การรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพสำหรับเด็กอายุ 6 ถึง 24 เดือน (2) ย่างเข้า (6 – 12 เดือน)
- อาหารและการควบคุมอาหารสำหรับทารก
- การแนะนำอาหารใหม่
- ลองทานอาหารที่มีเนื้อสัมผัสหลากหลาย
- อาหารและสารอาหาร
- วิธีจัดมื้ออาหารรายวันสำหรับทารกของท่าน
- สร้างสรรค์อาหารของทารกด้วยวัตถุดิบที่หลากหลาย
- การทานอาหารนอกบ้าน
- การป้อนอาหารขณะป่วย
- สภาพแวดล้อมของการทานอาหาร
- วิธีป้อนอาหารทารกของท่าน
- ปรับตัวกับวิธีการทานอาหารแบบใหม่
- วิธีช่วยให้ทารกของท่านเรียนรู้ที่จะป้อนอาหารตนเอง
- วิธีช่วยให้ทารกของท่านเรียนรู้ที่จะดื่มน้ำจากถ้วย
- ภารกิจการป้อนอาหารของผู้ปกครอง
- ส่งเสริมลักษณะนิสัยที่ดีต่อสุขภาพ
- แจ้งเตือนสำหรับผู้ปกครอง
อาหารและการควบคุมอาหารสำหรับทารก
(ชมวิดีโอที่เกี่ยวข้อง: http://s.fhs.gov.hk/nx6tt)
หลังจากที่ทารกของท่านคุ้นชินกับการทานอาหารอ่อนด้วยช้อนแล้ว ท่านควรแนะนำอาหารใหม่ที่หลากหลายทีละอย่างให้กับเขา เลือกอาหารที่อุดมไปด้วยธาตุเหล็ก
- ลองอาหารที่มีเนื้อสัมผัสหลากหลายโดยคำนึงถึงความสามารถในการเคี้ยวของทารกของท่าน
- น้ำนมแม่หรือนมผงเด็กแรกเกิดยังคงเป็นอาหารหลักของเขา เมื่อเขาทานอาหารแข็งได้มากขึ้น เขาจะมีความต้องการนมน้อยลง
- ทารกอายุต่ำกว่า 1 ปียอมรับอาหารใหม่ได้อย่างไม่ลังเล ดังนั้นจงใช้โอกาสนี้ให้เขาได้ลองทานอาหารอย่างหลากหลาย
การแนะนำอาหารใหม่
- ให้อาหารใหม่ในช่วงเช้าหรือช่วงเที่ยงเพราะช่วงเวลานี้ช่วยให้ท่านสามารถสังเกตอาการแพ้อาหารได้
- แนะนำอาหารใหม่ทีละอย่าง เริ่มจาก 1 ถึง 2 ช้อนชา และให้ทารกของท่านลองทานอาหารนั้นเป็นระยะเวลา 2 ถึง 4 วัน
- เพิ่มอาหารใหม่ในซีเรียลข้าวหรือโจ๊ก หรือแนะนำอาหารใหม่กับทารกของท่านโดยตรง
เคล็ดลับ เลือกอาหารสำหรับทารกของท่านจากตระกร้าอาหารของครอบครัว
ทารกของฉันไม่ยอมกินอาหารใหม่ ฉันควรทำอย่างไรดี
- ทารกของท่านอาจแสดงสีหน้าแปลก ๆ บ้างตอนได้ชิมอาหารใหม่ แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าเขาปฏิเสธการกินอาหารนั้น
- หากเขาอ้าปากเพื่ออาหารก็ให้ป้อนเขาต่อได้เลย
- ถ้าเขาไม่อยากกินแล้ว ให้ลองใหม่อีกครั้งภายใน 1 ถึง 2 สัปดาห์
- ทารกบางคนต้องใช้เวลาลองชิม 8 ถึง 15 ครั้งก่อนจะยอมกินอาหารใหม่นั้น ดังนั้นอดทนไว้ อย่ายอมแพ้ถ้าลองไปเพียง 2 ถึง 3 ครั้ง
ลองทานอาหารที่มีเนื้อสัมผัสหลากหลาย
(ชมวิดีโอที่เกี่ยวข้อง: http://s.fhs.gov.hk/qq288)
เริ่มด้วยอาหารข้นนุ่ม จากนั้นเปลี่ยนเป็นอาหารบดที่มีก้อนนุ่มเล็ก จากนั้นสับหรือหั่นอาหาร การเปลี่ยนแปลงอย่างทีละน้อยของเนื้อสัมผัสอาหารจะช่วยให้ทารกของท่านเรียนรู้เรื่องการเคี้ยว
ทารกเปลี่ยนไปตามพัฒนาการของพวกเขา ผู้ปกครองควรให้อาหารที่มีผิวสัมผัสที่เหมาะสมตามความสามารถในการเคี้ยวของทารก
เมื่อทารกของท่านสามารถทานอาหารสับได้แล้ว ทารกของท่านสามารถแบ่งปันอาหารร่วมกับครอบครัวได้
เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับผิวสัมผัสของอาหาร กรุณาอ้างถึง "คู่มือการวางแผนมื้ออาหารเพื่อสุขภาพทั้ง 7 วันสำหรับเด็กอายุ 6 ถึง 24 เดือน".
ทารกสามารถทำได้!
- ทารกอายุ 8 เดือนส่วนมากสามารถทานอาหารสับได้เป็นอย่างดี
- พวกเขาสามารถเคี้ยวด้วยเหงือกได้
- หากป้อนอาหารด้วยอาหารข้นอย่างเดียว พวกเขาอาจมีปัญหาในการทานอาหารที่มีเนื้อหยาบในอนาคต
ทารกตอบสนองอย่างไรเมื่อทานอาหารข้นหรือเป็นก้อนครั้งแรก
- ช่วงแรก ทารกอาจทานอาหารน้อยลงหรือช้าลง
- เมื่ออาหารเป็นก้อนเกินไปและทารกไม่สามารถเคี้ยวได้ เขาจะคายออกหรืออ้าปาก
- หากเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้น เตรียมอาหารที่มีเนื้อสัมผัสละเอียดขึ้นและให้ทารกของท่านค่อย ๆ ทำความคุ้นชิน
ระวังอันตรายจากการสำลัก
- ห้ามให้อาหารที่มีขนาดเล็กและแข็งกับทารก เช่น ขนมหวาน หรืออาหารที่เหนียว เช่น บัวลอย
- หากท่านป้อนอาหารทารกด้วยอาหารที่เล็กและกลม เช่น องุ่นหรือเชอร์รี่ ให้นำเมล็ดออกและตัดเป็นชิ้นเล็ก ๆ ก่อน
- ระมัดระวังในการนำกระดูกออกจากเนื้อสัตว์หรือปลา
การเคลื่อนไหวของลำไส้ทารก
เมื่อทารกของท่านทานอาหารที่แข็งขึ้น การเคลื่อนไหวของลำไส้ของเขาอาจเปลี่ยนไป อุจจาระอาจหนาขึ้นและมีเศษอาหารชิ้นเล็กติดอยู่ หากทารกของท่านถ่ายเหลวหรือมีเลือดหรือมูกปน ให้พาเขาไปพบแพทย์โดยทันที
อาหารและสารอาหาร
การทานอาหารที่หลากหลาย
เมื่อทารกของท่านทานอาหารแข็งได้แล้ว ท่านควรรวมอาหารหลากหลายชนิดในมื้ออาหารของเขา วิธีนี้จะทำให้แน่ใจว่าเขาจะเพลิดเพลินกับสารอาหารที่สมดุล
แหล่งที่มาหลักของสารอาหาร:
ธัญพืช (เช่น ข้าว อาหารเส้น พาสต้า ขนมปัง ข้าวโอ๊ต)
ธัญพืชให้คาร์โบไฮเดรต โปรตีน วิตามิน B หลากชนิด (ไม่รวมถึงวิตาบิน B12) และแมกนิเซียม
อาหารที่เป็นธัญพืชเต็มเมล็ด เช่น ข้าวก้องและขนมปังโฮลวีตให้วิตามิน E และไฟเบอร์มากกว่า ป้อนอาหารเหล่านี้แก่ทารกเมื่อพวกเขาสามารถเคี้ยวได้ดีขึ้น
ไข่หรือเนื้อสัตว์(เช่น ปลา ไข่ เนื้อหมู เนื้อวัว เนื้อแกะ ตับ อาหารทะเล)
ไข่หรือเนื้อสัตว์มีโปรตีน ไขมัน คอเลสเตอรอล ธาตุเหล็ก สังกะสี แมกนีเซียม วิตามิน B และ B12 ปลาให้ไขมันไม่อิ่มตัวมากว่า ไขมันปลายังมีวิตามิน D หลีกเลี่ยงการทานปลาที่มีระดับ ของปรอมเมทิลสูง ไข่แดงและตับมีวิตามิน A สูงและมีวิตามิน D (หลีกเลี่ยงการทานตับบ่อยครั้ง)
ถั่วแห้งหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากถั่วอื่น ๆ(เช่น ถั่วแดงหลวง ถั่วลูกไก่ ถั่วแดง ถั่วฝักยาว และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากถั่วอื่น ๆ)
ถั่วแห้งและผลิตภัณฑ์ที่ทำจากถั่วอื่น ๆ ให้โปรตีน คาร์โบไฮเดรต วิตามิน B หลากชนิด (ยกเว้นวิตามิน B12) ธาตุเหล็ก สังกะสี และไฟเบอร์ เต้าหู้ที่ทำจากกรรมวิธีดั้งเดิมให้แคลเซียม
ผัก (เช่น ผักใบเขียว: ผักกาดเขียวกวางตุ้ง ผักกวางตุ้งจีน บรอกโคลี คะน้า ผักกาดเขียวปลี ผักขมจีน ฯลฯ)
ผักมีแคโรทีน วิตามิน C กรดโฟลิค ไฟเบอร์ โพแทสเซียม และแร่ธาตุสูง ผักใบเขียวมีธาตุเหล็ก แคลเซียม วิตามิน E และ K สูง
ผลไม้ (เช่น กล้วย ลูกแพร์ แอปเปิ้ล องุ่น แตงโม)
ผลไม้ให้วิตามิน C กรดโฟลิค ไฟเบอร์ โพแทสเซียม และแร่ธาตุ ผลไม้สีเหลืองเข้ม เช่น มะละกอ มะม่วง มีแคโรทีน ตัวอย่างผลไม้ที่มีวิตามิน C สูง ได้แก่ กีวี สตรอเบอร์รี ส้ม มะละกอ ลูกพลับ
นมและผลิตภัณฑ์นม (เช่น ชีส โยเกิร์ต นม)
นมและผลิตภัณฑ์นมให้โปรตีน ไขมันอิ่มตัว แคลเซียม วิตามิน A และวิตามิน B12
ทารกไม่ควรทานนมวัวแทนนมแม่หรือนมผงเด็กแรกเกิดเป็นอาหารหลักหากทารกอายุต่ำกว่า 1 ปี
น้ำเปล่า
- หลังจากทานอาหารแข็งแล้ว ป้อนน้ำต้มสุกให้ดื่มเพื่อให้พวกเขาคุ้นชิน
- ทารกมักดื่มน้ำไม่กี่จิบต่ออครั้งและนั่นก็เพียงพอ
- ห้ามป้อนน้ำกลูโคส น้ำผลไม้ หรือน้ำหวานแทนน้ำต้มสุก วิธีนี้เป็นการป้องกันทารกจากการสร้างลักษณะนิสัยที่ไม่ดีในการดื่มเครื่องดื่มที่มีรสหวาน
ทารกต้องการอาหารธาตุเหล็กสูง
หลังจากอายุ 6 เดือน ทารกต้องการธาตุเหล็กมากขึ้น พวกเขาควรได้ทานอาหารที่มีธาตุเหล็กในปริมาณที่เพียงพอต่อวัน
- ข้าวหรือซีเรียลธัญพืชที่เพิ่มธาตุเหล็กเป็นตัวเลือกที่ดี
- ธาตุเหล็กในเนื้อสัตว์ ปลา และไข่แดงนั้นง่ายต่อการดูดซึม
- วิตามิน C ในผลไม้ช่วยให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กในผักใบเขียวและถั่วแห้ง
- เมื่อทารกของท่านทานเนื้อสัตว์หรือไข่แดงและผักทุกวัน ท่านสามารถค่อย ๆ แทนที่ซีเรียลข้าวด้วยโจ๊กได้
ไอโอดีนนั้นจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของระบบประสาท แล้วอาหารอะไรบ้างที่ให้ไอโอดีน
- สาหร่ายทะเลสีน้ำตาล สาหร่ายทะแล (เหล่านี้มีไอโอดีนสูง ดังนั้นทานปริมาณน้อยก็เพียงพอ)
- เกลือไอโอดีน
- ปลาทะเล กุ้งทะเล หอยทะเล
- นม ไข่แดง
DHA ช่วยเรื่องการเจริญเติบโตของระบบประสาททารก แล้วอาหารอะไรบ้างที่มี DHA
ปลาเป็นแหล่งหลักของ DHA ปลาแซลมอน ปลาซาดีนและปลาแฮลิบัตมี DHA สูง เช่นเดียวกันกับปลาโกลเดนท์ทรีทและปลาจะละเม็ด
น้ำมันพืช
- เมื่อท่านทำอาหารให้กับทารกของท่าน ให้ใส่น้ำมันพืช
ลงไปเล็กน้อย - วิธีนี้เป็นการให้พลังงานแก่ทารกของท่าน และยังช่วยดูดซึมวิตามินที่ละลายในไขมันได้
- น้ำมันพืชให้กรดไขมันที่จำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตและพัฒนาการของสมอง
- น้ำมันพืชแต่ละชนิดมีความแตกต่างกันในด้านส่วนผสม ซึ่งสามารถใช้แบบเดี่ยวหรือแบบผสมกันก็ได้
การทานอาหารหลากชนิดช่วยทำให้สุขภาพดีอยู่เสมอ
วิธีจัดมื้ออาหารรายวันสำหรับทารกของท่าน
ทารกอายุ 6 ถึง 8 เดือน
นมคืออาหารหลัก ทารกของท่านต้องการการป้อนนม 5 ครั้งต่อวัน
ครั้งที่ 2 ถึง 3 ของการป้อนนม ให้อาหารแข็งเขาก่อนแล้วจึงค่อยให้นมเขา
การป้อนอาหารแข็ง
- ขั้นแรก ป้อนอาหารแข็งแก่ทารก 1 ถึง 2 ช้อนชา
- เมื่อทารกคุ้นเคยกับการเคี้ยวและกลืนแล้ว พวกเขาจะทานอาหารแข็งมากขึ้น
- ทารกบางคนสนใจการทานอาหารแข็งมากกว่าเมื่อเริ่มมื้ออาหาร พวกเขาอาจเหนื่อยจากการเคี้ยวเร็วและไม่ทานอาหารมากนัก หากเป็นเช่นนั้น ให้ป้อนนม
การป้อนนมแม่หรือนมผงเด็กแรกเกิด
- ป้อนนมตามที่ทารกต้องการและหยุดเมื่อพวกเขาแสดงสัญญาณความอิ่ม
- เมื่อทารกทานอาหารแข็งมากขึ้น พวกเขาจะทานนมน้อยลงและต้องการการป้อนนมน้อยลง
เวลาที่เหมาะสมในการแทนที่นมหนึ่งมื้อด้วยอาหารแข็งคือเมื่อไหร่
หากธัญพืช ผัก เนื้อสัตว์ (หรือปลา ไข่) และน้ำมันมีในมื้ออาหารของทารก และเมื่อทารกไม่ต้องการนมหลังจากมื้ออาหารมาเป็นเวลาสองสามวัน เขาสามารถข้ามการป้อนนมหนึ่งมื้อไปได้เลย
หมายเหตุ: ทำให้แน่ใจว่าทารกของท่านทานเนื้อก้อนเพื่อรับสารอาหารที่เพียงพอ
ทารกอายุ 9 ถึง 11 เดือน
ทารกของท่านต้องการการป้อนอาหารประมาณ 5 ครั้งต่อวัน เขาจะทานอาหารแข็ง 2 ถึง 3 มื้อ
การป้อนอาหารแข็ง
- ทารกอายุ 8 ถึง 9 เดือนส่วนมากสามารถแทนที่การป้อนนม 1 ถึง 2 มื้อด้วยอาหารแข็งได้
- ทารกสามารถทานอาหารแข็งได้ 2 ถึง 3 มือในทุก ๆ วัน
- ท่านยังสามารถป้อนผลไม้เป็นขนมแก่ทารกได้หนึ่งถึงสองครั้งต่อวัน
การป้อนนมแม่หรือนมผงเด็กแรกเกิด
- การป้อนนมต่อไป
- ทารกที่กินนมขวดโดยปกติต้องการการป้อนนม 2 ถึง 3 ครั้งในปริมาณประมาณ 500 ถึง 600 มล. ต่อวัน
- การป้อนนมมากและบ่อยเกินไปอาจลดความอยากอาหารอื่น ๆ ของทารกของท่านได้
เวลาป้อนนม
- ในช่วงอายุ 6 เดือน ทารกส่วนมากมักจะมีรูปแบบการทานอาหารชัดเจน พวกเขาต้องการอาหารทุก 3 ถึง 4 ชั่วโมง ทารกส่วนมากสามารถหลับข้ามคืนได้ โดยไม่ต้องการการป้อนในตอนกลางคืน
- ทารกเริ่มทานอาหารกับครอบครัวของเขา พวกเขาจะค่อย ๆ ปรับตัวเพื่อการทานอาหารตามตารางเวลามื้ออาหารของครอบครัว
- เมื่ออายุประมาณ 1 ปี ผู้ปกครองควรจัดตารางอาหารแบบประจำสำหรับทารกของพวกเขา
สร้างสรรค์อาหารของทารกด้วยวัตถุดิบที่หลากหลาย
- ผสมและจับคู่ผัก เนื้อสัตว์ ปลา หรือไข่กับซีเรียลข้าว โจ๊ก หรือข้าวอ่อนเพื่อให้อาหารรสชาติดีและมีสารอาหาร
- ป้อนผลไม้แก่ทารกของท่านหลังมื้ออาหารหรือเป็นขนม
- การเลือกอาหารตามลำดับและการเปลี่ยนการผสมอาหารสามารถช่วยให้ทารกของท่านคุ้นชินกับอาหารใหม่
มื้อตัวอย่างสำหรับทารก:
- ซีเรียลข้าวกับผักกาดเขียวกวางตุ้งและไข่แดงพร้อมกับมะละกอบดสำหรับทารกอายุ 7 เดือน
- โจ๊กข้นกับไก่ แครอทและผักกาดขาวจีนพร้อมกับกีวีหั่นแท่งสำหรับทารกอายุ 8 เดือน
- พาสต้า ABC กับมะเขือเทศ เนื้อวัว และผักกาดกวางตุ้งพร้อมส้มหั่นเป็นลูกเต๋าสำหรับเด็กอายุประมาณ 1 ปี
หมายเหตุ:กรุณาอ้างถึงการผสมผสานอาหารในเมนูต่าง ๆ และสูตรอาหารใน คู่มือการวางแผนมื้ออาหารเพื่อสุขภาพทั้ง 7 วันสำหรับเด็กอายุ 6 ถึง 24 เดือน.
การทานอาหารนอกบ้าน
- พกอาหาร อุปกรณ์ป้อน ผ้ากันเปื้อน และกรรไกร ฯลฯ ของทารกของท่านไปด้วย
- เลือกร้านอาหารที่ถูกสุขอนามัยและมีเก้าอี้เด็ก
- นี่คืออาหารแนะนำสำหรับทารกของท่าน
- ซีเรียลข้าว ผลไม้
- อาหารสำเร็จรูปสำหรับทารก: ตรวจสอบ "วันหมดอายุ" ทิ้งอาหารที่เหลือ
- แบ่งปันอาหารจากจานผู้ใหญ่ที่ปรุงรสอ่อนเท่านั้น เช่น ปลานึ่ง ผักนึ่ง เต้าหู้ ฯลฯ
- นมแม่หรือนมผงเด็กแรกเกิด
ถาม-ตอบ: การพกอาหารใส่กระติกเก็บความร้อนไปด้วยขณะออกนอกบ้านนั้นปลอดภัยหรือไม่
โดยปกติแล้ว กระติกเก็บความร้อนไม่สามารถเก็บอาหารในอุณหภูมิที่ปลอดภัยได้ (เช่น เก็บอาหารที่อุณหภูมิ 60°C หรือมากกว่า) เป็นระยะเวลานาน เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดแบคทีเรีย หากเก็บอาหารไว้ในกระติกเก็บความร้อนต้องทานอาหารภายในสองชั่วโมงหลังจากทำอาหารเสร็จ
การป้อนอาหารขณะป่วย
เพิ่มปริมาณการบริโภคอาหารเหลว
ร่างกายเสียน้ำมากกว่าปกติเมื่อป่วย
- ป้อนน้ำแก่ทารกของท่านบ่อยขึ้น
- ท่านอาจป้อนซุปแก่ทารกของท่านได้เช่นกัน (เช่น ซุปเมลอน ซุปมะเขือเทศ)
หลังจากอาการดีขึ้น ทารกของท่านจะกลับมาอยากอาหาร เขาอาจทานอาหารเยอะกว่าปกติ
ป้อนอาหารที่กลืนง่าย
ทารกของท่านอาจสูญเสียความอยากอาหารและอาจไม่อยากเคี้ยว
- ป้อนอาหารที่อ่อน เช่น เมลอน ปลา ไก่ เต้าหู้ ข้าวอ่อน หรือโจ๊ก
- ทารกของท่านอาจดื่มนมมากขึ้นและทานอาหารแข็งน้อยลง;
- ปรับจำนวนการป้อนอาหารและปริมาณอาหารตามที่เขาต้องการ
สภาพแวดล้อมของการทานอาหาร
(ชมวิดีโอที่เกี่ยวข้อง: http://s.fhs.gov.hk/sr1v8)
ผู้ปกครองควรจัดสภาพแวดล้อมการทานอาหารที่ดีระหว่างป้อนอาหารทารกของพวกเขา วิธีนี้ทำให้การป้อนอาหารนั้นง่ายขึ้นและยังช่วยให้พวกเขามีความสุขกับการทานอาหาร เชี่ยวชาญด้านการทานอาหารด้วยตนเองและพัฒนานิสัยการทานอาหารที่ดีอีกด้วย
สภาพแวดล้อมที่ดีของการป้อนอาหาร
- ทานอาหารด้วยกันอย่างครอบครัว
- ปิดทีวีและนำสิ่งของที่หันเหความสนใจของทารกของท่านออกไป
- ให้ทารกของท่านนั่งบนเก้าอี้ธรรมดาในที่ประจำ
- นั่งอยู่ในระดับเดียวกับทารกของท่านเพื่อให้เขาสามารถเห็นท่านได้
- ให้ทารกของท่านนั่งที่โต๊ะอาหารหรือมีถาดทานอาหารส่วนตัว
- คลุมพื้นด้วยหนังสือพิมพ์หรือผ้าคลุมโต๊ะ
ผู้ปกครองสามารถจัดสภาพแวดล้อมการป้อนอาหารได้ในวิธีต่อไปนี้:
- ปิดทีวีและเก็บของเล่น:
- วิธีนี้เป็นการทำให้ทารกของท่านจดจ่อกับการทานอาหารและกระตุ้นให้เขาทานอาหารด้วยตนเองและใช้ช้อน;
- ซึ่งเป็นการเพิ่มโอกาสของเขาในการสื่อสารกับท่าน
- เขาจะรู้ตัวเมื่อรู้สึกอิ่มซึ่งเขาจะไม่ทานอาหารมากเกินไป;
- เป็นการป้องทารกของท่านจากการมีลักษณะนิสัยที่ไม่ดีของการเล่นในขณะที่กิน
งานวิจัยต่าง ๆ พบอะไรบ้าง
- การทานอาหารขณะดูทีวีนำไปสู่การทานอาหารที่มากเกินไป
- การดูทีวีนั้นเกี่ยวข้องกับการพัฒนาการด้านการพูดที่ล่าช้าในเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี
ดังนั้น ท่านไม่ควรปล่อยให้เด็กอายุต่ำกว่า 2 ปีดูทีวี
- ในแต่ละมื้ออาหารให้ทารกของท่านนั่งที่เก้าอี้ตัวเดิม
- เป็นการช่วยให้ทารกเรียนรู้ว่าการ 'นั่งตรงนี้' หมายถึง 'ถึงเวลาทานอาหารแล้ว' และเพื่อสร้างนิสัยการนั่งเพื่อทานอาหารด้วย
- ผู้ปกครองสามารถเลือกเก้าอี้สูง เบาะนั่งเสริม หรือที่นั่งที่เหมาะสมตามลักษณะบ้าน
- ให้ทารกมีถาดรับประทานอาหารของตัวเองหรือนั่งที่โต๊ะรับประทานอาหาร
- ช่วงมื้ออาหารจะเพลิดเพลินมากขึ้นหากเขาสามารถเอื้อมถึงอาหารและใช้ช้อนได้อย่างง่ายดาย
- ถาดยังสามารถรองรับอาหารที่หกเพื่อการทำความสะอาดที่ง่ายขึ้นในภายหลัง
วิธีป้อนอาหารทารกของท่าน
ทารกอายุ 6 ถึง 11 เดือนนั้นสงสัยเกี่ยวกับสิ่งรอบตัว พวกเขาไขว้เขวง่ายระหว่างการป้อนอาหาร
ด้วยคำแนะนำข้างล่างนี้ ท่านสามารถช่วยให้ทารกของท่านทานอาหารได้อย่างดีและพัฒนาทักษะทางสังคมและการดูแลตนเองได้
ยิ่งมีปฏิสัมพันธ์มากยิ่งสนุกมาก
- ตอบสนองต่อการกระทำของทารกของท่านเพื่อให้เขารู้สึกว่าเขาได้รับการดูแล เขาจะรู้สึกว่าการทานอาหารนั้นน่าสนุก
- คุยกับเขาเกี่ยวกับอาหาร
- ชมเมื่อเขามีความประพฤติดี
ป้อนอาหารตามจังหวะของทารกของท่าน
- สังเกตทารกของท่านเมื่อเขาทาน
- ไม่เร่งเขา
- การป้อนอาหารเร็วเกินไปสามารถนำไปสู่การสำลักหรือการทานมากเกินไป
ป้อนอาหารตามที่ลูกของท่านต้องการ
(ชมวิดีโอที่เกี่ยวข้อง: http://s.fhs.gov.hk/2r48i)
- ทารกมักรู้สึกอิ่มภายใน 15 ถึง 20 นาที
- เมื่อทารกของท่านอิ่ม เขาจะสนใจการทานอาหารน้อยลงและช้าลง
- เมื่อเขาโตขึ้น ปฏิกิริยาต่อการถูกเร่งให้ทานอาหารหลังจากเขาอิ่มจะรุนแรงขึ้น เช่น เขาอาจดันช้อนออก
การตอบสนองต่อทารกระหว่างการป้อนอาหาร
ระหว่างการป้อนอาหาร ทารกของท่านอาจแสดงพฤติกรรมต่อไปนี้ที่แสดงถึงความต้องการของเขา ตอบสนองต่อความต้องการของเขาในการป้อนอาหารและปฏิบัติตาม
"ปฏิเสธที่จะทาน"
ทารกอาจไม่เต็มใจที่จะทานอาหารหากพวกเขาพบอาหารชนิดใหม่ ซึ่งเป็นการเปลี่ยนเนื้อสัมผัสอาหารหรือรสชาติอาหารใหม่ ผู้ปกครองสามารถลองวิธีการทำอาหารที่แตกต่างออกไป การจับคู่อาหาร รสชาติ และการเปลี่ยนเนื้อสัมผัสอาหาร ท่านสามารถให้ทารกของท่านลองอาหารใหม่สองสามวันหลังจากนั้นได้เช่นกัน
เมื่อทารกรู้สึกอิ่ม เขาจะปฏิเสธที่จะทานอาหาร หรือบางครั้งอาจปิดปาก ผู้ปกครองสามารถเรียกเขาอย่างอ่อนโยนเพื่อดึงความสนใจของเขาไปที่อาหาร หากเขายังคงไม่สนใจแสดงว่าเขาอาจอิ่มแล้ว
"ปิดปากระหว่างการกลืน"
เมื่อทารกไม่คุ้นเคยกับเนื้อสัมผัสหยาบของอาหารหรืออาหารชิ้นใหญ่ พวกเขาอาจปิดปาก ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อพวกเขาถูกป้อนอาหารเร็วเกินไปหรือให้เวลามากเกินไป หากเหตุการณ์นี้้เกิดขึ้น ผู้ปกครองควรใจเย็น หลังจากทำความสะอาดแล้ว ลองอีกครั้งด้วยอาหารคำหนึ่งที่เล็กลง ป้อนอาหารช้าลง หากเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงเนื้อสัมผัสของอาหาร ผู้ปกครองสามารถทำให้อาหารอ่อนนุ่มลงนิดหน่อยได้และหยาบน้อยลงได้เพื่อให้พวกเขาได้ลองอีกครั้ง
"คว้าหรือชี้อาหาร"
ทารกมักแสดงสิ่งที่เขาต้องการโดยการคว้าหรือชี้อาหาร ผู้ปกครองควรป้อนอาหารต่อไป หากเขาต้องการถืออาหาร ท่านสามารถให้อาหารปริมาณเท่านิ้วหรือให้ถือช้อนทานเองได้
ปรับตัวกับวิธีการทานอาหารแบบใหม่
ระหว่างช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านของการลองทานอาหารแข็ง ทารกยังเรียนรู้ที่จะทานอาหารด้วยตนเอง เมื่อป้อนเขา ผู้ปกครองควรทำการเปลี่ยนแปลงสองประเด็นนี้ ได้แก่ ให้ทารกของท่านทานอาหารด้วยกันกับท่านเหมือนครอบครัว และช่วยทารกของท่านในการเรียนรู้ที่จะทานอาหารด้วยตนเอง
ทานอาหารด้วยกันอย่างครอบครัว
ทารกชอบทานอาหารกับผู้ปกครองและผู้ใหญ่ที่คุ้นเคยด้วย การทานอาหารกับสมาชิกคนอื่น ๆ ในครอบครัวช่วยให้พวกเขาพัฒนาพฤติกรรมการทานอาหารที่ดี
- ให้เขารู้จักอาหารอย่างหลากหลายมากขึ้นเมื่อทานอาหารกับครอบครัว ทารกมีโอกาสลองชิมอาหารใหม่ ๆ และอาหารครอบครัวมากขึ้น วิธีนี้ช่วยให้พวกเขายอมรับอาหารใหม่ ๆ ได้ง่ายขึ้น
- ให้เขาเห็นการทานอาหารของคนอื่น ๆผ่านการมองและลอกเลียนแบบวิธีการทานของผู้อื่น ทารกน้อยจะได้เรียนรู้การทานอาหารด้วยตัวเองและสนุกกับการทานอาหารมากขึ้น
- ช่วยเขาพัฒนาทักษะทางสังคม สมาชิกครอบครัวสื่อสารกันอย่างกระตือรือร้นขณะร่วมโต๊ะอาหาร ทารกจะรู้สึกอยากมีส่วนร่วม
จะรับประทานอาหารร่วมกับทารกของฉันอย่างไร
- ในแต่ละวันให้ทารกของท่านได้ร่วมโต๊ะกับสมาชิกในครอบครัวอย่างน้อยหนึ่งมื้อ
- ให้เขาได้ถืออาหารเพื่อทานหรือสำรวจช้อนในขณะที่ท่านป้อนเขา
- เริ่มแรก ท่านต้องเตรียมอาหารแยกให้เขา
- ให้เขาลองชิมอาหารของครอบครัวที่เหมาะกับเขา วิธีนี้ช่วยให้เขาปรับตัวในการทานอาหารของครอบครัว
การเรียนรู้การทานอาหารด้วยตันเอง
ตั้งแต่อายุ 8 ถึง 12 เดือน ในแต่ละวันทารกมักหยิบจับวัตถุรอบตัวและพยายามทำความเข้าใจวิธีการใช้งาน อีกทั้งเรียนรู้ที่จะดื่มจากถ้วยและถืออาหารเพื่อทานในช่วงนี้ อ้างถึง “วิธีช่วยให้ทารกของท่านเรียนรู้ที่จะป้อนอาหารตนเอง”, and “วิธีช่วยให้ทารกของท่านเรียนรู้ที่จะดื่มน้ำจากถ้วย” สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
วิธีช่วยให้ทารกของท่านเรียนรู้ที่จะป้อนอาหารตนเอง
- ทารกของท่านพร้อมเรียนรู้ที่จะป้อนอาหารตนเองเมื่อเขาเข้าหาอาหาร
- อยู่กับเขาในเวลามื้ออาหาร เฝ้าดูเขาและโต้ตอบเขาอย่างเหมาะสม
เคล็ดลับที่เป็นประโยชน์
ล้างมือและใบหน้าทารกของท่านทั้งก่อนและหลังมื้ออาหาร หลีกเลี่ยงการเช็ดมือที่บ่อยเกินไปขณะมื้ออาหารเพราะอาจทำให้เขาไม่สนใจอาหารได้
การใช้นิ้วป้อน
เมื่อทารกของท่านเข้าหาอาหารท่านสามารถจัดเตรียมอาหารที่ง่ายต่อการถือและทานให้กับทารก หั่นมันหวาน ลำต้นผัก แครอท และบรอกโคลียาว 7 ถึง 10 ซม. ปอกเปลือกและต้มจนนุ่ม เมื่อต้องการให้ลำต้นผักแก่ทารกของท่าน ให้ปอกเปลือกออกก่อน หรือให้ส่วนใหม่แก่เขาเมื่อส่วนที่นุ่มของลำต้นได้ถูกกินแล้ว ท่านอาจให้บิสกิตสำหรับทารกกับเขาได้ด้วยเช่นกัน (บางโอกาส)
เมื่อทารกของท่าน หยิบวัตถุขนาดเล็กด้วยนิ้วมือได้ให้หั่นอาหารเป็นชิ้นบาง ๆ หรือเป็นก้อนขนาดหยิบได้สำหรับทารกของท่าน เช่น กล้วยหั่นบาง ผลไม้เนื้ออ่อน ก้อนชีส ขนมปังชิ้นเล็ก มักกะโรนีและพาสต้าที่ประกอบอาหารแล้วจนนุ่ม
การใช้ช้อน
เมื่อทารกของท่าน เข้าหาช้อน พ่อหรือแม่ควรเตรียมช้อนที่ทำมาจากวัสดุที่ปลอดภัยสำหรับเด็กที่มีปลายกลมเล็กและด้ามจับหนา ให้เขาได้สำรวจช้อน และป้อนอาหารเขาด้วยช้อนคันอื่น
ที่ประมาณอายุ 12 เดือน ทารกของท่านอาจจุ่มช้อนลงในถ้วยและนำเข้าปาก เขาจะมีทักษะการใช้ช้อนมากขึ้นเมื่ออายุ 12 ถึง18 เดือน ให้เขาทานเองด้วยช้อนในขณะที่ท่านกำลังป้อนเขา นำอาหารอื่นให้เขาถือและทาน
เหตุใดทารกของฉันจึงหยิบทุกอย่างเข้าปากของเธอ
ที่อายุ 6 ถึง 12 เดือน ทารกจะใช้ประสาทสัมผัสต่าง ๆ ในการเรียนรู้เกี่ยวกับวัตถุ เช่น การสัมผัส การดมกลิ่น การเคาะ การนำเข้าปาก และการสังเกตปฏิกริยาโต้ตอบจากคนรอบข้างต่อการกระทำของพวกเขา วิธีนี้ช่วยให้พวกเขาได้เรียนรู้ว่าสิ่งใดรับประทานได้บ้าง
ให้ความสนใจเรื่องความปลอดภัยภายในบ้านขณะช่วยทารกของท่านในการเรียนรู้และสำรวจ
- เก็บวัตถุที่อาจทำให้สำลักหรือเป็นอันตราย
- คอยอยู่ใกล้และเฝ้าดูทารกของท่านอยู่เสมอ
- รักษาสุขอนามัยภายในบ้านของท่าน
โต้ตอบต่อความพยายามในการทานอาหารเองของทารกของท่าน
ขณะป้อนอาหาร ทารกของท่านอาจ จับช้อนป้อนอาหาร ปล่อยให้เขาจับช้อน หากไม่เป็นอันตรายจากนั้นป้อนอาหารด้วยช้อนคันใหม่
ขณะป้อนอาหาร ทารกของท่านอาจนำช้อนมาตีเล่นปล่อยให้เขาเล่นแบบไม่รุนแรงเนื่องจากทารกมักสำรวจวัตถุด้วยวิธีนี้ หากเกิดเสียงรบกวนผู้อื่น ให้หันเหความสนใจของเขาและเก็บช้อนออกไป
ทารกสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับอาหารโดยการสัมผัส การบีบ การชิม การวางหรือขว้าง ขณะป้อนอาหาร ทารกของท่านอาจ แสดงท่าทางเหมือน "กำลังเล่น" กับอาหาร เช่น ใช้นิ้วแหย่อาหาร ท่านไม่จำเป็นต้องหยุดเขาแต่ให้ดึงความสนใจเขามาที่ช้อนและอาหารแทน ป้อนอาหารเมื่อเขาอ้าปาก หากเขาแสดงความเพิกเฉยต่ออาหารและยังคง "เล่นต่อ" แสดงว่าเขาอิ่มแล้ว ท่านควรหยุดป้อนอาหารเขา
ขณะป้อนอาหาร ทารกของท่านอาจหยิบอาหารขึ้นมาแล้วทานท่านควรชื่นชมเขา
วิธีช่วยให้ทารกของท่านเรียนรู้ที่จะดื่มน้ำจากถ้วย
ในช่วงอายุ 7 ถึง 9 เดือน ให้ถ้วยแก่ทารกของท่านและช่วยให้เขาดื่มจากถ้วย
เตรียมพร้อม:
เมื่อทารกเรียนรู้การใช้ถ้วย เขาอาจโยนหรือปาถ้วย และอาจสำลักขณะดื่มได้
ช่วงต่าง ๆ ของการเรียนรู้การดื่มจากถ้วย
ที่ อายุประมาณ 7 เดือน ทารกของท่านพร้อมเรียนรู้การดื่มจากถ้วย ท่านสามารถ:
- ให้ถ้วยหัดดื่มหรือถ้วยขนาดเล็กกับทารกของท่าน
- เติมน้ำเล็กน้อยใส่ถ้วย
- ถือถ้วยใกล้กับริมฝีปากล่างของเขาและเอียงแก้วเพื่อให้เขาดื่มได้อย่างช้า ๆ
ตั้งแต่ อายุ 8 ถึง 12 เดือน ทารกของท่านจะค่อย ๆ เรียนรู้ที่จะถือถ้วยและดื่มจากถ้วย ท่านสามารถ:
- ให้เขาถือหูถ้วย คอยอยู่ใกล้ ๆ และให้ความช่วยเหลือขณะที่เขาดื่ม
- ท่านสามารถเติมน้ำ นม หรือซุปใสลงในถ้วยได้
ช่วงอายุระหว่าง 12 ถึง 18 เดือน ทารกส่วนใหญ่สามารถถือและดื่มจากถ้วยได้ โดยช่วงอายุ 18 เดือน ให้ช่วยทารกของท่าน หยุดดื่มจากขวดนม ในการรักษาสุขภาพฟันของเขา
ทารกน้อยเต็มใจที่จะลองใช้ถ้วยเมื่อ:
- ผู้ปกครองดื่มน้ำ ทั้งนี้เพราะพวกเขาชอบเลียนแบบผู้ใหญ่
- พวกเขากระหายน้ำ เช่น หลังจากทานขนมปังหรือบิสกิต
อาจเป็นการง่ายกว่าสำหรับทารกในการเริ่มจากถ้วยหัดดื่ม เมื่อเขาใช้คล่องแล้ว ท่านสามารถให้ถ้วยปกติสองหูขนาดเล็กกับเขาได้
การเลือกถ้วย
ถ้วยหัดดื่มที่เหมาะสมเป็นอย่างไร
- ถ้วยที่ไม่มีการออกแบบเพื่อกันหก น้ำไหลจากปากถ้วยเมื่อเอียงถ้วย เปลี่ยนจากถ้วยกันหกมาใช้แก้วปกติโดยนำวาล์วตรงฝาออก
- ขนาดเล็กจะถือได้ง่าย
- มีที่ถือทั้งสองข้าง ทารกของท่านสามารถถือถ้วยได้ง่ายขึ้น
- ปากถ้วยช่วยให้ทารกของท่านดื่มจากถ้วยได้ง่ายขึ้น
- ภาชนะที่โปร่งใส ท่านสามารถเห็นน้ำไหลได้เมื่อทารกของท่านดื่มน้ำ
- วัสดุปลอดภัย เลือกถ้วยที่ปลอดสาร bisphenol A (BPA)
เหตุใดจึงดีกว่าในการใช้ถ้วยหัดดื่มแบบไม่มีกันหก
น้ำไหลอย่างอิสระเมื่อทารกน้อยดื่มจากถ้วย วิธีนี้จะช่วยให้ทารกค่อย ๆ ปรับตัวในการดื่มน้ำจากถ้วยปกติได้
ทารกของฉันไม่ชอบปากถ้วยของถ้วยหัดดื่ม
ให้ถ้วยปกติขนาดเล็กกับเขา ช่วยเหลือและให้เขาสำรวจถ้วย อดทนเพราะเขาจะใช้เวลาในการดื่มจากถ้วย
เคล็ดลับ:
- ที่อายุประมาณหนึ่งปี ทารกน้อยสามารถดื่มหรือจิบน้ำด้วยหลอดได้
- หลังจากที่ทารกของท่านสามารถใช้ถ้วยกับหลอดได้แล้ว เขาควรหยุดใช้ขวดนม
คำเตือน:
- อยู่กับทารกของท่านและดูแลเขาเมื่อใดก็ตามที่เขาทานอาหาร
- อย่าให้เครื่องดื่มที่มีของขบเคี้ยวชิ้นเล็ก ๆ หรือให้เขาดื่มเครื่องดื่มประเภทนี้ด้วยหลอด
ภารกิจการป้อนอาหารของผู้ปกครอง
ช่วงระหว่างเปลี่ยนไปทานอาหารแข็ง ภารกิจของท่านคือ
- จัดหาอาหารมีท่านค่าทางโภชนาการอย่างหลากหลายให้ทารกของท่าน
- แนะนำเนื้อสัมผัสอาหารที่เหมาะกับระดับพัฒนาการของทารกของท่าน และผสมอาหารต่าง ๆ ให้หลากหลาย
- จัดหาสภาพแวดล้อมที่เหมาะกับการทานอาหาร ให้ทารกหลีกเลี่ยงเวลาการดูหน้าจอด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์
- ยอมรับว่าทารกของท่านรู้ว่าตัวเขาต้องการทานอาหารมากเท่าไหร่
- ระบุสัญญาณความหิวและความอิ่มของทารกของท่านจากนั้นป้อนอาหารให้สอดคล้องกับสัญญาณเหล่านั้น
- ช่วยทารกของท่านในการเรียนรู้ที่จะทานด้วยตัวเองและการดื่มน้ำจากถ้วย
- สร้างตารางเวลาการป้อนอาหารแบบปกติที่ลงตัวกับกิจวัตรครอบครัว
ส่งเสริมลักษณะนิสัยที่ดีต่อสุขภาพ
ทารกเรียนรู้โดยการเลียนแบบ ผู้ปกครองควรเป็นตัวอย่างที่ดีในการใช้ชีวิตและการทานเพื่อสุขภาพ
- สภาพแวดล้อมในบ้านของท่านควรปลอดภัย: เล่นกับทารกของท่านบนพื้นพรมบ่อยขึ้น ให้เขาเคลื่อนไหวโดยการกลิ้ง คลานหรือเดินช้า ๆ ตามแนวเฟอร์นิเจอร์
- ผู้ปกครองควรรับประทานอาหารให้ครบสัดส่วน
- พาทารกของท่านไปเล่นและรับแสงแดดนอกบ้านบ่อย ๆ เช่น ไปเล่นหรือเดินที่สวนสาธารณะทุกวัน ให้แขน มือ และขาของเขาสัมผัสแสงแดดโดยตรง วิธีนี้ช่วยให้ร่างกายสร้างวิตามินดีซึ่งทำให้กระดูกแข็งแรง
- ทำความสะอาดช่องปากทารกของท่านทุกวัน
- ชุบผ้ากอซหรือผ้าเช็ดหน้าด้วยน้ำดื่ม
- พันผ้ารอบนิ้วของท่าน จากนั้นสอดนิ้วอย่างอ่อนโยนเข้าไปข้างในช่องปากทารกของท่าน
- ถูเหงือกของทารกของท่านและฟันของเขา
ข้อมูลเพิ่มเติม โปรดเยี่ยมชม www.toothclub.gov.hk.
การรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพสำหรับเด็กอายุ 6 ถึง 24 เดือน "การย่างเข้า" - แจ้งเตือนสำหรับผู้ปกครอง
เมื่อป้อนอาหารทารกอายุ 6 ถึง 12 เดือน ท่านควร
- แนะนำอาหารแก่ทารกของท่านอย่างหลากหลาย (รวมถึง ธัญพืช ผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ และปลา) ขณะให้นมแม่หรือนมผงเด็กแรกเกิด
- เมื่อทารกของท่านทานอาหารแข็งได้ปริมาณมากและหลากหลายแล้ว เขาจะอยากนมน้อยลง ป้อนนมตามความต้องการของเขา หลังจากอายุ 9 เดือน ทารกมักทานอาหารแข็งแทนการดื่มนม 2 ถึง 3 ครั้ง
- ให้ทารกของท่านทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง เช่น ซีเรียลข้าว เนื้อสัตว์ ปลาหรือไข่แดง ผักใบเขียวหรือถั่ว
- เปลี่ยนเนื้อสัมผัสอาหารทีละน้อย จากอาหารข้นหนาเป็นอาหารก้อนอ่อน ๆ
- เมื่อทารกของท่านอายุประมาณ 7 ถึง 9 เดือน ช่วยเขาในการเรียนรู้การดื่มจากถ้วยและให้เขาถืออาหารเพื่อทานเอง
- ให้เขานั่งบนเก้าอี้สูงเพื่อทานกับครอบครัว
- ขณะป้อนอาหาร พูดคุยและโต้ตอบทารกของท่านเพื่อให้เขารู้สึกผ่อนคลายและมีความสุข
หากทารกของท่านมีอาการเหล่านี้เมื่ออายุ 10 เดือน ท่านควรปรึกษาแพทย์หรือพยาบาลของท่าน
- เขาทานได้เพียงอาหารข้นหรือดื่มนมเท่านั้น และเขาไม่ยอมทานอาหารก้อนอ่อน ๆ เช่น โจ๊กเนื้อสัตว์สับกับผัก
- เขาปฏิเสธที่จะทานอาหารทั้งหมดที่อยู่ในกลุ่มอาหารพื้นฐานกลุ่มหนึ่งหรือมากกว่าเช่น ไม่ทานผัก ผลไม้ หรือเนื้อสัตว์
หากท่านพบปัญหาในการป้อนอาหารทารกของท่าน โปรดปรึกษาแพทย์หรือพยาบาลของท่าน
ในการเรียนรู้เกี่ยวกับการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพสำหรับเด็กอายุ 6 ถึง 24 เดือน โปรดอ้างถึงจุลสาร"เริ่มต้น", "พร้อมลุย" และ "คู่มือการวางแผนมื้ออาหารเพื่อสุขภาพทั้ง 7 วัน".
ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
- ทารกของฉันปฏิเสธการดื่มน้ำจากถ้วย
- ฉันควรให้ทารกดื่มน้ำจากถ้วยที่มีหลอดหรือไม่
- เจ้าลูกชายตัวเล็กของฉันดื่มนมน้อยลงตอนที่ฉันเทนมให้ในถ้วยหัดดื่ม ฉันจะทำ อย่างไรดี