การเลี้ยงดูบุตรชุดที่ 16 - การจัดการพฤติกรรมบุตรก่อนวัยเรียนของท่าน II
การจัดการพฤติกรรมไม่พึงประสงค์
พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมเล็กน้อยต้องได้รับการจัดการในทันที เพื่อป้องกันไม่ให้แย่ลง บ่อยครั้งสิ่งนี้สามารถจัดการได้ด้วยแนวทางที่ละมุนละม่อมแต่มีประสิทธิผลเช่น การเพิกเฉยต่อพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมเล็กน้อย กลยุทธ์การจัดการพฤติกรรมบางอย่าง (เช่น การเข้ามุม) เอาไว้ใช้เท่าที่จำเป็นเนื่องจากสงวนไว้สำหรับปัญหาพฤติกรรมที่ร้ายแรง การใช้บ่อยมีแนวโน้มว่าจะนำไปสู่การเผชิญหน้ากันระหว่างผู้ปกครอง-บุตร และนำมาซึ่งอารมณ์และสถานการณ์ที่บานปลาย มีกลยุทธ์สำรองเสมอในกรณีที่บุตรของท่านไม่ฟัง พูดคุยเกี่ยวกับผลลัพธ์สำรองเมื่อท่านพูดคุยเรื่องกฎกับเธอ โดยการทำเช่นนี้ ท่านจะสามารถวางแผนล่วงหน้าได้ว่าจะทำอะไรบ้างและสามารถเตรียมเธอให้พร้อมสำหรับผลลัพธ์ของการกระทำของเธอได้
กันไว้ดีกว่าแก้
- ทำให้บ้านของท่านไม่เป็นอันตรายต่อเด็ก เพื่อจำกัดพฤติกรรมอันไม่พึงประสงค์ของบุตรของท่าน ซึ่งหมายถึงการติดตั้งอุปกรณ์ที่ไม่เป็นอันตรายต่อเด็ก เช่น ติดตั้งประตูเพื่อป้องกันเขาจากสถานที่อันตราย; หรือล๊อกสิ่งของที่ท่านไม่ต้องการให้เขาเอื้อมถึง เช่น ของมีค่าหรือลูกกวาด
- เตรียมกิจกรรมที่น่าสนใจเช่น การต่อบล็อก วาดรูปและเล่นสมมติเพื่อให้เขามีส่วนร่วม เมื่อเขายุ่ง เขาจะเบื่อ ร้องครางเพื่อเรียกความสนใจจากท่านหรือสร้างปัญหาน้อยลง
- ตั้งกฎและกิจวัตรกับบุตรของท่านเพื่อที่เขาจะสามารถเรียนรู้ที่จะทำในสิ่งที่คาดหวังได้อย่างเป็นปกติ เช่น หลังจากจบรายการโทรทัศน์ที่ชอบแล้ว ก็จะถึงเวลาที่ต้องแปรงฟันและเตรียมพร้อมสำหรับเข้านอน ให้พูดคุยเกี่ยวกับรางวัลและผลลัพธ์กับเขา ท่านสามารถเตือนเขาถึงกิจวัตรสั้น ๆ ก่อนเวลาได้
วิธีจัดการกับพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
1. การเพิกเฉยที่วางแผนไว้
- เมื่อบุตรของท่านมีพฤติกรรมที่เป็นปัญหาเล็กน้อยซึ่งไม่เป็นอันตรายและอาจเป็นแค่การเรียกร้องความสนใจ (เช่น ยกของเล่นขึ้นมาในอากาศในขณะที่ดูปฏิกิริยาของท่าน) ท่านควร ถอนความสนใจของท่านทั้งหมด -รวมถึงการมองหรือการตะโกนใส่เธอด้วย
- เมื่อเธอหยุดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมแล้ว ให้ความสนใจเธอทันทีโดยการพูดคุยกับเธอและเบี่ยงความสนใจเธอ เช่น "หนูเป็นเด็กดีที่เล่นเงียบ ๆ ได้ หนูใส่กระโปรงสวยให้บาร์บี้ เธอกำลังไปไหนหรือจ๊ะ" หาโอกาสยกย่องชมเชยพฤติกรรมที่เหมาะสมของเธอให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
- เมื่อท่านใช้กลยุทธ์นี้ ให้เตรียมตัวไว้ว่าพฤติกรรมเจ้าปัญหานี้อาจแย่ลงในช่วงแรกเพราะบุตรของท่านต้องการความสนใจจากท่าน ให้อดทนและทำการเพิกเฉยต่อไป เธอจะเรียนรู้ว่าการทำเช่นนี้ไม่ได้ผลและจะค่อย ๆ ลดพฤติกรรมเจ้าปัญหานี้ลง
2. ผลลัพธ์
- แทนที่จะใช้วินัยเชิงลบ เช่น การตะโกนหรือตี
ผลลัพธ์ที่แตกต่างกันอาจถูกนำมาใช้เมื่อบุตรของท่านไม่ทำตามกฎ
(รายการตัวอย่างอยู่ในตารางด้านล่าง):
- ผลลัพธ์เชิงตรรกะ - เมื่อบุตรของท่านไม่ทำตามกฎ ท่านอาจริบสิทธิ์ของเขาที่เหมาะสมกับสถานการณ์ โดยปกติจะเกี่ยวข้องกับการยกเลิกกิจกรรมหรือของเล่นที่เป็นศูนย์กลางของปัญหา
- การเข้าเงียบ- นำบุตรของท่านไปยังมุมของกิจกรรม ให้เขานั่งข้าง ๆ เป็นเวลาสักพักหนึ่งในขณะที่เขายังสามารถดูคนอื่น ๆ ได้ ในระหว่างการเข้าเงียบ ไม่ให้ความสนใจอะไรกับเขาทั้งสิ้น หากเขาปฏิเสธที่จะนั่งลง ท่านอาจจับเขาอย่างเบา ๆ ให้นั่งลงในที่นั่งได้
- การเข้ามุม- ผลลัพธ์ใช้กับพฤติกรรมที่ร้ายแรงหรือก่อกวนมากกว่า กลยุทธ์จะคล้ายกับการเข้าเงียบแต่เด็กจะถูกนำไปที่ห้องหรือสถานที่ที่ห่างจากคนอื่น ๆ สถานที่จะต้อง ปลอดภัยมีแสงไฟและขาดสิ่งน่าสนใจเมื่อท่านใช้การเข้ามุม อย่าใช้วิธีนี้เป็นการลงโทษรุนแรงเพื่อขู่เด็กและทำให้เขาตกใจกลัว
- ความมีประสิทธิผลของ 3 ผลลัพธ์ข้างต้นไม่ถูกนับด้วยระยะเวลาผลลัพธ์เชิงตรรกะโดยปกติใช้ได้ผลดีที่สุดภายใน 30 นาที สำหรับการเข้าเงียบและการเข้ามุม โดยปกติ 5 นาทีก็นานพอแล้วสำหรับเด็กเล็ก การเข้าเงียบหรือการเข้ามุมควรเริ่มเมื่อบุตรของท่านหยุดประท้วงเพื่อที่เขาจะได้รู้ว่าการตะโกนไม่ได้ช่วยทำให้เขาหลุดออกจากการเข้าเงียบหรือการเข้ามุมได้ หลังอยู่จนครบเวลาที่ตั้งไว้ ให้เขากลับมายังกิจกรรมและยกย่องชมเชยเขาทันทีที่มีพฤติกรรมที่เหมาะสม อย่าสั่งสอนเขาทันทีเมื่อเขาออกมาจากผลลัพธ์ที่ตั้งไว้เพื่อหลีกเลี่ยงการทำให้เขาอารมณ์เสียอีก
- ตารางด้านล่างแสดงขั้นตอนในการรับมือกับการไม่ทำตามกฎต่อไปนี้:
ขั้นตอน | เช่น ไม่แบ่งปัน | เช่น ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ /การตี | เช่น ปฏิเสธที่จะทำตามคำสั่งในการเริ่มทำอีกกิจกรรมหนึ่ง |
---|---|---|---|
เข้าไปใกล้บุตร บอกบุตรอย่างชัดเจนว่าอะไรที่ต้องหยุดทำและต้องทำอะไรแทน | 'แมนดี้ ได้กรุณาทิ้งของเล่น ปล่อยให้คนอื่นเล่นบ้าง' | 'เท็ด หยุดตีน้องนะ เก็บมือไว้กับตัวเอง' | 'เชอรี รายการทีวีจบแล้ว ปิดทีวีแล้วไปแปรงฟันด้วยนะลูก' |
ให้เวลาเด็กในการตอบสนอง | รอ 5 วินาที | รอ 5 วินาที | รอ 5 วินาที |
ให้คำยกย่องชมเชยถ้าบุตรให้ความร่วมมือ | 'ขอบใจสำหรับการทำตามกฎนะจ๊ะ' | 'หนูทำได้ดีในการควบคุมตนเองนะ' | 'ขอบใจที่ให้ความร่วมมือนะจ๊ะ' |
หากบุตรปฏิเสธที่จะให้ความร่วมมือ ให้บอกบุตรว่าอะไรที่ทำผิดไปและผลลัพธ์คืออะไร | ปรับใช้ผลลัพธ์เชิงตรรกะ 'หนูยังไม่ได้แบ่งคนอื่น แม่จะริบของเล่นเป็นเวลา 3 นาที' | 'หนูยังไม่ได้หยุดตีน้องสาวเลย ไปเข้าเงียบ 2 นาทีเดี๋ยวนี้' | กล่าวคำสั่งซ้ำภายใต้สถานการณ์นี้ให้ผลลัพธ์หากบุตรยังปฏิเสธที่จะปฏิบัติ 'หนูยังไม่ได้ทำตามที่สั่ง ไป เข้าเงียบหนึ่งนาทีเดี๋ยวนี้' |
เมื่อหมดเวลา ให้กลับไปสู่กิจกรรม | หมดเวลาแล้ว นี่คือของเล่นของหนู' | 'หมดเวลาแล้ว หนูอาจจะไปเล่นได้อีก' | 'หนูออกมาจากการเข้าเงียบได้และไปแปรงฟันตอนนี้เลย' |
เฝ้าดูบุตรสำหรับการปฏิบัติตัวดีและให้คำยกย่องชมเชย | 'เป็นเรื่องที่ดีมากที่หนูรู้วิธีแบ่งปันให้คนอื่น' | 'แม่ดีใจที่หนูสามารถเล่นได้อย่างเงียบ ๆ' | 'หนูแปรงฟันได้ดีเยี่ยมเลยทีเดียว' |
หากปัญหาเกิดขึ้นมาอีกครั้ง ให้ใช้แผนสำรอง | 'หนูกำลังปฏิเสธที่จะแบ่งปัน ในเวลานี้แม่จะต้องริบของเล่นของหนู 4 นาที' | 'หนูยังตีน้องสาวอยู่เลย ไปเข้ามุม 3 นาทีเดี๋ยวนี้' | 'หนูยังไม่ได้ทำตามที่แม่ขอ ไปเข้ามุม2 นาทีเดี๋ยวนี้' |
If the child still does not listen, use back-up again | 'หนูยังไม่ให้ความร่วมมือ หนูต้องไป เข้าเงียบเป็นเวลา 3 นาที' | 'หนูยังไม่ให้ความร่วมมือ ไป 'เข้ามุม' 4 นาทีเดี๋ยวนี้' | 'หนูยังไม่ให้ความร่วมมือ ไป 'เข้ามุม' 3 นาทีเดี๋ยวนี้' |
การรับมือกับสถานการณ์ที่มี 'ความเสี่ยงสูง'
หากพฤติกรรมเจ้าปัญหามักเกิดขึ้นในบางสถานการณ์ เช่น บุตรของท่านจะโผไปรอบ ๆ เมื่อใดก็ตามที่เธออยู่ในซุปเปอร์มาร์เก็ต เหล่านี้คือสถานการณ์ 'ความเสี่ยงสูง' ท่านจำเป็นที่จะต้อง เตรียมตัวล่วงหน้า เพื่อลดโอกาสของการเกิดพฤติกรรมนี้ ให้พูดคุยเกี่ยวกับกฎสำหรับสถานการณ์แบบนี้กับบุตรของท่าน ตั้งรางวัลสำหรับการทำตามกฎและผลลัพธ์ของการทำพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมนี้ เตรียมของเล่นและกิจกรรมที่มีส่วนร่วมบางอย่างที่ท่านสามารถใช้เพื่อให้เธอเพลิดเพลินได้ ท่านอาจขอให้เธอช่วยผลักรถเข็น พูดคุยกับเธอเกี่ยวกับสีของสินค้าหรือนับจำนวนทางเดินกับเธอในซุปเปอร์มาร์เก็ต ท่านอาจนำสติกเกอร์หรือแสตมป์ไปกับท่านด้วยได้เพื่อให้รางวัลการประพฤติตนที่เหมาะสมของเธอได้ในทันที ยกย่องชมเชยเธอสำหรับการประพฤติตัวดี ในตอนเริ่มต้น รักษาเวลาในกิจกรรมที่วางแผนไว้ให้สั้น แล้วค่อย ๆ ยืดระยะเวลาให้นานขึ้น เมื่อเธอแสดงความก้าวหน้า ทบทวนกับเธอถึงพฤติกรรมของเธอหลังสถานการณ์นั้น ยกย่องชมเชยเธอสำหรับสิ่งต่าง ๆ ที่เธอทำได้ดีเพื่อเป็นการให้กำลังใจก่อนที่จะสนทนากับเธอถึงสิ่งที่ต้องปรับปรุงครั้งหน้า
จำไว้ว่ากลยุทธ์การจัดการพฤติกรรมเชิงบวกจะใช้ได้ดีเมื่อท่านมีความสัมพันธ์ที่ดีกับบุตรของท่าน ให้ความสนใจในพฤติกรรมเชิงบวกของเขา พูดคุยและสนุกกับเขา ด้วยการทำเช่นนี้ บุตรจะมีปัญหาด้านพฤติกรรมน้อยลงด้วย
โปรดอ้างอิงถึงแผ่นพับการจัดการพฤติกรรมบุตรก่อนวัยเรียนของท่าน I ของการเลี้ยงดูบุตรชุดที่ 15
เรามีชุดเวิร์กชอปและแผ่นพับ "การเลี้ยงดูอย่างมีความสุข!" สำหรับผู้ปกครองที่ตั้งครรภ์ ผู้ปกครองของทารกแรกเกิดและเด็กก่อนวัยเรียน โปรดติดต่อบุคลากรทางการบริการสุขภาพของเราสำหรับข้อมูล