การเลี้ยงดูบุตรชุดที่ 18 - เรียนรู้อย่างมีความสุข II
ในการเรียนรู้อย่างมีความสุข I พวกเราพูดคุยกันเกี่ยวกับเด็กที่ต้องเจอกับเรื่องที่ยากลำบาก เรียนรู้ที่จะรับมือกับความผิดพลาด พยายามแก้ไขปัญหาด้วยตนเองและเรียนรู้จากความผิดพลาดต่าง ๆ นั้น อย่างไรก็ตาม หากปัญหานั้นยากเกินกว่าที่เด็กจะแก้ได้ เขาอาจประสบกับความพ่ายแพ้บ่อยครั้งซึ่งส่งผลกระทบต่อแรงจูงใจในการเรียนรู้และความมั่นใจในตนเอง ผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็กต้องระบุระดับพัฒนาการของเด็กและเลือกกิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับระดับของเขา*
เพื่อที่จะช่วยให้บุตรของท่านบรรลุภารกิจตามจังหวะของตนและพัฒนาความรู้สึกของความสำเร็จ พวกเราขอแนะนำแนวทางที่เป็นระบบด้านล่างนี้:
- แต่ละภารกิจสามารถแบ่งออกได้เป็นชุดของขั้นตอนย่อย ๆ
- ตั้งเป้าหมายการสอนที่ชัดเจน แบ่งภารกิจออกเป็นจำนวนขั้นตอนย่อย ๆ แต่ละขั้นตอนควรเกี่ยวข้องกับการกระทำและนำไปสู่ขั้นตอนต่อไป จำนวนและขนาดความย่อยของขั้นตอนนั้นขึ้นอยู่กับความสามารถของเด็ก
- แนะนำเด็กทีละขั้นตอน
- ให้คำสั่งที่ชัดเจนและสั้นกระชับกับเด็ก สาธิตให้ดูหากจำเป็น
- สังเกตและให้เวลาเด็กได้ลองปฏิบัติด้วยตัวเขาเองก่อน
- หากเด็กไม่สามารถปฏิบัติตามขั้นตอนได้ ให้คำแนะนำทางการพูดหรือให้คำแนะนำทางกายภาพเพื่อทำให้สำเร็จ หากจำเป็น แบ่งขั้นตอนให้ย่อยกว่าเดิม
- เมื่อทุกขั้นตอนเสร็จสิ้น ให้แสดงการรับรู้ของท่านด้วยการชื่นชมเขาหรือใช้ท่าทาง เช่น ยกนิ้วโป้งขึ้น หรือตบเบา ๆ จากนั้นไปยังขั้นตอนถัดไป
- สำหรับแต่ละขั้นตอน ให้ทำซ้ำจุดที่ 4 ถึง 7 จนกว่าขั้นตอนสุดท้ายจะเสร็จสมบูรณ์
- ให้รางวัลบุตรของท่านด้วยขนมเล็กน้อยหลังจากที่เขาได้ปฏิบัติภารกิจทั้งหมดเสร็จสิ้นในขั้นตอนแรกของการดำเนินการตามแผน สามารถใช้ตารางพฤติกรรมในการช่วยการเพิ่มการเรียนรู้พฤติกรรมที่ดีของเด็กได้ (กรุณาอ้างถึง "การเลี้ยงดูบุตรชุดที่ 15 - การจัดการพฤติกรรมของเด็กก่อนวัยเข้าเรียนของท่าน I").
- ค่อย ๆ ลดการให้คำแนะนำและคำสั่งลงเมื่อเด็กเรียนรู้ทักษะ
ตัวอย่างการใช้งาน
สถานการณ์ 1: การสอนเด็กทำแซนวิช
- เป้าหมาย: ทำแซนวิชแฮม 2 ชิ้นและบรรจุใส่กล่อง
- แบ่งภารกิจเป็นขั้นตอนย่อย ๆ :
- ตรวจสอบสิ่งที่เขาต้องการในการทำแซนวิช - มีด แยม แผ่นขนมปัง แฮม มะเขือเทศหั่นแว่น กล่อง
- ช่วยเขานำสิ่งของออกมาทีละชิ้น
- ใช้มีดตักแยมออกมา
- ทาแยมบาง ๆ บนแผ่นขนมปัง
- วางแฮมลงบนแผ่นขนมปัง
- วางมะเขือเทศหั่นแว่นสองชิ้นลงบนแฮม
- นำขนมปังอีกแผ่นขึ้นมา
- ใช้มีดทาแยมบนขนมปัง
- วางมันลงบนขนมปังแผ่นแรก ประกบฝั่งที่ทาแยมเข้าหากัน
- ใช้มีดตัดแผ่นขนมปังตามแนวตรงกลาง
- นำขนมปังทั้งสองชิ้นใส่กล่อง
- ขอให้บุตรทำขั้นตอนแรกและให้คำแนะนำตรงที่จำเป็น
- ชื่นชมเขาเมื่อเขาทำขั้นตอนนั้นสำเร็จ
- ถามเขาว่าขั้นตอนที่สองคืออะไร ให้คำแนะนำหากจำเป็น ทำซ้ำข้อที่ 4 ถึง 7 ตามที่กล่าวไว้ด้านบน และอื่น ๆ
สถานการณ์ 2: บุตรชายของท่านมักไม่สามารถอ่านหนังสือนิ่ง ๆ ได้นานมากกว่า 5 นาที หากท่านต้องการอ่านหนังสือด้วยกันและพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องราวในหนังสือกับเขา เขาจะลุกออกจากที่นั่งหลังจาก 5 นาทีผ่านไปและส่วนการสนทนามักจะเป็นไปไม่ได้เลย
- ก่อนตั้งเป้าหมาย ให้พิจารณาว่าหนังสือนั้นยากเกินไปสำหรับระดับพัฒนาการของบุตรหรือไม่ และให้ตรวจสอบสภาพแวดล้อมทางกายภาพด้วย สภาพแวดล้อมทางกายภาพควรทำให้รู้สึกสบายและมีสิ่งรบกวนน้อย หากเป็นไปได้ ให้ปรับปรุงปัจจัยเหล่านี้
- พิจารณาเป้าหมายการสอน เนื่องจากเด็กสามารถเข้าใจและพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องราวได้มากกว่าการอ่านตัวอักษรจำนวนเยอะ ๆ ในช่วงอายุเท่านี้ ดังนั้นให้พูดคุยเรื่องราวในหนังสือหลังอ่านเสร็จจะเป็นเป้าหมายที่เหมาะสมกว่าทำเป้าหมายหนึ่งให้สำเร็จลุล่วงก่อนไปอีกเป้าหมายหนึ่งเพื่อให้ง่ายขึ้นสำหรับเด็กและเพิ่มโอกาสความสำเร็จ
- สังเกตว่าเด็กสามารถอ่านหนังสือที่เขาคุ้นเคยกับคุณเป็นเวลา 5 นาทีได้ดีเพียงใด (เช่น สามารถติดตามเรื่องราวและอ่านออกเสียงคำที่คุ้นเคยเมื่อท่านอ่านกับเขาได้)
- เป้าหมาย: ขอให้เด็กนั่งกับที่เป็นเวลา 5 นาทีเพื่ออ่านหนังสือและพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องในหนังสือกับคุณ
- ขั้นตอนที่ท่านสามารถปฏิบัติได้:
- ขอให้เด็กเลือกหนังสือที่ชอบ
- นั่งกับเด็ก เปิดหนังสือและเริ่มอ่านให้เขาฟัง (หลังจากตรวจสอบระดับการอ่านของเขาตามที่อธิบายไว้ข้างต้น)
- หยุดเพื่อให้เขาได้เติมคำที่คุ้นเคยลงไปในเนื้อเรื่อง ชื่นชมเขาทุกครั้งที่เขาสามารถทำได้
- เมื่อหมด 5 นาที ปล่อยให้เขาลุกจากที่นั่งและพักสองนาที
- หลังจากหนึ่งนาที เตือนว่าเขาควรกลับมานั่งที่ในอีกหนึ่งนาที
- เมื่อหมดเวลา ขอให้เด็กกลับมานั่งกับที่ พาเขากลับมาหากจำเป็น
- ชื่นชมเด็กเมื่อเด็กปฏิบัติตามกฎ
- อ่านหนังสือกับเขาจนจบและชื่นชมเขา จากนั้นพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องราวในหนังสือกับเขา หากเขาสามารถจำรายละเอียดบางส่วนหรือใช้คำศัพท์จากหนังสือได้ ให้ชื่นชมเขาที่เขาทำได้
- วิธีนี้ดูเหมือนจะใช้เวลามาก อย่างไรก็ตาม ทั้งท่านและเด็กสามารถดำเนินการเพื่อไปสู่เป้าหมายที่ชัดเจนได้ ดังนั้นให้หลีกเลี่ยงความขัดแย้งและความหงุดหงิดใจที่ไม่จำเป็น วิธีนี้ยังช่วยให้เด็กมีสมาธิที่นานขึ้นอีกด้วย
- เมื่อเด็กเริ่มคุ้นเคยกับกระบวนการนี้ ท่านอาจค่อย ๆ ปรับเปลี่ยนขั้นตอนเพื่อผลลัพธ์ที่ดีขึ้นได้ เช่น ท่านสามารถใช้คำชี้นำ เช่น พูดว่า "หมี" แทน "ตุ๊กตาหมี" เพื่อช่วยให้เขาคิดคำที่ไม่คุ้นเคยได้ หรือปล่อยให้เด็กหยุดพักหลังจากอ่านหนังสือได้หกนาทีแทนที่จะเป็นห้านาที เมื่อเด็กคุ้นเคยกับการเปลี่ยนแปลงนี้ ให้แนะนำการปรับเปลี่ยนเพิ่มเติมแบบค่อยเป็นค่อยไปและอื่น ๆ
นี่เป็นเพียงสองตัวอย่างเท่านั้น ผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็กควรนำแนวทางที่เป็นระบบและกลยุทธ์การเลี้ยงดูทางบวกนี้ไปใช้ (อ้างถึง ชุดการเลี้ยงดูบุตร15 และ 16) ในสถานการณ์ต่าง ๆ ด้วยความยืดหยุ่น ยิ่งท่านลองใช้กลยุทธ์เหล่านี้มากเท่าไหร่ ท่านจะยิ่งเก่งขึ้นมากเท่านั้น
เรามีชุดเวิร์กชอปและแผ่นพับ "การเลี้ยงดูอย่างมีความสุข!" สำหรับผู้ปกครองที่ตั้งครรภ์ ผู้ปกครองของทารกแรกเกิดและเด็กก่อนวัยเรียน โปรดติดต่อบุคลากรทางการบริการสุขภาพของเราสำหรับข้อมูล
*ชุดพัฒนาการเด็ก8A และ 8Bตีพิมพ์โดยกรมอนามัยที่อธิบายลักษณะพัฒนาการและให้คำแนะนำในการสนับสนุนพัฒนาการของเด็กอายุ 3 ถึง 6 ปี สำนักการศึกษาได้ออก “คำแนะนำเกี่ยวกับหลักสูตรก่อนประถมศึกษา” เพื่อเป็นข้อมูลอ้างอิงสำหรับสถาบันการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษาและสำหรับผู้ปกครองที่https://www.edb.gov.hk/attachment/en/edu-system/preprimary-kindergarten/overview/pre-primaryguide-net_en_928.pdf