การทานอาหารเพื่อสุขภาพขณะตั้งครรภ์
การทานอาหารเพื่อสุขภาพควบคู่ไปกับการออกกำลังกายขณะมีครรภ์อยู่นั้นสำคัญต่อตัวท่านเองและทารกในครรภ์ ซึ่งจะช่วยให้ทารกมีน้ำหนักตัวที่เหมาะสม การเจริญเติบโตของทารก มีน้ำหนักตามมาตรฐานเมื่อคลอดออกมา และช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด หากรับประทานอาหารอาหารที่หลากหลายจะทำให้ได้รับสารอาหารที่จำเป็นต่อพัฒนาการของทารกในครรภ์และทำให้ตัวท่านมีสุขภาพที่ดี ควรรับประทานอาหารเป็นประจำและไม่ควรอดอาหาร
การเลือกอาหารเพื่อสุขภาพ
- ธัญพืช - ข้าว พาสต้า หรือขนมปังทำให้ท่านได้รับทั้งพลังงานและวิตามินกลุ่มวิตามิน B อาหารประเภทธัญพืชอุดมไปด้วยวิตามินและใยอาหารที่ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดอาการท้องผูก เลือกผลิตภัณฑ์ธัญพืช เช่น ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีต หรือข้าวโอ๊ต แทนข้าวขัดสีหรือขนมปังขาว ใช้แป้งโฮลวีตในการทำจาปาตีหรือขนมปังพิต้า
- ผักและผลไม้ - ผักและผลไม้เป็นแหล่งรวมวิตามินและแร่ธาตุชั้นดี ผักใบเขียวเข้มจะอุดมไปด้วยกรดโฟลิกสูง ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้ทารกในท้องมีภาวะหลอดประสาทไม่ปิด (เป็นรูปแบบหนึ่งของความผิดปกติของสมองและกระดูกสันหลังของทารกตั้งแต่กำเนิด) วิตามิน C ในผลไม้ เช่น ส้ม กีวี ช่วยให้ร่างกายของท่านดูดซึมธาตุเหล็ก ผักและผลไม้หลากสี เช่น ฟักทอง มะเขือเทศ และผักสีเขียวเข้มทั้งหมด อุดมไปด้วยแคโรทีนซึ่งเปลี่ยนเป็นวิตามิน A ในร่างกายได้
- เนื้อสัตว์ ปลา ไข่และอาหารอื่น ๆ รวมถึงไข่ ถั่ว (ได้แก่ ถั่วเมล็ดแห้ง และถั่วเลนทิล) เต้าหู้ ถั่วเปลือกแข็ง และเมล็ดพืช และการเลือกเนื้อไม่ติดมัน ไก่ ปลาต่าง ๆ ในมื้ออาหารของท่านเพื่อให้ได้โปรตีน เหล็ก และวิตามิน B12 ปลาที่มีกรดไขมันจำเป็นสูง เช่น แซลมอน ซันมะ หรือซาดีน อุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า-3 เช่น ดีเอชเอซึ่งเป็นสารสำคัญช่วยบำรุงสมอง
- น้ำนมและอาหารต่าง ๆ เลือกนม โยเกิร์ต หรือชีสไขมันต่ำ และแหล่งแคลเซียมที่ไม่ใช่ในนมอื่น ๆ เช่น นมถั่วเหลืองเพิ่มแคลเซียม เต้าหู้ ซาดีนกระป๋อง และผักใบเขียวเข้ม
- ใช้น้ำมันพืชประกอบอาหาร
- รับประทานเกลือให้น้อยลงและจำกัดปริมาณการรับประทานเกลือต่อวันไม่ให้มากไปกว่า 5 กรัมหรือ 1 ช้อนชา ลดการรับประทานอาหารกระป๋องและเนื้อแปรรูป เช่น แฮมและไส้กรอก
- ดื่มน้ำปริมาณมาก
- ลดการรับประทานอาหารที่มีการเพิ่มปริมาณน้ำตาลและไขมันที่เป็นก้อนแข็ง เช่น ของทอด บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ไอศกรีม ลูกอม บิสกิต ขนมหวาน น้ำอัดลมหรือโซดา และน้ำผลไม้ ฯลฯ อาหารเหล่านี้มีปริมาณแคลอรี่สูงแต่มีปริมาณสารอาหารต่ำ
อาหารหรือสารที่ควรเลี่ยงขณะตั้งครรภ์
- เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ - การรับแอลกอฮอล์เข้ามาในร่างกายจะส่งผลร้ายแรงต่อพัฒนาการของทารกในท้อง
- ปลาที่มีระดับสารปรอทเมทิลสูง - ปริมาณสารปรอทเมทิลสูงจะสร้างความเสียหายต่อพัฒนาการสมองของทารกของท่าน ท่านควรเลี่ยงการทานปลานักล่าขนาดใหญ่ และปลาประเภทที่มีสารปรอทเมทิลสูง รวมถึง: ปลาฉลาม ปลากระโทงดาบ ปลามาร์ลิน ปลาอินทรีย์ ปลาทูน่า ปลาคินเมะได ปลาออเรนจ์รัฟฟี่ ปลาจานหลังเหลือง และปลาแพะแดงแถบหางจุด ฯลฯ
- เนื้อสัตว์ดิบหรือกึ่งสุก อาหารทะเล และไข่ดิบ
- อาหารจำพวกที่เสี่ยงจะปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียลิสทิเรีย ซึ่งอาจทำให้แท้งได้ อาหารเหล่านี้ได้แก่:
- เนื้อหรือไก่พร้อมทานแช่เย็น (จากซูเปอร์มาร์เก็ตหรือสลัดบาร์) บะหมี่สำเร็จรูปและแซลมอนรมควัน
- สลัดผักพร้อมทาน (จากซูปเปอร์มาร์เก็ตหรือสลัดบาร์) และซูชิพร้อมสลัดผัก
- ชีสเนื้ออ่อนเช่น เฟตา บรีกาม็องแบร์บลู นมและผลิตภัณฑ์นมที่ไม่ได้ผ่านการพาสเจอร์ไรซ์และผลิตภัณฑ์ไม่ผ่านการพาสเจอไรซ์
- อาหารบรรจุภัณฑ์แช่เย็นที่หมดอายุ
- ชาเข้มข้น กาแฟ เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน
- บุหรี่และการสูบบุหรี่
ต้องรับประทานปริมาณเท่าไรถึงจะเหมาะสมกับการตั้งครรภ์
ท่านจะต้องทานอาหารมากขึ้นในช่วงไตรภาคที่ 2 และ 3 ของการตั้งครรภ์ (เริ่มนับจากเดือนที่ 4) ด้านล่างนี้จะเป็นแผนการรับประทานอาหารของผู้ที่มีน้ำหนักปกติ ท่านอาจจะต้องการไม่มากหรือน้อยไปกว่าแผน หากมีครรภ์แฝดหรือมีปัญหากับการตั้งครรภ์ต้องได้รับคำปรึกษาจากแพทย์หรือนักโภชนาการ
แผนการรับประทานอาหารระหว่างการตั้งครรภ์
กลุ่มอาหาร | จำนวนมื้อต่อวัน | Example(s) of a serving | |
หลังการตั้งครรภ์และ 3 เดือนแรก |
เดือนที่ 4 ถึงเดือนที่ 9 เดือนการตั้งครรภ์ |
หนึ่งชาม = 250-300 มล. 1 ถ้วย = 240 มล. |
|
ธัญพืช | 3 ถึง 4 | 3 1/2 ถึง 5 |
|
ผัก | 3 ขึ้นไป | 4 ถึง 5 |
|
ผลไม้ | 2 ขึ้นไป | 2 ถึง 3 |
|
เนื้อสัตว์ ปลา ไข่ และ ทางเลือกอื่น ๆ (เช่น ถั่วเมล็ดแห้ง และถั่วเลนทิล) | 5 ถึง 6 | 5 ถึง 7 |
|
นมและทางเลือกอื่น ๆ (อาหารอุดมไปด้วยแคลเซียมที่ไม่ใช่นม) | 1 ถึง 2 | 2 |
|
วิตามินและอาหารเสริมสำหรับครรภ์
ท่านจะต้องรับประทานอาหารเสริมกรดโฟลิกและอาหารเสริมไอโอดีนขณะที่ตั้งครรภ์ ควรปรึกษาแพทย์ นักโภชนาการ หรือเภสัชกร เพื่อให้ได้ตามเกณฑ์ที่เหมาะสม อาหารเสริมที่มีปริมาณวิตามิน A สูงจะไม่เหมาะสมกับครรภ์
กรดโฟลิก
- ท่านควรรับประทานอาหารเสริมกรดโฟลิกอย่างน้อย 400 ไมโครกรัม (แต่ไม่มากไปกว่า 1000 ไมโครกรัม) ต่อวัน หากมีการวางแผนการทานอาหารเสริมสำหรับการตั้งครรภ์ 3 เดือนแรก
- การรับประทานอาหารเสริมกรดโฟลิกจะป้องความบกพร่องตอนคลอดได้ เช่น ภาวะหลอดประสาท (เป็นรูปแบบหนึ่งของความผิดปกติของสมองและกระดูกสันหลังของทารกตั้งแต่กำเนิด)
- ท่านควรบริโภคอาหารที่อุดมไปด้วยโฟเลต เช่น ผักใบเขียวเข้ม ถั่วเมล็ดแห้ง ถั่ว ผลไม้ และซีเรียลที่เสริมโฟเลต
ไอโอดีน
- ปริมาณการทานโฟเลตที่เหมาะสมนั้นสำคัญต่อพัฒนาการของทารก
- ร่างกายจะต้องการโฟเลตเป็นพิเศษขณะตั้งครรภ์และโฟเลตนั้นสำคัญต่อการป้อนนมจากเต้าอีกด้วย ก่อนคลอดควรรับประทานวิตามินและอาหารเสริมที่มีไอโอดีนทุกวันเพื่อเติมเต็มความต้องการให้กับร่างกายท่านและทารกในท้อง
- ในขณะเดียวกัน ท่านควรใช้เกลือเสริมไอโอดีน (ควบคุมปริมาณเกลือโดยรวมแล้วไม่เกิน 5 กรัม เช่น 1 ช้อนชา) แทนการใช้เกลือปรุงอาหารธรรมดา และเลือกทานอาหารที่มีไอโอดีนอย่าง: นม ไข่ ปลาทะเล อาหารทะเล และสาหร่าย
สารอาหารเสริมอื่นๆที่หญิงมีครรภ์บางคนอาจต้องการ
วิตามิน D
- ร่างกายต้องการวิตามิน D เพื่อให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมและช่วยเสริมสร้างกระดูก
- อาหารอย่างเนื้อปลาไขมันสูง ไข่ และนมเสริมสารอาหาร จะให้วิตามิน D ได้เพียงจำนวนเล็กน้อยเท่านั้น ท่านจะรับวิตามินได้ด้วยการตากแดด
- ผู้หญิงที่มีผิวเข้มผู้การปกปิดร่างกายส่วนใหญ่หรืออยู่แต่ในร่ม จะมีความเสี่ยงมีภาวะขาดวิตามิน D ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อกระดูกของทารกในครรภ์ หญิงตั้งครรภ์เหล่านี้ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับอาหารเสริม
ธาตุเหล็ก
- ท่านอาจจะต้องรับประทานอาหารเสริมธาตุเหล็กตามคำแนะนำของแพทย์ หากมีภาวะขาดธาตุเหล็กหรือภาวะโลหิตจาง ท่านควรทำตามคำแนะนำของแพทย์
- นอกจากนี้ ท่านสามารถเพิ่มปริมาณธาตุเหล็กโดยการรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง เช่น เนื้อไม่ติดมัน เนื้อปลา ผักใบเขียวเข้ม ถั่วตากแห้ง และซีเรียลเสริมธาตุเหล็ก
- การรับประทานอาหารคู่กับผักและผลไม้ที่อุดมไปด้วยวิตามิน C (เช่น ส้ม มะเขือเทศ หรือพริกหยวก) หรือทานเนื้อคู่กับผักใบเขียวจะช่วยเพิ่มการดูดซึมธาตุเหล็ก หลีกเลี่ยงการดื่มชาและกาแฟคู่กับมื้ออาหารเนื่องจากจะลดการดูดซึมธาตุเหล็ก
กรดไขมันโอเมก้า-3
- กรดไขมันโอเมก้า-3 ประกอบไปด้วย DHA (กรดโดโคซะเฮกซะอีโนอิก) และ EPA (กรดอิโคซะเพนตะอีโนอิก) ซึ่งสำคัญต่อพัฒนาการสมองและสายตาของทารกของท่าน
- เมล็ดแฟลกซ์ วอลนัท และน้ำมันคาโนลาเป็นแหล่งที่อุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า-3 ท่านสามารถรับ DHA ได้จากการรับประทานปลาที่มีกรดไขมันอย่างเป็นประจำ
- หากท่านไม่รับประทานปลา ท่านสามารถรับประทานอาหารเสริมที่มี DHA ได้
ผู้ที่เป็นมังสวิรัติจะได้รับสารอาหารที่เพียงพอได้อย่างไรในระหว่างการตั้งครรภ์
- อาหารมังสวิรัติสามารถได้รับสารอาหารที่เพียงพอได้โดยการเลือกทานอย่างระวัง อย่างไรก็ตาม ท่านมีความเสี่ยงจะได้รับธาตุเหล็ก วิตามิน B12 กรดไขมันโอเมก้า-3 ในปริมาณที่ไม่เพียงพอ ดังนั้นโปรดปรึกษาแพทย์
- ไข่ ถั่วตากแห้ง (เช่น ถั่วเลนทิล) เต้าหู้ ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง เมล็ดและถั่ว เมล็ดพืชคือแหล่งโปรตีนที่ดี
- ธาตุเหล็กจากไข่ ถั่ว และผักใบเขียวเข้มล้วนดูดซึมช้า ผู้ที่เป็นมังสวิรัติจึงต้องรับประทานอาหารที่เสริมธาตุเหล็ก เช่น ซีเรียล และควรรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามิน C เพื่อส่งเสริมการดูดซึมธาตุเหล็ก
- ท่านต้องการนมถั่วเหลืองเสริมธาตุเหล็กหรือเต้าหู้ และทานผักใบเขียวเข้มเป็นแหล่งแคลเซียม หากท่านเป็นผู้ที่ดื่มนมหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม
- อาหารที่ทำจากผักจะไม่มีวิตามิน B12 ผู้ที่เป็นมังสวิรัติสามารถรับวิตามิน B12 ได้จากนม ชีส โยเกิร์ต ไข่ และอาหารที่เสริมวิตามิน B12 (เช่น ซีเรียล นมถั่วเหลือง และเครื่องดื่มที่ทำจากถั่ว) ในขณะตั้งครรภ์ มารดาผู้ที่เป็นมังสวิรัติควรรับประทานอาหารเสริมวิตามิน B12 เพื่อป้องกันการเกิดภาวะขาดวิตามิน B12 ซึ่งจะสามารถส่งผลต่อสมองและระบบประสาทของทารกในครรภ์
- วอลนัท เมล็ดแฟลกซ์ และน้ำมันคาโนลาเป็นแหล่งที่อุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า-3 อย่างไรก็ตามอาหารที่ทำจากผักจะไม่มี DHA หญิงมีครรภ์ที่เป็นมังสวิรัติสามารถรับประทานอาหารเสริมที่มี DHA ได้โดยปรึกษาแพทย์หรือเภสัช
ต้องเพิ่มน้ำหนักเท่าใด
การเพิ่มน้ำหนักนั้นยากในช่วงไตรภาคแรกซึ่งเป็นเรื่องปกติ (หรือในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์) ในไตรภาคที่สองและสาม (หรือตั้งแต่ช่วงเดือนที่ 4 ถึงเดือนที่ 9) น้ำหนักจะเพิ่มตลอดราว ๆ 0.5 กก. ต่อสัปดาห์เนื่องจากร่างกายของทารกและเนื้อเยื่อในครรภ์ของท่านจะเติบโตตลอดซึ่งเป็นเรื่องปกติ
จำนวนน้ำหนักที่เพิ่มจะขึ้นอยู่กับการรับประทานอาหารของท่าน ระดับการออกกำลังกายและสุขภาพโดยรวม น้ำหนักทั้งหมดที่เพิ่มขึ้นมาจะขึ้นอยู่กับน้ำหนักของท่านก่อนตั้งครรภ์อีกด้วย
สูตรคำนวณค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ก่อนการตั้งครรภ์คือ: น้ำหนักก่อนการตั้งครรภ์ (กก.) ÷ ส่วนสูง (ม.) ÷ ส่วนสูง (ม.) จากนั้นให้ดูตารางค่าเพิ่มน้ำหนักในขณะตั้งครรภ์ที่แนะนำ
ค่าดัชนีมวลกายก่อนการตั้งครรภ์ | ค่าการเพิ่มน้ำหนักที่แนะนำ |
---|---|
น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ : BMI ต่ำกว่า 18.5 | 12.7 ถึง 18 กก. |
น้ำหนักในเกณฑ์ปกติ : 18.5 ถึง 24.9 | 11.4 ถึง 15.9 กก. |
น้ำหนักสูงกว่าเกณฑ์: 25.0 ถึง 29.9 | 6.8 ถึง 11.4 กก. |
โรคอ้วน : 30.0 ขึ้นไป | 5 ถึง 9 กก. |
แหล่งอ้างอิง: สถาบันการแพทย์ 2009
การออกกำลังกายขณะตั้งครรภ์นั้นดีหรือไม่
- การออกกำลังกายระหว่างการตั้งครรภ์มีประโยชน์หลายอย่าง คือ ช่วยลดความไม่สบายตัวระหว่างครรภ์ ช่วยปรับอารมณ์และการนอนให้ดีขึ้น และช่วยไม่ให้น้ำหนักเกิน
- หญิงมีครรภ์ควรออกกำลังกายในระดับความหนักระดับที่เหมาะเสมอเป็นเวลาอย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน พยายามออกกำลังกายให้ได้ทุกวันหากทำเป็นไปได้ และเพิ่มเวลาขึ้นให้ได้เป็น 150 นาทีต่อสัปดาห์
- ท่านสามารถเพลิดเพลินกับการออกกำลังกายแบบแอโรบิคและแบบเพิ่มความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อ และเพิ่มการยืดเหยียดกล้ามเนื้อไปด้วยก็มีประโยชน์เช่นกัน การเดิน เดินเร็ว ปั่นจักรยานออกกำลังกาย ว่ายน้ำ แอโรบิคน้ำ ฝึกกล้ามเนื้อ โยคะ เต้น และกายบริหารแบบพิลาทีส ล้วนเป็นทางเลือกการออกกำลังกายที่ปลอดภัยสำหรับหญิงมีครรภ์
- หากท่านเป็นผู้ที่ออกกำลังกายหนักอยู่แล้วก่อนตั้งท้อง ท่านสามารถออกกำลังกายแบบนี้ต่อได้ขณะตั้งท้องและในระยะเวลาตกเลือดหลังคลอด
สรุป
สิบสิ่งสำคัญต่อการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพขณะตั้งครรภ์
- รับประทานอาหารที่หลากหลาย, ไม่เลือกอาหาร;
- รับประทานอาหารธัญพืชมากขึ้น; รับประทานผักและผลไม้มากขึ้น;
- บริโภคเนื้อสัตว์ เนื้อปลา นมและอาหารทางเลือกอื่น ๆ ในปริมาณที่เหมาะสม
- รับประทานปลาที่อุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า-3 แต่มีสารปรอทเมทิลน้อย;
- รับประทานอาหารที่มีไอโอดีน โฟเลต แคลเซียม และธาตุเหล็ก;
- ลดการบริโภคที่มีไขมันสูง และอาหารหรือเครื่องดื่มที่เพิ่มปริมาณน้ำตาล;
- ให้ความสนใจต่อความปลอดภัยอาหาร;
- ออกกำลังกายทุกวันอย่างน้อยวันละ 30 นาที;
- ออกมารับแสงแดดเพื่อให้ได้ปริมาณวิตามิน D อย่างเพียงพอ
- รับประทานอาหารเสริมวิตามินรวม/เกลือแร่รวมที่มีไอโอดีน ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญดูและด้านสุขภาพสำหรับคำแนะนำ