สิ่งที่คุณต้องรู้เกี่ยวกับเครื่องปั๊มนม
- การปั๊มนมทำให้ฉันสามารถป้อนนมลูกต่อไปได้แม้ฉันจะกลับไปทำงาน!
- การป้อนนมที่ปั๊มไว้แล้วทำให้ฉันได้รู้ว่าลูกน้อยของฉันดื่มนมไปมากเท่าใด
- การป้อนนมลูกจากนมที่ปั๊มไว้แล้วประหยัดเวลากว่าการป้อนนมบุตรโดยตรง!
- ลูกของฉันที่คลอดก่อนกำหนดยังไม่มีแรงดูดนมเองจากเต้า ฉันจึงต้องป้อนนมที่ปั๊มไว้แล้วให้เขา
สำหรับคุณแม่มือใหม่ คุณอาจสงสัยว่าเมื่อใดควรใช้เครื่องปั๊มนม
คุณต้องให้ความสนใจเรื่องใดเมื่อใช้เครื่องปั๊มนม
หากคุณต้องการทราบว่าต้องปั๊มน้ำนมเมื่อใด คุณสามารถอ่าน ความรัก เริ่มต้นจากการป้อนนม...หนังสือเล่มนี้มุ่งเน้นวิธีการใช้เครื่องปั๊มนมอย่างถูกต้อง
เครื่องปั๊มนมทำงานอย่างไร
เครื่องปั๊มนมปั๊มน้ำนมออกมาโดยการสร้างแรงดันลบภายในแผ่นป้องกันหัวนม โครงสร้างพื้นฐานของเครื่องปั๊มนมมีส่วนประกอบที่ถอดออกได้ 3 ชิ้น
- แผ่นป้องกันหัวนม: ถ้วยรูปกรวยที่พอดีกับเต้านม
- ปั๊ม: สร้างแรงดันลบเพื่อปั๊มน้ำนม โดยสามารถเชื่อมต่อกับแผ่นป้องกันหัวนมได้โดยตรงหรือผ่านสายยาง
- ภาชนะบรรจุน้ำนม
ข้อควรทราบ: คุณสามารถปั๊มนมได้ด้วยมือหรือด้วยเครื่องปั๊ม แม้ว่าคุณจะชอบใช้เครื่องปั๊มมากกว่า คุณก็ควรที่จะเรียนรู้วิธีการปั๊มนมด้วยมือเผื่อไว้ในยามจำเป็น
เลือกเครื่องปั๊มที่เหมาะสม
มีเครื่องปั๊มนมหลากหลายประเภทวางขายในร้านค้า เช่น เครื่องปั๊มนมด้วยมือ ด้วยไฟฟ้า และด้วยพลังงานจากแบตเตอรี่ อีกทั้งยังมีเครื่องปั๊มนมแบบเดี่ยวและแบบคู่ ซึ่งแบบคู่สามารถปั๊มน้ำนมได้จากเต้านมทั้งสองข้างในเวลาเดียวกัน แต่ละประเภทต่างกันในเรื่องของราคา คุณภาพและประสิทธิภาพ คุณควรพิจารณาความต้องการของตนเองและเลือกเครื่องปั๊มนมที่เหมาะกับคุณที่สุด เมื่อเลือกเครื่องปั๊มนม ให้พิจาณาดังต่อไปนี้
- การทำงาน
- เครื่องปั๊มนมไฟฟ้าแบบคู่เหมาะสำหรับการใช้ทั่วไปและการใช้เป็นประจำ
- เครื่องปั๊มนมด้วยพลังงานแบตเตอรี่เหมาะสำหรับมารดาที่ไม่สามารถใช้เครื่องปั๊มในสถานที่ที่แน่นอนหรือสถานที่ที่ไม่มีเต้ารับไฟฟ้า
- ระดับเสียงรบกวนระหว่างเครื่องกำลังทำงานที่แตกต่างกัน
- การออกแบบระบบ
ระบบเปิด ระบบปิด เครื่องปั๊มนมส่วนใหญ่ที่วางขายนั้นเป็นของประเภทนี้
เครื่องปั๊มนมส่วนใหญ่สำหรับเช่านั้นจัดอยู่ในประเภทนี้ เช่น เครื่องปั๊มนมที่ใช้ในโรงพยาบาล และศูนย์อนามัยแม่และเด็ก
ระบบนี้อาจปล่อยให้น้ำนมไหลออกมาสัมผัสและค้างอยู่ในตัวปั๊ม การใช้ปั๊มร่วมกันนี้อาจนำไปสู่การแพร่เชื้อระหว่างผู้ใช้
ระบบนี้มีตัวกั้นระหว่างน้ำนมและเครื่องปั๊ม ดังนั้น ตัวกั้นนี้สามารถลดความเสี่ยงของการปนเปื้อนและการแพร่เชื้อระหว่างผู้ใช้ได้
เหมาะสำหรับการใช้งานส่วนบุุคคลเท่านั้น
เหมาะสำหรับการใช้งานร่วมกัน (ผู้ใช้งานแต่ละคนควรมีชุดอุปกรณ์ทำความสะอาด รวมถึงแผ่นป้องกันหัวนมและสายยาง)
โปรดอ่านคู่มือการใช้งานเครื่องปั๊มนมสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
- การเลือกชิ้นส่วน
- บางรูปแบบสามารถเลือกขนาดของแผ่นป้องกันหัวนมได้
- เลือกชิ้นส่วนที่ทนทานและเปลี่ยนได้ง่าย
ข้อควรทราบ: การใช้งานร่วมกันหรือใช้งานเครื่องปั๊มนมระบบเปิดต่อจากผู้อื่นอาจมีความเสี่ยง
วิธีเลือกแผ่นป้องกันหัวนมที่เหมาะสม เพื่อให้พอดีกับขนาดของหัวนม
วัดเส้นผ่านศูนย์กลางหัวนมของคุณและขนาดรูของแผ่นป้องกันหัวนม ขนาดรูของแผ่นป้องกันหัวนมควรใหญ่กว่าหัวนมของคุณ 3 ถึง 4 มม
ทดสอบอย่างรวดเร็วเพื่อดูว่าแผ่นป้องกันหัวนมพอดีหรือไม่
- แปะแผ่นป้องกันหัวนมอย่างเหมาะสม
- ปรับเครื่องปั๊มนมไปที่ระดับการดูดสูงสุดโดยไม่ทำให้คุณเจ็บหรือไม่สบายตัว
- หากใส่แผ่นป้องกันหัวนมอย่างเหมาะสม:
- แผ่นป้องกันหัวนมจะปิดอย่างดี
- หัวนมไม่ถูกับด้านข้างของรูแผ่นป้องกันหัวนมเมื่อดันเข้า
- ฐานหัวนมดันเข้าในรูแผ่นป้องกันหัวนมน้อยครั้งมากหรือไม่เลย
- คุณจะไม่รู้สึกเจ็บ
- เต้านมของคุณจะค่อย ๆ นุ่มลง
แผ่นป้องกันหัวนมใหญ่เกินไป: ฐานหัวนมดันเข้ารูแผ่นป้องกันหัวนมมากเกินไประหว่างการปั๊มนม ซึ่งจะลดประสิทธิภาพในการปั๊มนมลง
แผ่นป้องกันหัวนมเล็กเกินไป: หัวนมจะถูกับด้านข้างของรูแผ่นป้องกันหัวนมระหว่างการปั๊มนม คุณอาจรู้สึกเจ็บหรือมีเลือดออกได้
ขั้นตอนการใช้เครื่องปั๊มนมที่ ถูกต้อง
- การเตรียมตัว อ่านคู่มือการใช้เครื่องปั๊มนมอย่างละเอียด
- ขั้นตอนการใช้เครื่องปั๊มนมมีดังนี้:
- ล้างมือก่อนทำการปั๊มนม
- ประกอบแผ่นป้องกันหัวนมที่สะอาด ภาชนะบรรจุน้ำนม สายยางและเครื่องปั๊มนมอย่างถูกต้อง
- กระตุ้นกลไกลการหลั่งน้ำนมเพื่อช่วยการไหลของน้ำนม โปรดอ่านบทที่ ความรัก เริ่มต้นจากการป้อนนม...
- วางแผ่นป้องกันหัวนมไว้ตรงกลางเหนือหัวนมของคุณและกดเบา ๆ เพื่อให้แผ่นปิดดี
- เปิดเครื่องปั๊มนมและเริ่มด้วยความแรงระดับต่ำ ค่อย ๆ ปรับความแรงจนกว่าน้ำนมจะไหลออกมาโดยไม่ทำให้รู้สึกเจ็บ
- ทำความสะอาดแผ่นป้องกันหัวนมและส่วนใดก็ตามที่สัมผัสกับน้ำนมจากเต้าทุกครั้งหลังใช้งาน ปฏิบัติตามวิธีทำความสะอาดที่แนะนำในคู่มือเครื่องปั๊มนม
ข้อควรทราบ: คุณจะไม่รู้สึกเจ็บขณะปั๊มนม หากเป็นเช่นนั้น อย่างแรกสุดให้ตรวจสอบขนาด ตำแหน่งของแผ่นป้องกันหัวนม และแรงดูดที่ใช้ หากคุณมีข้อสงสัยเพิ่มเติม โปรดปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ
ความถี่และระยะเวลาในการปั๊มนม
ความถี่และระยะเวลาในการปั๊มนมจะต่างกันไปตามมารดาแต่ละคน โดยทั่วไป:
- ในช่วงหลังคลอด 2 สัปดาห์แรก หากคุณเลี้ยงลูกด้วยน้ำนมที่ปั๊มเก็บไว้อย่างเดียว คุณจะต้องปั๊มนมอย่างน้อย 8 ครั้งต่อวัน รวมไปถึงการปั๊มนมในตอนกลางคืนอย่างน้อยหนึ่งครั้ง
- หลังจาก 2 สัปดาห์ หรือเมื่อการผลิตน้ำนมของคุณเริ่มคงที่ คุณสามารถ เป็นประมาณวันละ 6 ครั้ง โดยหลีกเลี่ยงช่วงเวลาที่ไม่เกิน 6 ชั่วโมงระหว่่างการปั๊๊มในแต่ละครั้้ง อย่างไรก็ตามความถี่อาจแตกต่างกันออกไปตามอายุของบุตรและสถานการณ์ของแต่ละคน
- เมื่อใช้เครื่องปั๊มนมแบบเดี่ยว ให้เปลี่ยนไปที่เต้านมข้างอื่นหากน้ำนมไหลช้าลง เปลี่ยนสลับข้างไปเรื่อย ๆ หลายครั้ง ใช้เวลาในการปั๊มนมทั้งหมดประมาณ 20 ถึง 30 นาที
- เมื่อใช้เครื่องปั๊มนมแบบคู่ ใช้เวลาในการปั๊มนมประมาณ 15 ถึง 20 นาที หากน้ำนมไหลช้าลง คุณสามารถนวดเต้านมของคุณเบา ๆ ได้
ข้อควรทราบ: ในช่วงวันแรก ๆ เมื่อการผลิตน้ำนมของคุณช้าลง หรือน้ำนมหยุดไหลในระหว่างการปั๊มนม คุณสามารถหยุดพักสักครู่ นวดเต้านมของคุณเบา ๆ และพยายามปั๊มนมอีกครั้ง 1 ถึง 2 นาที หากยังไม่มีน้ำนมไหล คุณสามารถหยุดได้ คุณต้องปั๊มต่อไปทุก ๆ 3 ชั่วโมง และค่อย ๆ ขยายระยะเวลาการปั๊มในแต่ละครั้ง
การทำความสะอาดชิ้นส่วนเครื่องปั๊มนม
ล้างแผ่นป้องกันหัวนมและส่วนอื่น ๆ ทันทีหลังการปั๊มนม ทำความสะอาดน้ำมันบนแผ่นป้องกันหัวนมด้วยน้ำยาทำความสะอาดและน้ำอุ่น จากนั้นล้างด้วยน้ำร้อนอย่างน้อยสองครั้ง วางส่วนที่ทำความสะอาดแล้วในที่เก็บแบบมีฝาปิดที่สะอาด พร้อมทั้งฆ่าเชื้อชิ้นส่วนดังกล่าววันละครั้ง สำหรับรายละเอียด โปรดอ่าน คู่มือ คำแนะนำการป้อนนมด้วยขวด
ข้อควรทราบ: หากบุตรของคุณอยู่ที่โรงพยาบาล หรือหากมีการใช้เครื่องปั๊มนมร่วมกัน คุณต้องฆ่าเชื้อแผ่นป้องกันหัวนมและส่วนอื่น ๆ ทุกครั้งหลังการปั๊มนม
ข้อผิดพลาดที่พบบ่อยเมื่อใช้เครื่องปั๊มนม
ข้อผิดพลาด | ผลลัพธ์ |
---|---|
รูของแผ่นป้องกันหัวนมมีขนาดเล็กกว่าหัวนม |
มีอาการเจ็บหัวนมหรือมีเลือดออกขณะปั๊มนม |
ตำแหน่งหัวนมอยู่ด้านข้างของแผ่นป้องกันหัวนม |
|
แผ่นป้องกันหัวนมคับ |
ท่อน้ำนมอุดตัน |
การปั๊มน้ำนมนานเกินไปหรือการเพิกเฉยต่ออาการเจ็บเป็นระยะเวลานาน |
ปัญหาอาการเจ็บนม |
การบีบน้ำนมด้วยมือ | การใช้เครื่องปั๊มนม |
---|---|
|
|
เมื่อน้ำนมของคุณยัง "ไม่ไหล" หรือมีน้ำนมไหลน้อยในช่วง 2 วันแรก การบีบน้ำนมด้วยมือมักมีประสิทธิภาพมากกว่า ทั้งนี้เมื่อน้ำนมเต็มอก การใช้เครื่องปั๊มนมช่วยประหยัดพลังงานและค่อนข้างมีประสิทธิภาพมากกว่า มารดาบางคนใช้ทั้งสองวิธีโดยใช้เครื่องปั๊มนมก่อนจนกว่าอกจะนุ่มลงจากนั้นใช้การบีบน้ำนมด้วยมือกับน้ำนมที่เหลือ
แต่ละวิธีล้วนมีข้อดี!
คำถามที่พบบ่อย
ถาม: 1. ทำไมต้องใช้การป้อนนมบุตรโดยตรงในเมื่อการใช้ที่ปั๊มนมนั้นสะดวกกว่า
ตอบ: ข้อดีของการป้อนนมสำหรับมารดาและบุตรไม่ได้ขึ้นอยู่กับส่วนผสมในน้ำนม
- การดูดนมจากอกของคุณทำให้เด็กกำหนดการป้อนนมเอง วิธีนี้สามารถป้องกันการป้อนนมเกินความต้องการและลดความเสี่ยงเรื่องความอ้วนและโรคอ้วนได้
- การสัมผัสผิวหนังอย่างใกล้ชิดและการพูดคุยระหว่างการให้นมบุตรช่วยพัฒนาความสัมพันธ์ของมารดาและบุตร อีกทั้งช่วยพัฒนาการด้านสมอง อารมณ์ และทักษะทางสังคมของบุตร
- การดูดนมจากอกช่วยพัฒนากราม ลิ้น และกล้ามเนื้อใบหน้าของบุตร
- เมื่อคุณท่อน้ำนมอุดตันหรือเต้านมอักเสบ (การติดเชื้อที่หน้าอก) การดูดนมของบุตรเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะช่วยแก้ไขอาการอุดตันนี้
- การป้อนนมด้วยขวดเพิ่มความเสี่ยงการติดเชื้อของหูชั้นกลาง
ถาม: 2. ในการเตรียมน้ำนมแบบใดมีประสิทธิภาพมากกว่ากันระหว่างการป้อนนมบุตรโดยตรงและที่ปั๊มนม
ตอบ: แล้วแต่กรณี ประสิทธิภาพการดูดน้ำนมขึ้นอยู่กับสมรรถภาพและวิธีการดูดนมของบุตรที่ถูกต้อง หรือทักษะการปั๊มนมของมารดา ทั้งสองแบบล้วนมีประสิทธิภาพ หากบุตรของคุณไม่สามารถดูดนมได้ดี คุณสามารถใช้เครื่องปั๊มนมเป็นเครื่องมือชั่วคราวเพื่อเพิ่มการผลิตน้ำนมขณะปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เมื่อสมรรถภาพการดูดนมของบุตรพัฒนาขึ้น คุณสามารถลดการปั๊มนมลงอย่างช้า ๆ ได้
ถาม: 3. ฉันควรปั๊มน้ำนมออกมา "จนหมด" โดยการใช้เครื่องปั๊มนมทันทีหลังการป้อนนมบุตรโดยตรงหรือไม่
ตอบ: หากบุตรของคุณมีสมรรถภาพในการดูดนม ปริมาณการผลิตน้ำนมควรจะมีปริมาณที่เหมาะสม การปั๊มนมทันทีหลังการป้อนนมบุตรโดยตรงอาจกระตุ้นการผลิตน้ำนมมากเกินไป ผลคือเพิ่มความเสี่ยงเรื่องเต้านมคัดตึง ท่อน้ำนมอุดตัน และปัญหาอื่น ๆ หากบุตรของคุณมีสมรรถภาพในการดูดนม การปั๊มนมเพิ่มเติมก็ไม่จำเป็น หากคุณไม่ทราบว่าบุตรมีสมรรถภาพในการดูดนมหรือไม่ คุณสามารถอ่าน ความรัก เริ่มต้นจากการป้อนนม... และตามด้วยการขอความช่วยเหลือจากการอนามัยแม่และเด็ก หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพอื่นๆ ความจริงแล้วอกของคุณจะผลิตน้ำนมต่อได้ ดังนั้นเรื่องการปั๊มน้ำนมออกมา "จนหมด" จึงสำคัญ!
ดูวีดีโอ: http://s.fhs.gov.hk/m2ypj
ถาม: 4. อกฉันคัดตึงอย่างรวดเร็วหลังจากป้อนนมบุตร ฉันควรปั๊มนมออกเพื่อคลายความไม่สบายอกหรือไม่
ตอบ: โดยปกติคุณจะรู้สึกแน่นในอกเมื่อถึงเวลาป้อนนม หากอกของคุณคัดตึงอย่างรวดเร็วหลังจากป้อนนมบุตร นั่นหมายความว่ามีการป้อนนมมากเกินไป คุณสามารถปั๊มนมออกมาเล็กน้อยเพื่อคลายความไม่สบายอกได้ แต่คุณควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเพื่อจัดการการป้อนนมเกินปริมาณ
ลักษณะอื่น ๆ ของการป้อนนมเกินปริมาณ
- คัดตึงเต้านมจนทำให้บุตรดูดนมได้ยาก
- บุตรของคุณสำลักเมื่อดูดนมแล้วน้ำนมไหลเร็วเกินไป
- บุตรของคุณอาจท้องร่วง
- คุณอาจมีอาการท่อน้ำนมอุดตันซ้ำ
ถาม: 5. มารดาบางคนต้องการผลักดันตนเองให้ผลิตน้ำนมมากขึ้นตามเป้าหมายที่ตั้งไว้เมื่อเทียบกับมารดาคนอื่น ๆ เรียกว่า "เร่งผลิตน้ำนม" เรื่องนี้จำเป็นหรือไม่
ตอบ: ปริมาณน้ำนมที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับความต้องการของบุตร คุณควรดูว่าบุตรได้รับน้ำนมเพียงพอหรือไม่จากการส่งสัญญาณความพอใจของบุตรหลังการป้อนนม อุจจาระหรือปัสสาวะ และน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น
มารดาบางคนคิดว่าตนผลิตน้ำนมไม่เพียงพอเพราะปริมาณน้ำนมที่ออกมามีน้อยกว่ามารดาคนอื่น ๆ หรือน้อยกว่าปริมาณการบริโภคแนะนำจากที่ระบุบนฉลากกระป๋องนมเด็กแรกเกิด มารดาอาจคิดว่าตนเองมี "น้ำนมไม่เพียงพอ" และเริ่มกังวลเกี่ยวกับการผลิตน้ำนมที่มากขึ้น ความจริงแล้ว ทั้งคุณภาพและปริมาณของน้ำนมเปลี่ยนไปตามความต้องการของบุตรในระดับต่างๆ คุณไม่ควรเพิ่มความถี่หรือระยะเวลาการปั๊มนมอย่างไร้การพิจารณา
หากคุณสงสัยว่าตนเองผลิตน้ำนมเพียงพอหรือไม่ คุณควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ
ถาม: 6. บุตรของฉันดื่มน้ำนม 3 ออนซ์ แต่ฉันปั๊มน้ำนมได้เพียง 2 ออนซ์ต่อครั้ง ฉันผลิตน้ำนมเพียงพอหรือไม่
ตอบ: ปริมาณน้ำนมที่ดึงออกมาแต่ละครั้งขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยและไม่จำเป็นต้องมีปริมาณเท่ากันกับความต้องการนมของบุตรในแต่ละครั้ง ยิ่งไปกว่านั้นหากป้อนนมบุตรด้วยขวดนม ปริมาณนมจะมากกว่าความต้องการของบุตร หากคุณสงสัยว่าตนเองผลิตน้ำนมเพียงพอหรือไม่ คุณควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ
ถาม: 7. ฉันสามารถปั๊มนมได้ปริมาณมากขึ้นหรือไม่ หากฉันเพิ่มระยะเวลาการปั๊มนมเป็นเวลามากกว่าหรือเท่ากับ 60 นาที ฉันจะได้ลดความถี่การปั๊มนมลง
ตอบ: น้ำนมมารดาส่วนใหญ่จะไหลออกช่วง 8 ถึง 10 นาทีแรกของการปั๊มนม การเพิ่มระยะเวลาการปั๊มนมไม่ได้ช่วยเพิ่มการผลิตน้ำนมอย่างมีนัยสำคัญ ความจริงแล้ว ความถี่ของการปั๊มนมกระตุ้นการผลิตน้ำนมอย่างมีประสิทธิภาพมากกว่า
ถาม: 8. น้ำนมจะไหลออกมาเพิ่มหรือไม่หากฉันเพิ่มแรงกดที่นมขณะปั๊มนม
ตอบ: การวิจัยพบว่าการใช้แรงกดที่เหมาะสมที่นมช่วยเพิ่มการผลิตน้ำนมสำหรับมารดาบางคน อย่างไรก็ตาม หากใช้แรงกดมากเกินไป หรือกดนมรอบข้างของแผ่นป้องกันหัวนมแรงเกินไป จะทำให้เกิดท่อน้ำนมอุดตันและเกิดอาการเจ็บนม หากน้ำนมไหลตามปกติขณะปั๊มนม คุณสามารถวางใจได้และไม่ต้องใช้การกดที่นม
ถาม: 9. อกฉันเต็มไปด้วยน้ำนมหรือมีอาการคัดตึง แต่ไม่มีน้ำนมไหลออกมาเลย ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
ตอบ: อันดับแรก คุณควรตรวจสอบว่าส่วนของเครื่องปั๊มนมติดกับนมพอดีหรือไม่ หากคุณกังวลว่าจะเจ็บหรือไม่สบายตัว สามารถยับยั้งกลไกการหลั่งน้ำนมและหยุดการไหลของน้ำนมได้ พยายามทำตัวให้สบายและฝึกฝน "การป้อนนมเบื้องต้น" (ดูความรัก เริ่มต้นจากการป้อนนม...) หรือการกินยาแก้ปวดหากจำเป็น คุณสามารถลองการบีบน้ำนมด้วยมือหรือปั๊มนมอีกข้างหนึ่งขณะบุตรกำลังดูดนมได้
ข้อควรทราบ: อาการเต้านมคัดตึงที่เป็นต่อเนื่องอาจนำไปสู่อาการเต้านมอักเสบ หากอาการนี้ปรากฏนานกว่า 24 ชั่วโมงให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพทันที
ถาม: 10. ฉันสามารถเปลี่ยนการปั๊มนมข้างเดียวเป็นสองข้างด้วยตนเองได้หรือไม่
ตอบ: วิธีนี้อาจเกิดความเสี่ยงเมื่อตัวปั๊มทำงานได้ไม่ดี หากตัวปั๊มไม่ติดกับสายยางและแผ่นป้องกันหัวนม