สุขภาพจิตหลังคลอด
ความสำคัญของสุขภาพจิตหลังคลอด
เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนหลังคลอด การเปลี่ยนแปลงของบทบาทหน้าที่ ความท้าทายในการดูแลทารกและปัญหาครอบครัว ผู้เป็นแม่อาจมีความเสี่ยงสูงที่จะป่วยเป็นโรคอารมณ์แปรปรวน ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด ซึ่งสามารถส่งผลกระทบต่อความสามารถของผู้เป็นแม่ในการดูแลทารก และมีผลกระทบต่อสุขภาพทางร่างกายของทารก พัฒนาการด้านความคิดและพัฒนาการด้านอารมณ์และพฤติกรรมของทารก คู่ชีวิตของผู้เป็นแม่ที่มีอาการซึมเศร้าหลังคลอดก็มีความเสี่ยงด้านความแปรปรวนทางอารมณ์ด้วยเช่นกัน ดังนั้นการดูแลสุขภาพจิตของผู้เป็นแม่หลังคลอดจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก
ปัจจัยเสี่ยงหลักของภาวะซึมเศร้าหลังคลอด
ยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงของภาวะซึมเศร้าหลังคลอด งานวิจัยได้ระบุว่าปัจจัยที่อยู่ในตารางด้านล่างนี้เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของภาวะซึมเศร้าหลังคลอด:
ปัจจัยทางคลินิก
- ภาวะทางจิตเวชที่เป็นอยู่ก่อนซึ่งรวมถึงโรคซึมเศร้าและวิตกกังวล
- ภาวะซึมเศร้าหรือวิตกกังวลในช่วงระหว่างตั้งครรภ์
ปัจจัยทางจิตสังคม
- แนวโน้มลักษณะการเป็นโรควิตกกังวล
- ขาดการสนับสนุนทางสังคม
- ชีวิตการแต่งงานที่ไม่ดี
- ความสัมพันธ์กับญาติที่เกิดจากการแต่งงานไม่เป็นที่พอใจ
- ความรุนแรงในครอบครัว
- ปัญหาทางการเงิน
- เหตุการณ์น่าตึงเครียดในชีวิต
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการคลอดและที่เกี่ยวข้องกับทารก
- ภาวะแทรกซ้อนของการคลอดก่อนกำหนด
- การคลอดบุตรโดยการผ่าตัดฉุกเฉิน
- การแท้งมาก่อน / ภาวะมีบุตรยาก
- การตั้งครรภ์โดยไม่ได้วางแผน
- ทารกเป็นโรคแต่กำเนิด / คลอดก่อนกำหนด
ปัญหาด้านอารมณ์หลังคลอด
ปัญหาด้านอารมณ์หลังคลอดมีสามประเภท: (1) ภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอด (2) ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด (3) โรคจิตหลังคลอด ซึ่งแต่ละภาวะมีความแตกต่างกันด้านความชุก การนำเสนอทางคลินิก ระดับความรุนแรง และการจัดการ
(1) ภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอด
- 40% - 80% ของหญิงหลังคลอดได้รับผลกระทบ
- เป็นสภาวะชั่วคราวที่จำแนกตามลักษณะของการมีอารมณ์แปรปรวน ร้องไห้ นอนไม่หลับและโมโหง่าย อาการเหล่านี้มักเกิดขึ้นประมาณวันที่ 3 หรือวันที่ 5 หลังการคลอด
- อาการเหล่านี้ค่อนข้างเบาและจะหายไปเองในไม่กี่วัน
(2) ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด
- 13% - 19% ของหญิงหลังคลอดได้รับผลกระทบ
- อาการต่าง ๆ จะคล้ายกับโรคที่มีอารมณ์ซึมเศร้าที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาอื่น ปกติแล้วอาการนี้จะเกิดขึ้นภายใน 6 สัปดาห์แต่สามารถเกิดขึ้นเมื่อใดก็ได้ภายในเวลาหนึ่งปีหลังคลอด
- ผู้เป็นแม่ที่มีภาวะซึมเศร้าหลังคลอดส่วนใหญ่จะฟื้นตัวได้หากตรวจพบตั้งแต่เนิ่น ๆ และได้รับการรักษาที่เหมาะสมและได้รับการสนับสนุนจากครอบครัว
(3) โรคจิตหลังคลอด
- 0.1% - 0.5% ของหญิงหลังคลอดได้รับผลกระทบ
- ลักษณะที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจนประกอบด้วยการได้ยินเสียงแว่ว ความคิดแปลกประหลาดว่าจะโดนผู้อื่นทำร้ายและความคิดที่จะทำร้ายตนเองหรือทารก ปกติแล้วอาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นภายใน 14 วันหลังคลอด
- ซึ่งคืออาการทางจิตฉุกเฉิน จำเป็นต้องได้รับการตรวจโดยจิตแพทย์หรือเข้าตรวจที่แผนกอุบัติเหตุและเหตุฉุกเฉินของโรงพยาบาลอย่างเร่งด่วน
การระบุภาวะซึมเศร้าหลังคลอดเบื้องต้น
อาการหลักของภาวะซึมเศร้าหลังคลอด:
- อารมณ์ซึมอย่างต่อเนื่อง เช่น รู้สึกซึมเศร้าและเสียใจ ร้องไห้โดยไม่มีสาเหตุหรืออยากร้องไห้แต่ไม่มีน้ำตา
- สูญเสียความสนใจในกิจกรรมเกือบทั้งหมด (รวมถึงสูญเสียความสนใจในบุตรของตนด้วย)
- ไม่อยากอาหาร
- มีปัญหาการนอน
- เหนื่อยล้าหรือไม่มีแรงตลอดเวลา
- ไม่มีสมาธิหรือตัดสินใจลำบาก
- รู้สึกผิด ไร้ค่า และไร้ความหวัง
- มีความวิตกกังวลและโมโหง่ายมากเกินไป
หากมีอาการดังกล่าวมากกว่า 2 สัปดาห์และมีผลกระทบอย่างมากต่อการใช้ชีวิตประจำวันของผู้เป็นแม่ ให้ติดต่อผู้เชี่ยวชาญเพื่อขอความช่วยเหลือทันทีที่เป็นไปได้
เคล็ดลับในการป้องกัน
- เตรียมความพร้อมอย่างเหมาะสมก่อนการตั้งครรภ์ซึ่งรวมถึงการวางแผนครอบครัวและการเงินที่เหมาะสม
- มีความคาดหวังที่ขึ้นอยู่กับความเป็นจริงของการเป็นผู้ปกครองเพื่อช่วยจัดการชีวิตหลังจากการคลอด
- เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ การคลอดและการดูแลทารกเพื่อลดความวิตกกังวล เช่น เข้าร่วมเวิร์กชอปการดูแลทารกและการเลี้ยงดูบุตรในศูนย์แม่และเด็ก เข้าร่วมการสนนาและเวิร์กชอปที่จัดโดยองค์กรอื่น ๆ ฯลฯ
- มีการแบ่งปันประสบการณ์กับผู้ปกครองคนอื่น ๆ และยกระดับการสนับสนุนทางสังคม
- สร้างการสนทนาที่มีประสิทธิภาพกับคู่ครองและสมาชิกคนอื่น ๆ ในครอบครัวเพื่อการพัฒนาความเข้าใจและการสนับสนุน
- พักผ่อนและนอนหลับอย่างเพียงพอ เช่น จัดให้มีความช่วยเหลือด้านงานบ้านและการดูแลทารกหลังการคลอด
- หาเวลาพักผ่อนและทำกิจกรรมที่ผ่อนคลาย เช่น ไปเดินเล่นหรือโทรหาเพื่อน
- รับประมานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ไม่สูบบุหรี่และหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
วิธีการขอความช่วยเหลือ
- หากผู้เป็นแม่ทรมานกับปัญหาด้านอารมณ์หลังคลอด ควรติดต่อศูนย์สุขภาพแม่และเด็กในแถบที่อยู่อาศัยเพื่อทำการนัดหมายกับพยาบาลสำหรับการเข้าร่วมการประเมินเบื้องต้นและส่งต่อไปยังบริการต่าง ๆ ที่เหมาะสม
- ปรึกษาแพทย์ครอบครัวสำหรับการประเมินและการจัดการเบื้องต้นและให้ส่งต่อไปยังบริการของผู้เชี่ยวชาญหากจำเป็น
- พบจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาคลินิกภาคเอกชนสำหรับการประเมินและการรักษาอย่างมืออาชีพ
- เข้าพบนักสังคมสงเคราะห์หรือที่ปรึกษาสำหรับการประเมินหรือการส่งต่อ
บริการรับปรึกษา / สายด่วน
- สมาคมสะมาริตันส์ Befrienders Hong Kong
2389 2222 - บริการป้องกันการฆ่าตัวตาย
2382 0000 - สายด่วนกรมประชาสงเคราะห์ 24 ชั่วโมง
2343 2255 - สายตรงสุขภาพจิตโรงพยาบาลหลัก (24 ชั่วโมง)
2466 7350
อื่น ๆ
กรมอนามัย:
- สายด่วนข้อมูลบริการอนามัยครอบครัว 24 ชั่วโมง
2112 9900 - สายด่วนนมแม่บริการอนามัยครอบครัว
3618 7450 - สายด่วนข้อมูลสุขศึกษา
2833 0111 - เว็บไซต์บริการอนามัยครอบครัว
- สมุดรายนามสถานที่ดูแลปฐมภูมิ
(ท่านสามารถหาแพทย์ครอบครัวที่เหมาะสมกับความต้องการของท่านโดยการใช้สมุดรายนามนี้)