ภาวะมีบุตรยากอย่างอ่อน

(Content revised 05/2016)

การตั้งครรภ์เป็นกระบวนการที่ซับซ้อน เนื่องจากในช่วงที่มีประจำเดือนนั้นมีความเป็นไปได้ที่จะไม่เกิดการตั้งครรภ์สูงกว่าความเป็นไปได้ที่จะเกิดการตั้งครรภ์

แม้ในคู่สามีภรรยาที่อยู่ในวัยเจริญพันธุ์ ซึ่งมีเพศสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอ กล่าวคือสองหรือสามครั้งต่อสัปดาห์ โดยไม่คุมกำเนิด ก็มีโอกาสที่ฝ่ายหญิงจะตั้งครรภ์ในช่วงที่มีประจำเดือนไม่ถึง 25%

ภาวะมีบุตรยากอย่างอ่อนคืออะไร

ภาวะมีบุตรยากอย่างอ่อน

หมายถึงการที่ไม่สามารถตั้งครรภ์ได้แม้ว่าจะมีเพศสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอโดยไม่คุมกำเนิดมาแล้วอย่างน้อยหนึ่ง

ภาวะมีบุตรยากอย่างอ่อนเป็นภาวะที่พบได้ทั่วไป โดยคู่สามีภรรยาทุก 6 คู่ จะมีอย่างน้อย 1 คู่ ที่มีภาวะนี้

สาเหตุของภาวะมีบุตรยากอย่างอ่อน

ภาวะมีบุตรยากอย่างอ่อนทั้งในชายและหญิงเกิดได้จากหลายสาเหตุ ฝ่ายชายและหญิงต่างมีส่วนที่ทำให้เกิดภาวะมีบุตรยากอย่างอ่อนคนละ 30% ส่วนที่เหลืออีก 40% อาจเป็นปัญหาที่มีร่วมกันหรือที่ไม่ทราบสาเหตุ (ภาวะมีบุตรยากอย่างอ่อนที่ไม่ทราบสาเหตุ) สิ่งที่ต้องเน้นย้ำคือปัญหาของฝ่ายชายและฝ่ายหญิงมักเป็นปัญหาที่มีร่วมกัน ดังนั้นจึงควรเข้าร่วมการประเมินด้วยกันทั้งคู่

ภาวะมีบุตรยากอย่างอ่อนในผู้หญิง

  • อายุ: ภาวะเจริญพันธุ์ตามธรรมชาติจะลดลงเมื่อผู้หญิงมีอายุมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่ออายุพ้นสามสิบกลางๆ ไปแล้ว
  • โรคประจำตัว:
    • ปัญหาเรื่องการตกไข่ เช่น ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ ภาวะหมดระดูเร็ว ปัญหาเรื่องไทรอยด์ ฯลฯ
    • พังผืดในอุ้งเชิงกรานหรือท่อนำไข่อุดตันจากโรคเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ การติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน การผ่าตัดอุ้งเชิงกราน หรือความผิดปกทางโครงสร้างของมดลูก

ภาวะมีบุตรยากอย่างอ่อนในผู้ชาย

  • ปัจจัยไม่พึงประสงค์ที่ส่งผลต่อการผลิตหรือการลำเลียงอสุจิ เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ อัณฑะค้าง เส้นเลือดขอดในถุงอัณฑะ (หลอดเลือดอัณฑะขอด) หรือความเสียหายของระบบสืบพันธุ์จากการติดเชื้อหรือการผ่าตัดในอดีต

ภาวะมีบุตรยากอย่างอ่อนที่ไม่ทราบสาเหตุ

  • กรณีที่พิจารณาประวัติอย่างละเอียด ตรวจร่างกาย และตรวจวินิจฉัยแล้วยังคงไม่พบสาเหตุ เราจะเรียกว่า 'ภาวะมีบุตรยากอย่างอ่อนที่ไม่ทราบสาเหตุ'
  • ในกรณีของภาวะมีบุตรยากอย่างอ่อนที่ไม่ทราบสาเหตุ ปัจจัยหลักสองประการที่ส่งผลต่อโอกาสในการตั้งครรภ์ ได้แก่ ระยะเวลาของภาวะมีบุตรยากอย่างอ่อนและอายุของฝ่ายหญิง ความสามารถในการตั้งครรภ์ตามธรรมชาติจะลดลงในผู้หญิงที่มีอายุมากขึ้นหรือในคู่สามีภรรยาที่มีภาวะมีบุตรยากอย่างอ่อนมานานกว่าสามปี

คำแนะนำโดยทั่วไป

  • มีเพศสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอประมาณ 2 - 3 ครั้งต่อสัปดาห์ โดยค่อยเพิ่มถี่ขึ้นเล็กน้อย (เช่น 2 วันครั้ง) ในช่วงที่ไข่ตก
  • คู่สามีภรรยาควรหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ และการใช้ยาเสพติด
  • ผู้หญิงที่มีน้ำหนักเกินอาจมีบุตรยากและมีความเสี่ยงต่อการแท้งสูงขึ้น ในทางกลับกันผู้หญิงที่น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์อาจมีประจำเดือนผิดปกติและไม่ตกไข่ ผู้หญิงจึงควรรักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่เหมาะสม
  • การรับประทานอาหารให้ครบทุกหมู่ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และการจัดการความเครียดคือปัจจัยสำคัญสำหรับการสืบพันธุ์ที่เหมาะสม
  • ผู้หญิงที่ไม่แน่ใจว่าตัวเองมีภูมิคุ้มกันโรคหัดเยอรมันหรือไม่ควรปรึกษากับแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวเพื่อตรวจวินิจฉัยว่าจำเป็นต้องฉีดวัคซีนหัดเยอรมันก่อนตั้งครรภ์หรือไม่

การมีเพศสัมพันธ์บ่อยขึ้นจะช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ได้หรือไม่

  • การมีเพศสัมพันธ์บ่อยเกินไป เช่น วันละครั้ง อาจส่งผลให้จำนวนอสุจิในน้ำอสุจิน้อยลง ในทางกลับกันการมีเพศสัมพันธ์น้อยเกินไป เช่น น้อยกว่าสัปดาห์ละครั้ง จะทำให้อสุจิในน้ำอสุจิไม่เคลื่อนไหว ซึ่งทั้งสองกรณีอาจส่งผลให้โอกาสในการตั้งครรภ์ลดลง

คู่สามีภรรยาที่เข้าข่ายต่อไปนี้ควรพิจารณาขอคำปรึกษาจากแพทย์แต่เนิ่น ๆ

ฝ่ายหญิง

  • มีอายุสามสิบตอนปลายขึ้นไป
  • มีประวัติแท้งตั้งแต่สามครั้งขึ้นไป
  • มีรอบเดือนนานกว่าปกติหรือผิดปกติ
  • มีรอบเดือนทุกสามสัปดาห์หรือน้อยกว่า
  • รู้สึกเจ็บขณะมีประจำเดือนหรือขณะมีเพศสัมพันธ์
  • มีประวัติการเป็นโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่
  • มีประวัติการติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน
  • มีประวัติการผ่าตัดอุ้งเชิงกรานหรือรังไข่

ฝ่ายชาย

  • เคยเป็นโรคคางทูมสมัยเด็ก
  • มีปัญหาเรื่องการแข็งตัวหรือการหลั่ง
  • มีประวัติการติดเชื้อในต่อมลูกหมาก
  • มีประวัติอัณฑะค้าง
  • มีประวัติหลอดเลือดอัณฑะขอด

ภาวะมีบุตรยากอย่างอ่อนต่างจากการเป็นหมัน อาการบางอย่างรักษาได้ง่ายกว่าอย่างอื่น คู่สามีภรรยาจึงควรขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญโดยเร็ว

ขอความช่วยเหลือได้จากที่ไหน

การตรวจวินิจฉัยและรักษาภาวะมีบุตรยากอย่างอ่อนเบื้องต้นสามารถทำได้โดยสูตินรีแพทย์ขององค์การโรงพยาบาล สมาคมวางแผนครอบครัว หรือภาคเอกชน อย่างไรก็ตาม ถ้าไม่ทราบสาเหตุของภาวะมีบุตรยากอย่างอ่อน หรือถ้าคู่สามีภรรยาไม่มีบุตรภายในระยะเวลาที่กำหนดหลังจากการรักษา พวกเขาอาจถูกส่งต่อให้กับผู้เชี่ยวชาญด้านภาวะมีบุตรยากอย่างอ่อนหรือแผนกช่วยการเจริญพันธุ์ของโรงพยาบาลรัฐหรือเอกช

อัตราการประสบความสำเร็จในการรักษาจะลดลงอย่างเห็นได้ชัดในผู้หญิงที่มีอายุมากขึ้น แม้ว่าจะใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ที่ทันสมัย แต่อัตราการประสบความสำเร็จสำหรับผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 45 ปีขึ้นไป แทบจะเป็นศูนย์ ดังนั้นคู่สามีภรรยาที่มีภาวะมีบุตรยากอย่างอ่อนควรขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญโดยเ

ทางเลือกอื่น ๆ

ถ้าการรักษาล้มเหลวหรือคู่สามีภรรยาไม่เหมาะสำหรับจะเข้ารับการรักษา พวกเขาต้องตัดสินใจว่าจะยอมไม่มีบุตรหรือจะพิจารณารับบุตรบุญธรรม การตัดสินใจทั้งหมดขึ้นอยู่กับคู่สามีภรรยา และพวกเขาควรเตรียมพร้อมยอมรับผลที่จะตามมาจากการตัดสินใจเลือกทางใดทางหนึ่ง

ภาวะไร้บุตร

คู่สามีภรรยาอาจใช้เวลาค้นหาสิ่งที่ตัวเองสนใจและสิ่งที่สนใจร่วมกันกับคู่สมรส ขยายวงสังคมของพวกเขา และกระชับความสัมพันธ์กับสมาชิกครอบครัวคนอื่น ๆ และเพื่อนฝูง

การรับบุตรบุญธรรม

ถ้าคู่สามีภรรยามีสุขภาพจิตและสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง พร้อมที่จะรับบุตรบุญธรรมและรับผิดชอบในฐานะพ่อแม่ไปตลอดชีวิต พวกเขาอาจพิจารณาขอรับบุตรบุญธรรมได้ สามารถขอข้อมูลเพิ่มเติมได้จากแผนกรับบุตรบุญธรรม กระทรวงสวัสดิการสังคม (http://www.swd.gov.hk/)