เรากำลังเล่นอยู่
ผู้บรรยาย: คุณพ่อจึงเดินไปหาและปลอบลูกของเขา
และบอกให้พวกเขาแบ่งกันเล่น
เด็กก่อนวัยเรียนเริ่มแยกแยะความรู้สึกของตัวเอง
และของเพื่อน
พวกเขาชอบที่จะเล่นกับเพื่อนๆ อีกด้วย
แต่พวกเขาจำเป็นต้องได้รับคำแนะนำจากผู้ปกครองในการพัฒนาทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์
เด็กแสดงอารมณ์ที่แตกต่างกันตั้งแต่แรกเกิด
การตอบสนองความต้องการด้านพัฒนาการ
และให้คำแนะนำที่เหมาะสม
ผู้ปกครองสามารถวางรากฐานที่มั่นคงหรับการพัฒนาด้านสังคมอารมณ์ และด้านอื่นๆไม่ใช่เรื่องยาก!
สำหรับข้อมูลเรื่องพัฒนาการทางด้านสังคมและอารมณ์ของเด็ก
และวิธีการตอบสนองอารมณ์ของเด็กโปรดรับชมวิดีโอเรื่อง “เคล็ดลับในการฝึกอารมณ์”
และ “การฝึกอารมณ์ 5 ขั้นตอน”
คุณสามารถเยี่ยมชมเว็บไซต์ของบริการสุขภาพครอบครัว
กรมอนามัยได้ที่ www.fhs.gov.hkและอ้างถึงแผ่นพับที่เกี่ยวข้องวิดีโอนี้จำทำโดยบริการสุขภาพครอบครัว กรมอนามัย