ข้อมูลเกี่ยวกับการฉีดคุมกำเนิดชนิดโปรเจสโตเจนเพียงอย่างเดียว (Depo-provera)
การฉีดโปรเจสโตเจนเพียงอย่างเดียว
เป็นฮอร์โมนสังเคราะห์ (โปรเจสโตเจน) ป้องกันการตั้งครรภ์โดยการป้องกันการตกไข่จากรังไข่ ทำให้มูกที่ปากมดลูกแข็งตัวขึ้นและสร้างการต่อต้านเยื่อบุโพรงมดลูกไม่ให้เกิดการปฏิสนธิ
- การฉีดโดยทั่วไป
- ควรได้รับการฉีดยาทุก ๆ 13 สัปดาห์
- หากท่านไม่สามารถไปตามนัดได้ กรุณามาที่ศูนย์สุขภาพแม่และเด็กภายใน 7 วันก่อนวันฉีด โปรดอย่าฉีดยาล่าช้ากว่าปกติ
ข้อดี
- เป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพดีมาก อัตราการตั้งครรภ์ต่ำกว่า 1% ต่อปี
- เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่ต้องการทานยาทุกวันหรือใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์
- เหมาะสมกับมารดาที่ให้นมแม่เพราะไม่ส่งผลกระทบต่อปริมาณและคุณภาพของน้ำนมและสุขภาพของทารก
- ไม่มีเอสโทรเจนและเหมาะสมกับผู้หญิงที่ไม่สามารถใช้วิธีการคุมกำเนิดที่มีสารเอสโทรเจนได้
ผลข้างเคียง
- ปวดหัว เวียนหัว เจ็บที่เต้านม และอารมณ์แปรปรวนเป็นผลข้างเคียงปกติในช่วงแรกของการใช้และมักหายไปภายในช่วงไม่กี่เดือนแรก
- ผู้หญิงอาจน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นเมื่อฉีดยาที่มีโปรเจสโตเจนเพียงอย่างเดียวเข้าไป โดยเฉลี่ยน้ำหนักจะขึ้น 2.5 กก. (5.4 ปอนด์) ในช่วงปีแรกและการเพิ่มของน้ำหนักส่วนใหญ่เกิดขึ้นในปีแรก
- ผู้หญิงส่วนมากจะมีประจำเดือนไม่ปกติ ประจำเดือนมาน้อยลงหรือมีภาวะขาดระดูซึ่งเกี่ยวข้องกับผลกระทบทางฮอร์โมนโปรเจสโตเจนและดังนั้นจึงไม่ควรกังวล หากท่านมีประจำเดือนมากและเป็นระยะเวลานานหรือมีสัญญาณการตั้งครรภ์ภายหลังได้รับการฉีด กรุณากลับมาที่ MCHC เพื่อรับการประเมิน
- โดยปกติแล้ว การกลับมาตกไข่ตามปกติใช้เวลา 6 ถึง 9 เดือนเมื่อหยุดฉีดโปรเจสโตเจนเพียงอย่างเดียว ดังนั้นต้องใช้เวลาในการกลับมาตกไข่อีกครั้งหลังจากการหยุดฉีด
- กรุณาเข้ารับการประเมินทันทีที่เป็นไปได้หากท่านมีอาการดังต่อไปนี้ เช่น ผื่นขึ้นตามตัว เป็นลม ปวดหัว รู้สึกเป็นเหน็บ/ชาด้านหนึ่งหรือส่วนหนึ่งของร่างกาย ดีซ่าน ปวดกล้ามเนื้อท้อง ปวดน่องหรือหน้าอก และแจ้งแพทย์ของท่านว่าท่านได้รับการฉีดยาโปรเจสโตเจนเพียงอย่างเดียว
ผลกระทบต่อความหนาแน่นของกระดูก
งานวิจัยจากต่างประเทศแสดงให้เห็นว่าการฉีดโปรเจสโตเจนเพียงอย่างเดียวมากกว่าสองปีนั้นเกี่ยวข้องกับการลดลงเล็กน้อยของความหนาแน่นของกระดูก หลังจากหยุดฉีด ความหนาแน่นกระดูกของผู้หญิงอายุ 18 ถึง 45 ปีจะกลับมาเหมือนเดิม ไม่มีหลักฐานว่าการฉีดโปรเจสโตเจนเพียงอย่างเดียวเพิ่มความเสี่ยงของภาวะกระดูกแตก
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาอ้างถึงแผ่นพับ "โรคกระดูกพรุนในผู้หญิง" และ "ความต้องการแคลเซียมของท่าน" ที่ได้รับการตีพิมพ์โดยบริการของเรา
การฉีดมากกว่าสองปี
หากท่านใช้การฉีดโปรเจสโตเจนเพียงอย่างเดียวมากกว่าสองปี พนักงานทางการแพทย์หรือพยาบาลของเราจะตรวจภาวะสุขภาพของท่าน (เช่น ตรวจว่าท่านเป็นโรคหัวใจ เส้นโลหิตในสมองแตก ภาวะลิ่มเลือดอุดตันที่หลอดเลือด ความดันโลหิตสูง ไมเกรน โรคเบาหวาน ภาวะไขมันในเลือดสูง โรคตับ โรคมะเร็ง กระดูกพรุน หรือโรคที่ต้องการการรักษาที่ยาวนานและการตรวจเป็นประจำหรือไม่) ก่อนจะให้คำปรึกษาว่าท่านเหมาะสมต่อการฉีดโปรเจสโตเจนต่อไปหรือไม่