ข้อมูลสำหรับผู้ใช้ห่วงอนามัย
(เนื้อหาปรับปรุงใหม่ 02/2019)
1. ห่วงอนามัย (IUD)
- IUD คืออุปกรณ์ขนาดเล็กซึ่งใช้เป็นวิธีการคุมกำเนิดปกติ มีประสิทธิภาพดีมากและอัตราความล้มเหลวอยู่ที่ประมาณ 1 % ในปีแรก
- งานวิจัยแสดงให้เห็นว่า อัตราการเจริญพันธุ์ระหว่างผู้ที่ไม่ใช้ IUD และอดีตผู้ใช้ IUD นั้นใกล้เคียงกัน
- แพทย์จะใส่ห่วงอนามัยในมดลูก ก่อนการสวมใส่ แพทย์จะตรวจสอบประวัติการเข้ารับการรักษาและตรวจสอบกระดูกเชิงกรานของท่านเพื่อหาความเหมาะสมต่อการใช้งาน IUD หลังจากการใส่ท่านต้องมารับการตรวจเป็นประจำ
- ศูนย์สุขภาพแม่และเด็ก (MCHC) ใช้ IUD สองประเภท คือ ประเภท "T" และประเภท "Umbrella" ทั้งสองประเภทมีเส้นด้ายที่ฐานสำหรับการตรวจสอบด้วยตนเองหรือการตรวจสอบโดยแพทย์และสำหรับการถอดออกในอนาคต
- ประเภท "T" ต้องเปลี่ยนทุก 5 ถึง 10 ปีตามรูปแบบ ในขณะที่ประเภท "Umbrella" ต้องเปลี่ยนทุก 5 ปี
2. IUD ทำงานอย่างไร
Copper IUD ชนิดทองแดงสามารถเปลี่ยนสภาพแวดล้อมของมดลูก แทรกแซงการเคลื่อนไหวของอสุจิและลดโอกาสการเกิดการการปฏิสนธิ ยิ่งไปกว่านั้น การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมของมดลูกสามารถส่งผลกระทบต่อไข่ที่ตกจากการติดผนังมดลูกดังนั้นจึงป้องกันการตั้งครรภ์
3. ใครที่ไม่เหมาะกับการใช้ IUD
ผู้หญิงส่วนมากสามารถใช้ IUD ได้ ปรึกษาแพทย์ของท่านหากท่านมีภาวะดังต่อไปนี้:
- มีประจำเดือนมากหรือปวดประจำเดือนมากหรือเลือดออกจากอวัยวะเพศอย่างผิดปกติ
- ภาวะโลหิตจางอย่างรุนแรง
- แพ้ทองแดง (IUD ที่ MCHC ใช้ประกอบด้วยทองแดง)
- กายวิภาคของมดลูกผิดปกติ (เช่น ภาวะมดลูกแฝด ภาวะมดลูกเจริญผิดปกติแต่กำเนิด)
- มีประวัติโรคทางนรีเวชศาสตร์ (เช่น ภาวะติดเชื้อในมดลูกหรืออุ้งเชิงกราน เนื้องอก การตั้งครรภ์นอกมดลูก การติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์)
- มีคู่นอนหลายคน (มีโอกาสสูงที่จะมีภาวะติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน)
- มีปัญหาโรคหัวใจ เช่น โรคลิ้นหัวใจ
4. ความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนที่เป็นไปได้
ไม่มีรายการความเสี่ยงหรือภาวะแทรกซ้อนที่แน่นอนที่เกี่ยวข้องกับการใช้ IUD (ซึ่งรวมถึงกระบวนการระหว่างการสวมใส่หรือการถอดออก) ภาวะแทรกซ้อนอาจปรากฏขึ้นแม้ว่าจะมีกระบวนการสวมใส่และถอด IUD ออกอย่างเหมาะสม เมื่อใดก็ตามที่เกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้น ผู้หญิงอาจต้องถูกส่งต่อไปที่แผนกอุบัติเหตุและเหตุฉุกเฉิน (A&E) หรือคลินิกผู้ป่วยนอกโรคเฉพาะทาง (SOPC) สำหรับการประเมินและการจัดการเพิ่มเติม กระบวนการผ่าตัดอาจจำเป็นสำหรับภาวะแทรกซ้อนบางอาการ
4.1 กระบวนการระหว่างการสวมใส่
- เป็นลมหรือวูบ (อาการหน้ามืดเป็นลม)
- ระหว่างการกระบวนการสวมใส่ ผู้หญิงส่วนน้อยอาจเป็นลมหรือวูบเนื่องจากความเจ็บปวดหรืออาการวิตกกังวล
- เป็นภาวะที่หาได้ยากและมักเป็นอาการที่ไม่หนักมาก
- มดลูกทะลุ
- ประมาณหนึ่งถึงสองจากทุก ๆ การสวมใส่ 1000 ครั้ง
- ความเสี่ยงของมดลูกเป็นรูนั้นเพิ่มขึ้นอย่างอิสระในผู้หญิงต่อไปนี้:
- ผู้ที่ให้นมแม่ในช่วงการสวมใส่ห่วงอนามัย
- สวมใส่ห่วงอนามัยภายใน 36 สัปดาห์หลังคลอด
4.2 ขณะใช้งาน
- ผลกระทบต่อประจำเดือน
- อาจมีประจำเดือนมาก นาน และปวดประจำเดือนมาก
- ภาวะติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน
- แม้ว่าจะพบได้ยาก แต่ความเสี่ยงของภาวะการติดเชื้อในอุ้งเชิงกรานนั้นเพิ่มขึ้นในช่วงสวมใส่ห่วงอนามัย 3 สัปดาห์แรกเมื่อเทียบกับผู้หญิงที่ไม่ได้สวมใส่ห่วงอนามัย
- การหลุดออกของ IUD
- ผู้ใช้ประมาณ 5%
- ระหว่างการมีประจำเดือนและโดยทั่วไปในช่วง 3 เดือนแรกหลังจากสวมใส่ IUD
- ไม่รู้สึกถึงเส้นด้าย IUD หมายความว่า:
- เส้นด้ายหลุดออกมา
- อุปกรณ์เคลื่อนที่ออกจากตำแหน่ง
- อุปกรณ์หลุดออกมา
- อุปกรณ์เจาะมดลูกเป็นรูและเคลื่อนที่ไปยังช่องท้อง
- การตั้งครรภ์นอกมดลูก
- ความเสี่ยงของผู้หญิงที่ใช้งาน IUD นั้นต่ำกว่าผู้หญิงที่ไม่ได้ใช้การคุมกำเนิดใด ๆ
- สำหรับผู้ใช้ IUD เป็นเรื่องสำคัญที่จะปรึกษาผู้ให้การบริการสุขภาพเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์นอกมดลูกอย่างทันท่วงทีหากคาดว่าตนตั้งครรภ์ สาเหตุคืออุปกรณ์นั้นมีประสิทธิผลต่อการป้องกันการตั้งครรภ์ภายในโพรงมดลูกอย่างมากแต่มีประสิทธิผลน้อยต่อการตั้งครรภ์นอกมดลูก
- ความเสี่ยงและผลข้างเคียงต่อไปนี้อาจเกิดขึ้นโดยไร้สาเหตุขณะที่ใช้ IUD:
- ด้าย IUD เสียหาย
- อุปกรณ์ IUD เสียหาย
- มดลูกหรือปากมดลูกเป็นรูบางส่วนหรือทั้งหมด
4.3 กระบวนการระหว่างการถอดออก
- แพทย์จะถอด IUD ออกโดยการจับที่ด้ายที่ติด ความเสี่ยงและผลข้างเคียงต่อไปนี้อาจเกิดขึ้นระหว่างกระบวนการถอดออก:
- ด้าย IUD เสียหาย
- อุปกรณ์ IUD เสียหาย
- มดลูกหรือปากมดลูกเป็นรู
- ผู้หญิงอาจถูกส่งต่อไปที่ A & E หรือ SOPC สำหรับการประเมินและการจัดการต่อไป อาจมีกระบวนการผ่าตัดสำหรับผลข้างเคียงบางประเภท
- อาจรู้สึกปวดท้องเล็กน้อยและเลือดออกที่อวัยวะเพศเล็กน้อยภายในสองถึงสามวันหลังจากนำอุปกรณ์ออก
5. กระบวนการสวมใส่
- ก่อนการสวมใส่อุปกรณ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจะอธิบายเกี่ยวกับกระบวนการสวมใส่และความเสี่ยงและผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น ดังนั้น ท่านจำเป็นต้องเซ็นต์ยินยอมแบบฟอร์มสำหรับกระบวนการ
- แพทย์จะตรวจสอบอุ้งเชิงกรานและจะใส่อุปกรณ์ชิ้นเล็กในมดลูกของท่านเพื่อตรวจสอบขนาดโพรงมดลูกเพื่อความเหมาะสมต่อการสวมใส่ (โพรงมดลูกที่ใหญ่หรือเล็กเกินไปไม่เหมาะสมต่อการสวมใส่อุปกรณ์ IUD) หากโพรงมดลูกมีขนาดที่เหมาะสม แพทย์จะสวมใส่อุปกรณ์เข้าไปในมดลูกโดยการใช้ท่อ
- ด้ายที่ฐานของอุปกรณ์ IUD จะถูกตัดเพื่อให้ด้ายอยู่นอกปากมดลูก 2 ถึง 3 ซม. ซึ่งสามารถตรวจด้วยตนเองหรือตรวจโดยแพทย์และสำหรับการนำออกในอนาคต
6. หมายเหตุหลังจากการสวมใส่
- ท่านต้องหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์หรือใช้ถุงยางอนามัยในช่วงสัปดาห์แรกหลังการสวมใส่เพื่อลดความเสี่ยงของการติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน
- อุปกรณ์อาจหลุดระหว่างการมีประจำเดือน ดังนั้นท่านควรตรวจสอบว่าเส้นด้าย IUD ยังอยู่กับที่หลังจากหมดประจำเดือนหรือไม่โดยการใช้นิ้วสอดเข้าไปในอวัยวะเพศ หากท่านไม่รู้สึกถึงเส้นด้าย IUD กรุณาปรึกษาผู้ให้การบริการสุขภาพสำหรับการประเมินทันที ในขณะเดียวกัน ท่านต้องหยุดการมีเพศสัมพันธ์หรือใช้วิธีการป้องกันเพิ่มเติม เช่น ถุงยางอนามัย
- ท่านต้องเข้ารับการตรวจรวมถึงการตรวจอุ้งเชิงกรานในช่วงสัปดาห์ที่ 6 เดือนที่ 6 และจากนั้นทุก ๆ ปีหลังจากการสวมใส่เพื่อทำให้แน่ใจว่า IUD ไม่เคลื่อนที่หรือหลุดออก
- ต้องนำ IUD ออกภายใน 1 ถึง 2 ปี หลังจากถึงอายุช่วงหมดประจำเดือน
7. กลับมาที่ MCHC หรือปรึกษาผู้ให้การบริการสุขภาพทันทีหากท่านมีอาการดังต่อไปนี้
- มีประจำเดือนช้า ประจำเดือนขาดหรือมามาก เลือดออกจากอวัยวะเพศเป็นเวลานานหรือเลือดออกจากอวัยวะเพศในช่วงระหว่างประจำเดือน (ภาวะเลือดออกระหว่างรอบประจำเดือน)
- สงสัยว่าตั้งครรภ์หรือยืนยันว่าตั้งครรภ์แล้ว
- ปวดหน้าท้องอย่างผิดปกติหรือรุนแรง
- อวัยวะเพศหญิงมีกลิ่นเหม็นหรือมีหนอง
- ไม่รู้สึกถึงด้ายของ IUD
- สงสัยว่า IUD เคลื่อนที่หรือหลุดออก
- ท่านหรือคู่ครองของท่านรู้สึกถึง IUD ระหว่างการมีเพศสัมพันธ์