พัฒนาการเด็ก 8A – สามถึงสี่ปี

(เนื้อหาปรับปรุงใหม่ 12/2019)

หลังจากผ่านช่วง "วัยทองสองขวบ" บุตรของท่านจะเข้าสู่ปีของโรงเรียนเตรียมความพร้อม "การเล่น" (3 ถึง 6 ปี) ช่วงเวลาที่เติมเต็มด้วย จินตนาการที่มีความหมายและการเล่นสมมติตรของท่านจะค่อย ๆ หยุดพึ่งพาผู้อื่น เรียนรู้ที่จะ ควบคุมตนเอง และมีการตอบสนองต่อความรู้สึกผู้อื่นและพัฒนาทักษะที่จำเป็นต่อการศึกษาในระบบ

ในช่วงสามปีที่กำลังมาถึง บุตรของท่านจะพัฒนาการควบคุมตนเองและการเคลื่อนไหวที่สอดคล้องกันเพื่อร่วมกิจกรรมเกมและกีฬาพัฒนาสมาธิและเพิ่มความแม่นยำในการเคลื่อนไหวนิ้วและมือเพื่อพัฒนาทักษะการเขียน การเติบโตด้านสติปัญญาเปิดโลกใหม่แก่บุตรของท่านในการสำรวจและได้รับความรู้สามารถเข้าใจกฎพื้นฐานของภาษาพูดช่วยให้เขาสื่อสารความต้องการ ความรู้สึก และความคิดได้อย่างสะดวกสบาย แม้ว่าเขาอาจต่อรองท่าน แต่เขาจะได้เรียนรู้พฤติกรรมในการทำให้คุณพอใจ เมื่อเขาพัฒนาการรับรู้ความรู้สึกและความต้องการอื่น ๆ และเริ่มมีมุมมองของตนเอง เขาจะเรียนรู้ในการสื่อสารกับผู้อื่นในวิธีการที่สังคมยอมรับได้

การเล่นกับผู้อื่นและเข้าโรงเรียนเตรียมอนุบาลให้โอกาสและประสบการณ์แก่บุตรของท่านในการฝึกฝนทักษะใหม่ ๆ ในการเตรียมพร้อมสำหรับพัฒนาการช่วงต่อไป และวิธีที่บุตรของท่านปรับตัวและทำตัวให้คุ้นเคยในโรงเรียนเตรียมอนุบาลเป็นความรู้ต่อพัฒนาการของเขา ท่านควรใช้ทุกโอกาสในการพูดคุยเกี่ยวกับความก้าวหน้าของเขากับครูของเขาเพื่อทำให้แน่ใจว่าเขากำลังปรับตัวได้ดีในหลาย ๆ ด้าน

เมื่อบุตรของท่านอายุ 4 ปี บุตรของท่านจะสามารถ:

เคลื่อนไหว

  • วิ่ง กระโดด และปีนป่ายอย่างมั่นใจ
  • ปาและรับลูกบอลลูกใหญ่ได้
  • ยืนขาเดียวได้ชั่วขณะหนึ่ง
  • ขี่จักรยานสามล้อได้อย่างง่ายดาย

ทักษะการใช้มือและนิ้ว

  • จับดินสอแบบผู้ใหญ่ได้
  • วาดวงกลมและสี่เหลี่ยมได้
  • เริ่มเรียนรู้การเลียนแบบตัวอักษรง่าย ๆ ที่ใช้ลายเส้นแนวตั้งหรือแนวนอน (เช่น 1, +, 口, L, T)
  • วาดคนที่มีส่วนของร่างกาย (มักมีศีรษะ แขนขา ตา และปาก)
  • พยายามใช้กรรไกรตัดกระดาษเป็นเส้น

พัฒนาการด้านภาษา

  • ปฏิบัติตามคำแนะนำประจำวันของผู้ใหญ่ (เช่น นำเสื้อผ้าใส่ตะกร้าซักในห้องน้ำ)
  • ฟังเรื่องง่าย ๆ และอาจขอให้ท่านเล่าเรื่องที่เขาชอบหลายครั้ง
  • มีคำศัพท์ที่ใช้งานได้ประมาณร้อยคำ
  • ใช้สรรพนามอย่างเหมาะสมได้ (เช่น เธอ ฉัน เขา)
  • ใช้ประโยคง่าย ๆ อธิบายความต้องการของเขาได้
  • เริ่มสนทนากับผู้ใหญ่
  • พูดกับบุคคลแปลกหน้าชัดและเข้าใจได้แม้ว่าเขาอาจจะออกเสียงผิดบ้างบางคำ
  • มีการเต้นขณะร้องเพลงเด็ก

พัฒนาการด้านสติปัญญา

บุตรของท่านจะใช้เวลาส่วนมากไปกับการพยายามเข้าใจทุกอย่างรอบตัวเขา เขาจะถามท่านไม่รู้จบ ไม่ต้องคาดหวังว่าท่านจะสามารถตอบคำถามทั้งหมดได้ บอกเขาว่า"พ่อ/แม่ไม่รู้ มาหาคำตอบกันเถอะ!" จะช่วยเพิ่มความรู้ของบุตรของท่านมากขึ้น ทำให้เขาพอใจจากความสงสัยและสอนวิธีการเรียนรู้แก่เขา

เนื่องจากความเข้าใจโลกของเขายังขึ้นอยู่กับสิ่งที่เขาสามารถมองเห็นได้ เขายังไม่สามารถใช้เหตุผลเชิงตรรกะเชิงนามธรรมได้ เขาจะเข้าใจคำตอบที่เป็นรูปธรรมและง่าย ๆ ในช่วงนี้ คำตอบอย่างเช่น "เพราะมันดีต่อตัวลูก" จะมีเหตุผลต่อเขามากกว่า

เช่นเดียวกัน เขาจะตีความหมายของคำตามตรง รวมถึงการแกล้งหมายถึงความสนุก เขาอาจะเข้าใจผิดหรือโกรธ ดังนั้นท่านควรระมัดระวังการเลือกคำและการโต้ตอบของท่าน

  • ชอบถามว่า "ทำไม" "ใคร" และบางครั้ง"อย่างไร"
  • เข้าใจแนวคิดพื้นฐานของจำนวน (เช่น ใหญ่และเล็ก สูงและเตี้ย ยาวและสั้น ฯลฯ)
  • รู้จักชื่อสีบางสี
  • นับตัวเลขถึง 10 และอาจนับวัตถุ 3 ถึง 4 ชิ้นได้อย่างถูกต้อง
  • เข้าใจแนวคิดด้านเวลาที่เกี่ยวกับกิจวัตรประจำวันของเขา เช่น คาดหวังว่าจะมีกิจกรรมในสนามเด็กเล่นบ้างหลังจากพี่ชายของเขากลับจากโรงเรียน

พัฒนาการด้านอารมณ์และสังคม

  • เข้าร่วมและสนุกสนานไปกับการเล่นในจินตนาการและเกมเล่นตามบทบาท
  • เล่นด้วยกันกับเด็กคนอื่น ๆ
  • เริ่มระบุเพศของตนได้ (เช่น ระหว่างการเล่นในบ้าน เด็กผู้ชายจะเลียนแบบพ่อหรือพี่ชายหรือน้องชาย และเด็กผู้หญิงจะเลียนแบบแม่หรือพี่สาวหรือน้องสาว)
  • แสดงความต้องการการเล่นกับเพศเดียวกัน
  • ควบคุมพฤติกรรมตนเองมากขึ้นและปฏิบัติตามกฎ (เช่น การผลัดกัน การแบ่งปันของเล่น)
  • รับรู้ถึงความรู้สึกผู้อื่นและอาจพยายามทำให้เพื่อนที่เล่นด้วยสบายใจ
  • มักไม่สามารถแยกแยะระหว่างจินตนาการและความจริงได้ (เช่น อาจตกใจกลัวรูปแปลกที่ตีความว่าเป็นสัตว์ประหลาดน่ากลัว)

ทักษะการดูแลตนเอง

  • รักษาตัวให้แห้งในช่วงเวลากลางวันและกลางคืนเสมอ
  • ใช้ช้อนป้อนอาหารตนเองอย่างคล่องแคล่ว
  • สามารถถอดเสื้อผ้าที่สวมใส่ง่ายได้บางชิ้น รวมถึงปลดกระดุมได้ แต่อาจต้องการความช่วยเหลือบ้างในการแต่งตัวให้เรียบร้อย
  • สวมใส่รองเท้า (ที่ไม่มีเชือกรองเท้า)
  • ล้างมือ
การกระตุ้นพัฒนาการของบุตรของท่าน

นอกเหนือจากความรักและการแสดงความรัก การจำกัดและวินัยที่มีเหตุผล บุตรของท่านต้องการgคำแนะนำและการสนับสนุนของท่าน เขายังต้องการให้ท่านจัดหาโอกาสที่จะพัฒนาและฝึกฝนทักษะที่กำลังปรากฎออกมา เด็กในวัยนี้ขี้สงสัยและอยากที่จะสำรวจเป็นธรรมชาติ ลองให้โอกาสบุตรของท่านลองกิจกรรมหลาย ๆ อย่างและให้เขาลองได้สำรวจ เช่น พาไปสวนสาธารณะ สวนสัตว์ พิพิธภัณฑ์ ห้องสมุด และสถานที่อื่น ๆ นอกเหนือจากโรงเรียนเตรียมอนุบาล

สิ่งที่ท่านทำได้
  • จัดเวลาพิเศษในแต่ละวันเพื่อพูดคุยกับบุตรของท่าน
  • พูดคุยกับบุตรของท่าน ฟังสิ่งที่เขาต้องการจะพูด แสดงความเข้าใจด้วยการพยักหน้า ยิ้ม สนับสนุนและให้ข้อมูลเพิ่มเติมใหม่ ๆ กับเรื่องที่เขาพูด
  • ตอบคำถามที่เขาถามและถามกลับเพื่อช่วยการเรียนรู้และพัฒนาภาษา
  • ช่วยเขาในเรื่องการใช้คำศัพท์เพื่ออธิบายอารมณ์และความต้องการ
  • อ่านหนังสือกับบุตรของท่านทุกวันและพูดเกี่ยวกับความรู้สึกและการกระทำของตัวละครในเรื่อง บอกเขาเรื่องพฤติกรรมที่คุณให้และไม่ให้คุณค่า
  • ช่วยสอนคำศัพท์และพัฒนาประโยคโดยการสอนคำศัพท์ใหม่และเพิ่มคำลงในประโยคของเขา
  • ใช้ประสบการณ์ในชีวิตประจำวันเพื่อแนะนำแนวคิด เช่น ขนาด สี และตัวเลข
  • สนับสนุนให้เขาพึ่งพาตนเองในการดูแลตนเอง
  • ให้งานบ้านเล็กน้อยที่เขาสามารถทำให้สำเร็จได้
  • จัดหาโอกาสให้บุตรของท่านตัดสินใจในเรื่องง่าย ๆ
  • จัดหาโอกาสให้บุตรของท่านเล่นกับเด็กและผู้ใหญ่คนอื่น ๆ
  • สนับสนุนการเล่นบทบาทสมมติ และเล่นตามบุตรของท่าน
  • จำกัดเวลาการดูหน้าจอจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ของบุตรของท่านไม่ให้เกิน 1 ชั่วโมงต่อวัน เลือกโปรแกรมที่เหมาะสมสำหรับเขาในการดูและเล่น และแนะนำเขาในขณะเดียวกัน
  • สนับสนุนให้บุตรของท่านมีกิจกรรมทางกายภาพแบบหลากหลายอย่างน้อย 3 ชั่วโมงต่อวันเพื่อเพิ่มความแข็งแรงทางกายภาพ ซึ่งควรรวมถึงกิจกรรมที่กระฉับกระเฉงอย่างน้อย 1 ชั่วโมง เช่น การเล่นสไลเดอร์และชิงช้า วิ่งและเล่นฟุตบอล *
  • หลีกเลี่ยงการให้บุตรของท่านนั่งบนรถเข็นมากกว่า 1 ชั่วโมงในแต่ละครั้ง

* เอกสารอ้างอิง

ของเล่นที่ท่านเลือกได้
  • ของเล่นขนาดเล็ก เช่น ชุดน้ำชา บ้านตุ๊กตา รถยนต์และโรงรถ สัตว์ ฯลฯ
  • ของเล่นที่ทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ เช่น บล็อกตัวต่อ ดินน้ำมัน ฯลฯ
  • สีเทียน สีน้ำ อุปกรณ์ศิลปะและการประดิษฐ์อื่น ๆ
  • จิ๊กซอว์ง่าย ๆ (เช่น จิ๊กซอว์ชิ้นใหญ่ 6-8 ชิ้น)
  • VCD หรือวิดีโอเพลงที่มีท่าเต้นหรือเรื่องราวสั้น ๆ
  • หนังสือที่มีภาพขนาดใหญ่ ชัดเจน และมีสีสัน

ข้อมูลข้างต้นเป็นเพียงแนวความคิดทั่วไปเกี่ยวกับการคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงของการเจริญเติบโตในบุตรของท่านเท่านั้น เด็กแต่ละคนมีเอกลักษณ์และจังหวะของพัฒนาการที่หลากหลายนั้นมักเป็นเรื่องปกติ ไม่ต้องวิตกจนเกินไปหากบุตรของท่านใช้ช่วงเวลาที่แตกต่างเล็กน้อยหรือไม่สามารถมีความสามารถบางอย่างในบางช่วงอายุได้ นั่นอาจเป็นเพียงสัญญาณของความต้องการการดูแลเอาใจใส่มากขึ้นก็ได้

ในตอนท้ายของช่วงเวลานี้ ให้ปรึกษาแพทย์หรือพยาบาลหากบุตรของท่าน

  • ใช้ภาชนะตักอาหารแบบง่าย ๆ เช่น ช้อนหรือส้อม ไม่คล่องแคล่ว
  • มีปัญหาในการปฏิบัติตามคำแนะนำประจำวันของผู้ใหญ่
  • ไม่พูดเป็นประโยค
  • ออกเสียงไม่ชัดเจน เข้าใจยาก
  • แสดงพฤติกรรมที่ก้าวร้าวมากเกินไปหรือตลอดเวลา
  • ติดท่านแน่นและร้องไห้อย่างรุนแรงเมื่อท่าน (หรือผู้ดูแลหลัก) ออกห่างจากตัวเขา
  • ไม่สนใจเล่นกับผู้อื่น เพิกเฉยการเล่นกับเด็กคนอื่น ๆ และต้องการเล่นคนเดียวมากกว่า
  • ไม่สามารถเห็นหรือได้ยินได้ชัด
  • มีปัญหาการเรียนรู้หรือพฤติกรรมที่โรงเรียน

หากท่านมีความกังวลหรือคำถามใด ๆ ปรึกษาพยาบาลหรือแพทย์ที่ MCHC หรือแพทย์ครอบครัว/กุมารแพทย์ของท่าน

เรามีชุดเวิร์กชอปและแผ่นพับ "การเลี้ยงดูอย่างมีความสุข!" สำหรับผู้ปกครองที่ตั้งครรภ์ ผู้ปกครองของทารกแรกเกิดและเด็กก่อนวัยเรียน โปรดติดต่อบุคลากรทางการบริการสุขภาพของเราสำหรับข้อมูล