ข้อมูลเกี่ยวกับยาคุมกำเนิดผสมแบบยาเม็ดสำหรับรับประทาน

(Content revised 06/2013)
  1. ข้อมูลภูมิหลัง
    • ยาคุมกำเนิดผสมแบบยาเม็ดสำหรับรับประทาน (COC) จะมีฮอร์โมนสังเคราะห์สองประเภท - เอสโตรเจน และโปรเจสโตรเจน มันทำงานด้วยการยับยั้งการตกไข่
    • มันมีประสิทธิผลมากและมีอัตราความล้มเหลวอยู่ที่ต่ำกว่า 1% หากใช้อย่างเหมาะสม
    • อาจเป็นช่วงควบคุม 21 วัน วึ่งยาคุมทุกเม็ดจะมีฮอร์โมนและผู้รับประทานยาต้องระงับการใช้เป็นเวลา 7 วัน หลังจากรับประทานหมดแพ็ค หรือเป็นช่วง 28 วันซึ่งมีการใช้ยาคุมจากช่วง 21 วัน ตามด้วยยาหลอก 7 เม็ด แล้วให้ผู้รับประทานยาทานเริ่มแพ็คใหม่ได้ทันทีหลังจากจบช่วง 28 วัน ประจำเดือนมักจะมาช่วง 7 วันที่ไม่ได้รับประทานยา หรือตอนที่คุณรับประทานยาหลอก
    • ผู้รับบริการควรปรึกษาแพทย์ก่อนเริ่มการทานยาคุมกำเนิด
  2. กระบวนการการจ่ายยา
    • สตรีควรรับประทานยาภายใน 5 วันหลังจากมีประจำเดือนและจำเป็นต้องใช้ถุงยางอนามัยเป็นการป้องกันเสริม 7 วัน
    • บริโภคยาเวลาเดิมทุกวัน
  3. ผลข้างเคียง
    • สตรีบางรายจะมีอาการ คลื่นไส้, อาเจียน, เวียนหัว, ปวดหัว, มีเลือดออกที่เต้านม หรือมีน้ำหนักขึ้น ฯลฯ หลังจากที่เริ่มรับประทานยา COC ได้ไม่นาน อาการเหล่านี้ส่วนใหญ่จะหมดไปหลังจากสองสามสัปดาห์
  4. กรุณาเข้ารับการประเมินทางแพทย์ทันทีที่สามารถทำได้และแจ้งให้แพทย์ผู้ประเมินทราบว่าคุณรับประทานยาคุมกำเนิดแบบรวมอยู่ หากคุณมีอาการดังต่อไปนี้ :
    • หน้ามืดอย่างรุนแรง หรือหมดสติ, ปวดหัวอย่างรุนแรง, มีอาการผิดปกติทางสายตาข้างใดข้างหนึ่ง (โดยเฉพาะ ขอบเขตการมองเห็นลดลง หรือเห็นภาพเบลอ), พูดไม่ชัด, รู้สึกอ่อนเพลียหรือประสาทสัมผัสเพียนที่ร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่ง, ขาดอากาศโดยไม่มีสาเหตุโดยอาจมีไปเป็นเลือดด้วย, รู้สึกเจ็บบริเวณกลางหน้าอกอย่างรุนแรง หรืออาการเจ็บแปล๊บที่หน้าอกฝั่งใดฝั่งหนึ่งจากการหายใจ, รู้สึกปวดท้องหรือน่องอย่างรุนแรง (ไม่เกี่ยวข้องกับการล้าหลังจากออกกำลังกาย), ความดันเลือดสูง หรือดีซ่าน
  5. กรุณากลับไปยังศูนย์สุขภาพแม่และเด็ก (MCHC) สำหรับการวิเคราะห์ความเหมาะสมในการใช้ยาคุมกำเนิดสำหรับคุณ หากคุณมีอาการดังต่อไปนี้:
    • มีอาการใดๆ ที่แสดงถึงการตั้งครรภ์
    • เพิ่งตรวจพบว่าเป็นโรคหัวใจ, เส้นเลือดอุดตัน, เบาหวาน, ภาวะคอเลสเตอรอลสูงในเลือด, โรคลิ่มเลือดในหลอดเลือด, โรคมะเร็ง หรือโรคทางอายุรกรรมและศัลยกรรมอื่นๆ ที่ตรวจพบ
    • การมีโรคเรื้อรัง (เช่นโรคเบาหวาน, ความดันโลหิตสูง) หรือกำลังอยู่ระหว่างการำบัดด้วยยาในระยะยาว (เช่น ยาต้านโรคลมชัก, ยาต้านอาการซึมเศร้า)
    • แผนสำหรับการผ่าตัด
    • คนในครอบครัวมีประวัติโรคหัวใจ, เส้นเลือดอุดตัน, โรคลิ่มเลือดคั่งในปอด หรือโรคอื่นๆ
  6. ยาคุมกำเนิดและภาวะลิ่มเลือดในหลอดเลือด
    • มีความเสียงต่อโรคลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดไม่ว่าคุณจะรับประทานยาหรือไม่ สตรีที่รับประทานยาคุมกำเนิดจะมีความเสี่ยงต่อภาวะเลือดคั่งในเส้นเลือดสูงกว่าสตรีปกติรายอื่น แต่ยังอยู่ในระดับต่ำกว่าของสตรีที่ตั้งครรภ์
    • จากการศึกษาพบว่าสตรีที่รับประทานยาคุมกำเนิดมีความเสี่ยงต่อภาวะลิ่มเลือดอุดตันในเส้นเลือดหรือหลอดเลือดโลหิตแดงสูงขึ้น ในกรณีที่ร้ายแรงอาจก่อให้เกิดลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดที่อยู่ลึก, ลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดปอด, เส้นเลือดไปเลี้ยงสมองอุดตัน และโรคหัวใจ
    • สตรีที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันในเส้นเลือดหรือหลอดเลือดโลหิตแดง อาจไม่เหมาะสำหรับการใช้ยาคุมกำเนิดแบบรับประทาน
      • สตรีที่มีคุณสมบัติต่อไปนี้มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันในเส้นเลือดสูง: น้ำหนักเกิน, สูงอายุ, อัมพฤกษ์หรืออัมพาต, ตั้งครรภ์ หรือมีประวัติคนในครอบครัวที่มีภาวะเส้นเลือดอุดตัน
      • สตรีที่มีคุณสมบัติต่อไปนี้มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดแดง: เป็นโรคหัวใจ, ความดันเลือดสูง, ภาวะเลือดมีคอเลสเทอรอลมาก, โรคเบาหวาน, สูบบุหรี่, สูงอายุ หรือมีประวัติคนในครอบครัวที่มีภาวะหลอดเลือดแดงอุดตัน
  7. ยาคุมยาคุมกำเนิดและโรคมะเร็ง
    • โรคมะเร็งอาจเกิดขึ้นได้ไม่ว่าคุณจะรับประทานยาคุมกำเนิดหรือไม่
    • โรคมะเร็งรังไข่ และมะเร็งเยื่อบุปากมดลูก จากการศึกษาพบว่าสตรีที่รับประทานยาคุมกำเนิดมีอัตราความเสี่ยงต่อมะเร็งรังไข่และมะเร็งเยื่อบุมดลูกลดลง 40% ถึง 50%
    • มะเร็งเต้านม: จากการศึกษาพบว่าสำหรับสตรีในกลุ่มอายุเดียวกัน ผู้ที่รับประทานยาคุมมีอัตราการเกิดมะเร็งเต้านมเท่ากันจนถึงสูงกว่าเล็กน้อยกับผู้ที่ไม่รับประทานยาคุมกำเนิด ภายหลังจากที่เลิกรับประทานยาคุมกำเนิดอัตราความเสี่ยงจะค่อยๆ ลดลง และมีความเสี่ยงต่อมะเร็งเต้านมเท่ากับผู้ที่ไม่ได้รับประทานยาคุมกำเนิดเป็นเวลา 10 ปี
    • มะเร็งปากมดลูก: สตรีที่รับประทานยาคุมกำเนิดจะมีความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งปากมดลูกสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังไม่พบหลักฐานที่แน่ชัดว่าอัตราความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งปากมดลูกนั้น แปรผันโดยตรงจากการรับประทานยาคุมกำเนิด หรือการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเด็ก หรือจากประวัติของโรคติดต่อทางเพศ หรือการมีคู่ร่วมมีเพศสัมพันธ์หลายคน
  8. หมายเหตุสำหรับกรณีที่ขาดการประทานยา
  9. ขาดการรับประทานยาปรับฮอร์โมน 1 ครั้ง

      • กรุณารับประทานยาส่วนของเมื่อวานทันที
      • และรับประทานยาส่วนที่เหลือตามกำหนดการปกติ

    ขาดการรับประทานยาปรับฮอร์โมน 2 ครั้ง

      • กรุณารับประทานยาส่วนของเมื่อวานทันที (ทิ้งยาคุมกำเนิดส่วนที่ไม่ได้ทานในวันแรกสุดไป)
      • และรับประทานยาส่วนที่เหลือตามกำหนดการปกติ
      • ใช้ถุงยางอนามัยเป็นการคุมกำเนิดสำรองในช่วง 7 วันสำหรับป้องกันการตั้งครรภ์
      • กรุณากลับไปยัง MCHC ทันทีที่ทำได้เพื่อรับคำแนะนำและการประเมินความจำเป็นสำหรับการใช้การคุมกำเนิดฉุกเฉิน

    ขาดการรับประทานยาส่วนที่ผ่านระยะเวลาใช้งาน

      • ให้ทิ้งยาส่วนที่ผ่านระยะเวลาใช้งาน และรับประทานยาตามปกติต่อไป

    ก่อนที่จะขอคำแนะนำทางการแพทย์ กรุณาบันทึกสิ่งต่อไปนี้ให้ชัดเจน

    1. วันที่แน่นอนของวาคุมกำเนิดที่ไม่ได้ทาน
    2. วันที่มีเพศสัมพันธ์ระห่างช่วงการขาดยา และช่วง 2 สัปดาห์ก่อนหน้าการดำเนินการต่อ
  10. การรับประทานยาอื่น
    • กรุณาแจ้งแพทย์ของคุณว่าคุณกำลังรับประทานยาคุมกำเนิดก็หน้าการเริ่มใช้ยาอื่นๆ เนื่องจากยาบางตัวอาจส่งผลต่อประสิทธิภาพของยาคุมกำเนิด

หากคุณมีคำถามใดๆ กรุณาขอคำแนะนำจากแพทย์ประจำครอบครัวของคุณ

หรือกลับไปที่ MCHC เพื่อขอคำแนะนำ