เธอตั้งครรภ์! ฉันจะต้องดูแลความรู้สึกของหญิงมีครรภ์อย่างไร

(HTML เนื้อหาปรับปรุงใหม่ 11/2019)

ดัชนี

เธอตั้งครรภ์ ...

  • สำหรับผู้ที่กำลังเป็นพ่อ

    ท่านอาจมีความกังวลเกี่ยวกับสุขภาพและความปลอดภัยระหว่างครรภ์ของภรรยา

  • สำหรับพ่อมือใหม่

    ท่านอาจไม่มีเวลาดูแลอารมณ์ของภรรยาหรือของตนเองเลย เนื่องจากท่านใช้เวลาหมดไปกับการดูแลลูกน้อยของท่าน

  • สำหรับปู่ย่าตายาย

    ท่านสามารถเลือกเตรียมอาหารที่มีคุณค่าทางอาหารให้สำหรับแม่มือใหม่ได้

  • สำหรับเพื่อน

    ท่านสามารถกล่าวบอกให้แม่มือใหม่พักผ่อนให้เพียงพอ

ไม่ว่าท่านจะเป็นสมาชิกในครอบครัวหรือเป็นเพื่อน การดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิตของผู้เป็นแม่หลังการคลอดล้วนเป็นสิ่งที่สำคัญ

งานวิจัยพบว่าหากแม่ของเด็กรักษาสภาพร่างกายและจิตใจให้แข็งแรงตลอดการตั้งครรภ์ เธอจะสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงของร่างกายและด้านอารมณ์ระหว่างการตั้งครรภ์ และยังรับมือกับความเครียดในระหว่างขั้นตอนการเลี้ยงทารกเพิ่งคลอด ทารกในครรภ์จะมีพัฒนาการที่ดีและเติบโตไปเป็นเด็กที่มีอารมณ์และพฤติกรรมที่คงที่หากในระหว่างครรภ์มีแม่ที่รักษาสุขภาพกายและจิตใจให้ดีได้ นอกจากนี้จะทำให้ผู้ที่เป็นพ่อสามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงหลังบุตรคลอดได้ ดังนั้นจึงทำให้พ่อแม่มือใหม่สร้างครอบครัวที่มีความสุขและมีสุขภาพที่ดีด้วยกัน

จุลสารนี้จะช่วยให้ท่านเข้าใจการเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจที่แม่ของเด็กจะต้องรับมือในระหว่างและหลังการตั้งครรภ์ และจะช่วยให้วิธีการขอความช่วยเหลือหากจำเป็น

หนทางจากการตั้งครรภ์สู่การคลอด

ตั้งแต่การตั้งครรภ์สู่การคลอด ความคิดและอารมณ์ของผู้ที่เป็นพ่อและแม่จะสามารถแสดงออกมาได้หลายรูปแบบ ทั้งแง่บวกและแง่ลบ อารมณ์และความคิดเหล่านี้ล้วนเป็นเรื่องธรรมชาติและไม่มีถูกหรือผิด

จุดเริ่มต้น: เรากำลังจะมีลูก!

  • มีความคาดหวังอย่างกระตือรือล้น (ในที่สุดความรักของเราก็เกิดผลสักที!)
  • รำคาญ (แม่ยายบอกว่า "เธอควร..."; ฉันไม่ควรกินใช่ไหม... ฉันควรทานอาหารที่มีประโยชน์กว่านี้ใช่ไหม...)
  • เครียด (จะได้คลอดแบบไหน คลอดโดยธรรมชาติหรือผ่าท้องคลอด; ฉันจะเลี้ยงลูกเองหรือจะให้แม่ยายเลี้ยง; ฉันควรจ้างแม่บ้านหรือพี่เลี้ยงเด็กหรือไม่)

ฉันกำลังจะคลอด!

  • ดีใจ (ภรรยาของฉันกำลังนำพาชีวิตใหม่มาสู่โลก ซึ่งเป็นภาระที่หนักมากแต่เธอกำลังทำได้ดีมาก)
  • ตื่นเต้น (หลังจากการรอที่เนิ่นนาน ลูกน้อยของฉันได้ลืมตาดูโลกสักที)

บุตรคลอดแล้ว!

  • ดีใจ (ดูสิลูกยิ้มอยู่ ดูสิลูกขยับตัว)
  • คิดถึงลูกน้อย (ฉันอดไม่ได้ที่จะได้เลิกงานกลับไปเจอลูก)
  • หงุดหงิด (ทำไมลูกฉันร้องไห้ตลอดเวลา ลูกไม่หยุดร้องไห้ไม่ว่าจะทำอย่างไร)
  • สับสนและหมดหนทาง (ผู้คนแนะนำเกี่ยวกับการเลี้ยงดูทารกหลายอย่างมาก การดูแลเด็กทารกไม่ง่ายอย่างแน่นอน!)
  • กังวล (ชีวิตฉันกลับตาลปัตรไปหมด ฉันไม่มีเวลาและพื้นที่ให้กับตัวเองเลย)
  • ผิดหวัง (หลังจากคลอดลูกแล้ว ภรรยาของฉันดูเหมือนจะไม่สนใจการมีเพศสัมพันธ์เลย...)

เวลาผ่านไปเร็วมาก ลูกของเราอายุหลายเดือนแล้ว

  • พอใจ (ลูกน้อยอายุ 6 เดือนแล้ว เธอโต้ตอบได้น่ารักมาก!)
  • อบอุ่นใจ (แม้ว่าการดูแลลูกเป็นเรื่องท้าทายอย่างมาก การดูลูกเติบโตขึ้นก็คุ้มค่ากับการเลี้ยงดูและความลำบากที่ผ่านมา ความท้าทายเหล่านี้ก็หายไปหมด)

ความเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ระหว่างฝากครรภ์

พ่อ: ภรรยาและผมอยากมีลูกมาตลอด เธอมีภาวะซึมเศร้าได้อย่างไรกัน

แม่: ฉันรู้เรื่องเกี่ยวกับภาวะซึมเศร้าหลังคลอดมาก่อน แต่ไม่เคยรู้เกี่ยวกับภาวะซึมเศร้าระหว่างตั้งครรภ์เลย

  • การตั้งครรภ์มีอะไรให้ตื่นเต้นมากมาก และทำให้มีการรอคอย อย่างไรก็ตามเราไม่ควรมองข้ามอารมณ์ที่ผู้เป็นมารดาต้องเผชิญในขั้นต่าง ๆ ของการตั้งครรภ์และหลังการคลอด อารมณ์เหล่านี้อาจมีทั้งความกังวล ความสับสน ความรู้สึกหมดหนทาง และความหงุดหงิด
  • นอกจากภาวะซึมเศร้าหลังคลอดแล้ว ผู้เป็นแม่ยังประสบปัญหาทางอารมณ์ในช่วงกำลังตั้งครรภ์อีกด้วย
  • มาเรียนรู้เรื่องปัญหาทางอารมณ์และผลกระทบของปัญหาทางอารมณ์ และเรียนรู้เรื่องการดูแลสุขภาพจิตของผู้ที่เป็นแม่ระหว่างตั้งครรภ์

ปัญหาทางอารมณ์ระหว่างการตั้งครรภ์

  • หญิงมีครรภ์มักมีการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ และได้รับรู้ถึงความไม่สบายตัวจากการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ ฉะนั้นหญิงมีครรภ์จะต้องปรับการใช้ชีวิตให้เหมาะสม การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตเหล่านี้อาจส่งผลต่ออารมณ์ หลายคนอาจกังวลเกี่ยวกับพัฒนาการของทารก หรือกังวลเกี่ยวกับการเลี้ยงดูบุตรหลังจากการคลอด แม่บางคนอาจมีอารมณ์แปรปรวนในตลอดการตั้งครรภ์ ดังนั้นจึงสำคัญมากที่เพื่อนและครอบครัวจะใส่ใจกับอารมณ์ของผู้เป็นแม่
  • โดยทั่วไปนั้น ผู้คนจะมีการตอบสนองด้านอารมณ์ต่อความเปลี่ยนแปลงในชีวิตเป็นปกติ แต่หากมีอารมณ์ที่เป็นลบ หรือเครียด กังวลเป็นเวลามากกว่า 2 สัปดาห์ และส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของแม่มีครรภ์แล้ว อาจหมายความว่าผู้นั้นมีภาวะซึมเศร้าในช่วงระหว่างตั้งครรภ์

ผลกระทบของปัญหาด้านอารมณ์ในช่วงระหว่างตั้งครรภ์

  • หากผู้หญิงประสบปัญหาด้านอารมณ์ ปัญหาเหล่านี้อาจส่งผลต่อภาวะจิตใจ การใช้ชีวิตแต่ละวัน ประสิทธิภาพการทำงาน หรือแม้แต่ส่งผลต่อความสัมพันธ์กับคู่ครอง
  • ปัญหาด้านอารมณ์ในช่วงระหว่างตั้งครรภ์สามารถมีผลต่อพัฒนาการของตัวอ่อนในครรภ์ด้วย หญิงมีครรภ์ที่มีภาวะซึมเศร้าในช่วงระหว่างตั้งครรภ์จะมีแนวโน้มที่จะเกิดการแท้งหรือการคลอดก่อนกำหนด นอกจากนั้นงานวิจัยพบว่าแม่ที่มีภาวะซึมเศร้าหรือวิตกกังวลในช่วงระหว่างตั้งครรภ์จะมีแนวโน้มให้กำเนิดบุตรที่มีปัญหาการควบคุมอารมณ์ และปัญหาการควบคุมพฤติกรรม
  • และมารดาที่มีภาวะซึมเศร้าหรือวิตกกังวลในช่วงระหว่างตั้งครรภ์จะมีแนวโน้มเกิดภาวะซึมเศร้าหลังคลอดต่อมากขึ้น

การดูแลหญิงมีครรภ์:

ครอบครัวและเพื่อนไปที่บท "การระบุล่วงหน้า" และ "การป้องกันภาวะซึมเศร้าก่อนคลอดและหลังคลอด" สำหรับรายละเอียดเรื่องสุขภาพอารมณ์ของผู้เป็นแม่

ความเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์หลังคลอด

แม่ ก.: ฉันรู้สึกเหนื่อยตลอดเวลาและกินอาหารไม่ลง... บางครั้งฉันกังวลว่าลูกจะกินไม่พอหรือรู้สึกไม่สบาย... นี่ฉันเผชิญกับภาวะซึมเศร้าหลังคลอดหรือเปล่า

แม่ ข.: ฉันสบายดี ทุกคนรู้สึกไม่สบายใจและโมโหง่ายหลังคลอด ส่วนฉันแค่ต้องการนอนหลับและพักผ่อน ฉันจะรู้สึกสบาย

  • การมีอารมณ์แปรปรวนหลังคลอดถือเป็นเป็นเรื่องปกติหรือไม่ มีในระดับไหนจึงเรียกได้ว่าเป็นภาวะซึมเศร้าหลังคลอด อาการของภาวะซึมเศร้าหลังคลอดมีอะไรบ้าง
  • มาเรียนรู้เกี่ยวกับความบ่อยของโรค อาการ และการจัดการปัญหาทางอารมณ์ต่าง ๆ หลังคลอด

แม่มีความเสี่ยงสูงในการเผชิญปัญหาทางอารมณ์เนื่องจากเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน บทบาทหน้าที่ ความท้าทายในการดูแลทารกและปัญหาครอบครัวหลังการคลอด

ปัญหาทางอารมณ์หลังคลอดมี 3 ประเภท:

  1. ภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอด
  2. ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด
  3. โรคจิตหลังคลอด

แต่ละประเภทมีความบ่อยของโรค อาการ ระดับความรุนแรง และการจัดการต่างกัน

  1. ภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอด
    • การผันแปรของอารมณ์มีผล 40 - 80% ในหญิงตั้งครรภ์
    • มักปรากฏ 3 - 5 วันหลังการให้กำเนิดทารก
    • อาการรวมถึงการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ ร้องไห้บ่อยครั้ง นอนไม่หลับ และโมโหง่าย เป็นอาการชั่วคราวและไม่รุนแรง

    การจัดการ: อาการมักหายไปเองภายในไม่กี่วันจากการดูแลและช่วยเหลืออย่างเหมาะสม

  2. ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด
    • ความบ่อยของโรคภาวะซึมเศร้าหลังคลอดทั่วโลกอยู่ที่ 13 - 19% ในประเทศฮ่องกงหญิงตั้งครรภ์หนึ่งในสิบเผชิญภาวะซึมเศร้าหลังคลอด
    • อารมณ์ซึมเศร้าหลังคลอดอาจปรากฏอย่างไม่มีสาเหตุ
      และอาจมีอาการรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ อาการเริ่มต้น มักปรากฏใน 6 สัปดาห์ แต่ยังสามารถปรากฏได้ในหนึ่งปีหลังคลอด
    • หากอาการเหล่านี้ปรากฏนานเกิน 2 สัปดาห์ ความเป็นไปได้ในการเผชิญภาวะซึมเศร้าหลังคลอดนั้นสูง:
      • อารมณ์ไม่ดีเกือบทั้งวัน ทุกวัน เช่น รู้สึกซึมและเศร้า ร้องไห้แบบไม่มีสาเหตุชัดเจน
      • ไม่สนใจสิ่งที่เคยสนใจ (กระทั่งไม่สนใจทารก)
      • ไม่อยากอาหาร
      • นอนไม่หลับหรือตื่นแต่เช้า
      • เหนื่อยล้าและไม่มีแรงเกือบทั้งวัน
      • ไม่มีสมาธิและตัดสินใจลำบาก
      • รู้สึกผิด ไร้ค่า และหมดหวัง
      • มีความวิตกกังวลและโมโหง่ายมากเกินไป

    การจัดการ: หากตรวจพบอาการล่วงหน้าพร้อมการรักษาทันเวลาและการช่วยเหลือจากครอบครัว ผู้เป็นมารดาส่วนมากสามารถฟื้นตัวจากภาวะซึมเศร้าได้

  3. โรคจิตหลังคลอด
    • นี่เป็นอาการที่พบยาก มีเพียง 0.1 - 0.5% ของหญิงตั้งครรภ์
    • อาการมักรุนแรงและปรากฏฉับพลันใน 2 สัปดาห์หลังคลอด
    • มีอาการหลัก ๆ 3 ประเภท:
      • อาการประสาทหลอน (ได้ยินเสียงที่ไม่มีอยู่)
      • ความคิดผิดปกติเพราะกลัวคนอื่นจะมาทำร้าย
      • คิดทำร้ายตนเองหรือทำร้ายทารก

    การจัดการ: โรคจิตหลังคลอดคืออาการทางจิตฉุกเฉิน จำเป็นต้องได้รับการตรวจโดยจิตแพทย์หรือเข้าตรวจที่แผนกอุบัติเหตุและเหตุฉุกเฉินของโรงพยาบาลอย่างเร่งด่วน

ปัจจัยเสี่ยงหลักของภาวะซึมเศร้าหลังคลอด

พ่อ ก.: ภรรยาผมเคยมีภาวะซึมเศร้าหลังคลอด ตอนนี้เธอท้องอีกครั้ง เธอจะกลับมามีอาการอีกไหม

ย่า: ลูกสาวฉันเป็นคนแข็งแรงเสมอ ฉันคิดว่าเธอไม่มีภาวะซึมเศร้าหลังคลอดหรอก

พ่อ ข.: แม่ของผมกำลังมาช่วย และเรามีพี่เลี้ยงและคนรับใช้ เรามีความช่วยเหลือมากมาย อีกทั้งเราไม่กังวลเรื่องเงินเลย แล้วภรรยาผมจะเผชิญกับภาวะซึมเศร้าไหม

  • ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดไม่มีสาเหตุแน่ชัด การวิจัยพบว่ามีปัจจัยหลายประการที่สามารถเพิ่มความเสี่ยงภาวะซึมเศร้าหลังคลอดในมารดา
  • บางปัจจัยสามารถป้องกัน หรือจัดการผ่านการระบุล่วงหน้าและการดูแลอย่างเหมาะสม
  • มาดูปัจจัยเสี่ยงหลักของภาวะซึมเศร้าหลังคลอดกัน

ปัจจัยทางคลินิก

  • ประวัติการป่วยทางจิตรวมถึงภาวะซึมเศร้าและโรควิตกกังวล
  • อาการซึมเศร้าหรือวิตกที่ปรากฏขณะตั้งครรภ์

ปัจจัยทางจิตสังคม

  • แนวโน้มลักษณะการเป็นโรควิตกกังวล
  • ขาดการสนับสนุนทางสังคม
  • ปัญหาสำคัญของชีวิตคู่
  • ปัญหาสำคัญของสามีภรรยา
  • ความรุนแรงในครอบครัว
  • ปัญหาทางการเงิน

ปัจจัยเกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์ การคลอด และทารก

เช่น

  • โรคแทรกซ้อนก่อนและหลังคลอด
  • การผ่าท้องทำคลอดฉุกเฉิน
  • การทำแท้งก่อนหน้านี้และภาวะตั้งครรภ์ยาก
  • การตั้งครรภ์ไม่พร้อมหรือความรู้สึกไม่แน่ใจเรื่องการตั้งครรภ์
  • ทารกที่มีโรคแต่กำเนิดขั้นรุนแรงหรือการคลอดก่อนกำหนด

การระบุล่วงหน้า

พ่อ: ที่รักคุณจะไม่เป็นไรถ้าคุณไม่วิตกเกินไปนะ

ย่า: ลูกสาวฉันกังวลตลอดเวลา ไม่ต้องไปสนใจเธอขนาดนั้นก็ได้

  • คำปลอบใจจากผู้เป็นพ่อหรือปู่ย่าตายายมีความหมายมาก แต่พวกเขาอาจมองข้ามว่าผู้เป็นแม่กำลังเผชิญภาวะซึมเศร้าก่อนคลอดและหลังคลอด
  • หากสมาชิกครอบครัวตระหนักถึงภาวะของผู้เป็นมารดา สามารถระบุภาวะซึมเศร้าก่อนคลอดและหลังคลอดล่วงหน้าได้เพื่อเลือกความช่วยเหลือที่เหมาะสม วิธีนี้จะช่วยป้องกันอาการที่แย่ลงของปัญหาทางอารมณ์ของผู้เป็นแม่ และจะไม่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตที่ดีของครอบครัว
  • มาเรียนรู้เกี่ยวกับวิธีระบุสัญญาณล่วงหน้าของปัญหาทางอารมณ์ก่อนคลอดและหลังคลอด

ในฐานะคู่ครอง สมาชิกครอบครัว หรือเพื่อน:

  • ท่านสามารถมุ่งความสนใจไปที่ความแตกต่างทางความคิด อารมณ์ พฤติกรรม และสภาพร่างกายก่อนและหลังให้กำเนิดทารกของผู้เป็นแม่
    • ความคิดของเธอ:

      เธออาจมีความคิดทางลบ รวมถึงการตั้งคำถามความสามารถตนเอง มีปฏิกิริยาเกินจริงต่อความเห็นผู้อื่น ยอมรับคำวิจารณ์อย่างตรงไปตรงมาของผู้อื่นโดยง่าย มีความคิดทางลบกับทารกหรือเรื่องอนาคต คิดกังวลหรือวิตกมากเกินไป ฯลฯ

    • อารมณ์ของเธอ:

      อารมณ์ไม่ดี หมดแรง มองโลกแง่ร้าย วิตกกังวล รู้สึกไร้ที่พึ่ง หวาดกลัว กระสับกระส่าย งุนงง กระวนกระวาย โมโหง่าย และอารมณ์แปรปรวน ฯลฯ

    • สภาพร่างกาย:

      นอนไม่หลับ ไม่อยากอาหาร ฯลฯ

    • พฤติกรรมของเธอ:

      ความกระวนกระวาย การร้องอาละวาดกับเรื่องเล็กน้อย การร้องไห้แบบไม่มีสาเหตุ มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม เช่น ตรวจดูการหายใจของทารกตลอดเวลาหรือดูว่าทารกไม่สบายหรือไม่

  • ท่านสามารถพูดคุยเบื้องต้นกับเธอเพื่อให้โอกาสเธอแบ่งปันความรู้สึกและความคิดกับท่าน

หากอาการเหล่านี้ปรากฏเกิน 2 สัปดาห์ทั้งก่อนและหลังทารกคลอด และกระทบบทบาทหน้าที่ประจำวันของแม่มือใหม่ ผู้เป็นแม่ควรปรึกษาแพทย์โดยเร็วที่สุด

การป้องกันภะวะซึมเศร้าระหว่างครรภ์และหลังคลอด

แม่ ก.: ฉันพอใจที่สามีช่วยเหลืองานบ้าน เปลี่ยนผ้าอ้อม และอาบน้ำให้ลูกโดยที่ฉันไม่ต้องบอก

แม่ ข.: ฉันหวังว่าทุกคนจะเห็นว่าฉันทำดีที่สุดแล้ว บางครั้งฉันรู้สึกว่าฉันไม่รู้จริง ๆ ว่าลูกร้องไห้ทำไม

  • ข้างต้นคือความหวังของผู้เป็นแม่คือการเข้าใจของครอบครัวและเพื่อน ในฐานะคนรัก ผู้ปกครองหรือฝ่ายสามี สามารถช่วยเหลืออย่างไรได้บ้างเพื่อป้องกันภาวะซึมเศร้าก่อนคลอดและหลังคลอดให้ผู้เป็นแม่ มาดูกัน

ในฐานะผู้ปกครองและฝ่ายสามี

  • เราอยู่ในยุคสมัยใหม่ที่ความรู้ใหม่นำไปสู่ความเปลี่ยนแปลง ขั้นตอนการดูแลแตกต่างจากสมัยก่อน ฉันจะปรับตัวเปิดรับความคิดเพื่อสื่อสารกับคนรุ่นใหม่และเรียนรู้เกี่ยวกับขั้นตอนการปฏิบัติและการใช้ชีวิตแบบปัจจุบันระหว่างการตั้งครรภ์และ "การดูแลพิเศษหนึ่งเดือน" เมื่อเวลามาถึง ฉันจะแบ่งปันประสบการณ์และความคิดเห็นด้วยความเคารพกัน จากการกล่าวข้างต้น ฉันเข้าใจว่าพวกเขาไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามวิธีในสมัยก่อน
  • บางครั้งฉันช่วยดูแลทารก เพื่อที่ว่า ผู้ปกครองมือใหม่จะได้มีเวลาพักผ่อนด้วยกัน

ในฐานะคนรัก ฉันสามารถ:

  • เตรียมพร้อมสำหรับการตั้งครรภ์ เช่น การวางแผนครอบครัวและการเงิน
  • เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ การคลอด และการดูแลทารกพร้อมไปกับผู้เป็นแม่เพื่อช่วยลดความวิตกและสร้างความคาดหวังบนพื้นฐานความเป็นจริงสำหรับความเป็นผู้ปกครอง เช่น เข้าร่วมการสัมมนาและเวิร์กชอปเรื่องการดูแลก่อนคลอดและการเป็นผู้ปกครอง
  • ทำงานเป็นทีมกับผู้เป็นแม่เพื่อไปสู่เป้าหมายเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ เช่น ไปเป็นเพื่อนเธอเมื่อตรวจสุขภาพประจำ
  • ช่วยแบ่งเบาภาระเบื้องต้นเรื่องงานบ้านและการดูแลทารก เพื่อที่เธอจะได้พักผ่อนมากขึ้น
  • ใส่ใจเรื่องความรู้สึกของเธอ พยายามทำความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ที่เธอเผชิญเมื่อตั้งครรภ์และหลังการคลอด ให้เธอมีเวลาและพื้นที่ในการอธิบายความคิดและความรู้สึก รับฟังด้วยความใจเย็นและไม่รีบให้คำแนะนำ
  • ให้กำลังใจเธอมากขึ้น; ชมเชย ส่งข้อความหรือโน้ตให้เธอเห็นว่าความพยายามของเธอมีคุณค่า เช่น "ผมนับถือคุณเลย" "ให้นมลูกต้องใช้พลังงานแล้วก็ความอดทนมาก คุณทำได้ดีเลยล่ะ!"
  • พิจารณาสุขภาพของเธอขณะตั้งครรภ์และหลังคลอดอย่างรอบคอบ และปรับการมีเพศสัมพันธ์อย่างสอดคล้อง (สำหรับรายละเอียด โปรดอ้างถึง "เพศสัมพันธ์ที่ดีก่อนและหลังการให้กำเนิดทารก" ที่เว็บไซต์บริการสุขภาพครอบครัว กรมสุขภาพ http://s.fhs.gov.hk/svx7s)
  • ส่งเสริมให้เธอมีเวลาว่างและเวลาพักผ่อน เช่น ใช้เวลาช่วงบ่ายในการงีบ ออกไปเดินเล่น หรือเจอเพื่อน
  • การแบ่งปันประสบการณ์กับผู้ปกครองคนอื่น ๆ เรื่องการตั้งครรภ์และการดูแลทารกช่วยให้มีสัมพันธ์ทางสังคม
  • เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับปัญหาทางอารมณ์ก่อนและหลังการคลอด ให้กำลังใจเธอและไปเป็นเพื่อนเธอเพื่อปรึกษาแพทย์ตามความเหมาะสม

ฉันจำเป็นต้องดูแลตนเองด้วย

พ่อ ก.: มีแค่ผู้หญิงที่เผชิญปัญหาทางอารมณ์หลังคลอด ผู้ชายจะมีได้ไง ไม่มีทาง!

พ่อ ข.: ผมเป็นชายผู้แข็งแรงและเก่งกาจ ผมไม่มีทางรับผลกระทบเรื่องอารมณ์หรอก

  • การเป็นผู้ปกครองหรือสมาชิกครอบครัวในการดูแลปัญหาทางอารมณ์ของผู้เป็นแม่หรือแม่มือใหม่มักมีความรู้สึกเครียด การวิจัยพบว่าหากมารดาเผชิญภาวะซึมเศร้าหลังคลอด จะมีโอกาสสูงที่ผู้ปกครองของเธอเผชิญอารมณ์เศร้าด้วย ด้วยเหตุผลนี้ท่านควรดูแลตนเองด้วยขณะดูแลคนรักของท่าน

ในฐานะคนรักหรือสมาชิกครอบครัว ฉันต้อง:

  • ตั้งความคาดหวังตนเองบนพื้นฐานความเป็นจริง ฉันไม่ใช่ยอดมนุษย์ เป็นไปไม่ได้ที่จะแก้ปัญหาคนเดียวหรือคาดหวังให้ตนเองเป็น "พ่อ/ คนรัก/ สมาชิกครอบครัวที่สมบูรณ์แบบ"
  • ยอมรับอารมณ์ทางลบของตนเอง ฉันอาจอารมณ์ไม่ดีหากเธอกำลังเผชิญภาวะซึมเศร้าก่อนและหลังคลอด เช่น:
    • ไม่อยากเชื่อเลยว่าเธอป่วย
    • ความรู้สึกผิดที่เธอมีอารมณ์แง่ลบ
    • ความรู้สึกท้อแท้ที่เธอต่อต้านการเข้ารับคำปรึกษา
    • ความกังวลเกี่ยวกับเธอและลูก
    • ความรู้สึกหมดหนทางกับปัญหาทางอารมณ์ของเธอที่ยังไม่หาย...

    ฉันต้องยอมรับความรู้สึกเหล่านี้ทั้งหมด

  • ติดต่อกับเพื่อนและครอบครัว หาผู้ที่ไว้ใจได้เพื่อแบ่งปันความรู้สึกของฉันช่วยให้ฉันบรรเทาความเครียด
  • ใช้เครือข่ายสังคมและสื่อสารกับผู้ปกครองคนอื่น ๆ พวกเราจะรู้สึกโดดเดี่ยวน้อยลงเมื่อรู้ว่ามีคนที่อยู่ในสถานการณ์เดียวกัน
  • ดูแลให้ตัวเองแข็งแรงอยู่เสมอ ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ หาเวลาว่างทำกิจกรรมและพักผ่อน
  • มองมุมมองแง่บวกและชื่นชมตัวเอง พยายามเคารพตัวเองและเตือนตนเองว่ามีส่วนรับผิดชอบกับครอบครัวนี้
  • พยายามรักษาสัมพันธ์กับคนรัก บางครั้งเราอาจพบว่าพี่เลี้ยงเด็กช่วยให้เรามีเวลาอยู่ด้วยกันมากขึ้น
  • เมื่อฉันรู้สึกว่าบรรเทาความเครียดตนเองไม่ได้ ฉันควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ

วิธีการขอความช่วยเหลือ

พ่อ: ถ้าภรรยาของผมเผชิญภาวะซึมเศร้าก่อนคลอดและหลังคลอด ผมจะช่วยได้อย่างไรบ้าง

ย่า: หลานฉันอายุ 2 เดือนแล้ว แม่เขายังโมโหง่าย วิตกมาก และร้องไห้บ่อยครั้ง ฉันจะช่วยได้อย่างไร

  • ท่านสามารถนัดแพทย์ครอบครัวหรือสูตินรีแพทย์เพื่อรับการประเมินและการจัดการเบื้องต้น พวกเขาจะแนะนำผู้เชี่ยวชาญให้ท่านหากจำเป็น
  • หรือท่านอาจนัดจิตแพทย์ส่วนตัวหรือนักจิตวิทยาเพื่อการประเมินและการจัดการเบื้องต้น
  • ท่านสามารถปรึกษานักสังคมสงเคราะห์หรือผู้ให้คำปรึกษาสำหรับการประเมินหรือการส่งต่อ
  • หากผู้เป็นแม่เผชิญปัญหาทางอารมณ์หลังคลอด ท่านสามารถโทรศัพท์หาศูนย์สุขภาพแม่และเด็กในพื้นที่ของท่านเพื่อทำการนัดกับพยาบาลสำหรับการประเมินเบื้องต้น จากนั้นจะมีการส่งต่อไปยังบริการที่เหมาะสม

ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

บริการรับปรึกษาและสายด่วน

สมาคมสะมาริตันส์ Befrienders Hong Kong 2389 2222
ศูนย์ป้องกันการฆ่าตัวตาย 2382 0000
สายด่วนกรมประชาสงเคราะห์ 24 ชั่วโมง 2343 2255
สายด่วนสุขภาพจิต 24 ชั่วโมงจากองค์การโรงพยาบาล 2466 7350

อื่น ๆ

สายด่วนข้อมูล 24 ชั่วโมง บริการอนามัยครอบครัว กรมอนามัย 2112 9900
สายด่วนการให้นมแม่ กรมอนามัย 3618 7450
ปรึกษาข้อมูลสุขศึกษา กรมสุขภาพ 2833 0111
เว็บไซต์บริการอนามัยครอบครัว กรมอนามัย www.fhs.gov.hk
สมุดรายนามการดูแลเบื้องต้น
(ท่านสามารถใช้สมุดรายนามนี้เพื่อค้นหาแพทย์ครอบครัวที่เหมาะสมได้)
www.pcdirectory.gov.hk

ฟังและใส่ใจแม่มือใหม่

สำหรับคุณภาพชีวิตสุขภาพจิตที่ดีทั้งหมด

เรียนรู้รายละเอียดและวิธีปฏิบัติเพิ่มเติม

จากนั้นรับคำปรึกษาหากปัญหาทางอารมณ์ยังคงอยู่

ฟังและใส่ใจแม่มือใหม่

พ่อที่ดีจะช่วยเหลืองานบ้าน

ย่าช่วยให้ผู้ปกครองมือใหม่มีพื้นที่ส่วนตัว

สิ่งเหล่านี้จะช่วยสร้างบ้านที่เต็มไปด้วยความรัก