วิธีชงนมและป้อนอาหารสำหรับทารก

(วีดีโอที่อัปโหลดแล้ว 01/22)

การถอดเสียง

หัวข้อ: วิธีชงนมและป้อนอาหารสำหรับทารก

ผู้บรรยาย:  วิธีชงนมและป้อนอาหารสำหรับทารก

ผู้บรรยาย:การชงนมให้ถูกหลักมีความสำคัญต่อการได้รับสารอาหารของทารกและช่วยลดการติดเชื้อแบคทีเรียลงได้

หัวข้อ:  การชงนม

ผู้บรรยาย:  การชงนม

ฉาก:  พ่อเปิดกาต้มน้ำไฟฟ้าเพื่อต้มน้ำ

หัวข้อย่อย:  ต้มน้ำจนเดือด

ผู้บรรยาย:  ขั้นแรกให้นำน้ำประปาไปต้ม
เมื่อใช้กาต้มน้ำไฟฟ้า ให้รอจนกว่าเครื่องจะปิดโดยอัตโนมัติ
จากนั้นปล่อยให้น้ำเย็นลงไม่เกิน 30 นาที เพื่อให้อุณหภูมิของน้ำไม่ต่ำกว่า 70°C

ฉาก:  คุณพ่อใช้ผ้าขนหนูเช็ดทำความสะอาดบริเวณชงนมและล้างมือด้วยสบู่และน้ำ
จากนั้นเช็ดมือให้แห้งด้วยผ้าสะอาด

หัวข้อย่อย:  ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อบริเวณนั้น

ผู้บรรยาย:  ทำความสะอาดบริเวณที่คุณจะป้อนนม

หัวข้อย่อย:  ล้างมือ

ผู้บรรยาย:  จากนั้นล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่และน้ำ แล้วเช็ดให้แห้งด้วยผ้าสะอาด

ฉาก:  พ่อหยิบขวดออกจากเครื่องฆ่าเชื้อแล้วสะบัดน้ำออก

ผู้บรรยาย:  นำขวดออกจากเครื่องฆ่าเชื้อแล้วสะบัดน้ำส่วนเกินออกจากขวดและจุกนม
กลั้วขวดและจุกนมด้วยน้ำต้มหากผ่านการฆ่าเชื้อด้วยสารเคมีแล้ว

ฉาก:  พ่อเทน้ำใส่ขวด

หัวข้อย่อย:  เทน้ำต้มสุกพอประมาณ (ไม่ต่ำกว่า 70 องศาเซลเซียส )

ผู้บรรยาย:  เทน้ำต้มสุกอุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 70 องศาเซลเซียสในปริมาณที่เหมาะสมลงในขวด

ฉาก:  พ่อหยิบนมสูตรหนึ่งกระป๋องออกมา

หัวข้อย่อย:  ใส่นมผงในปริมาณที่ถูกต้อง

ผู้บรรยาย:  เติมนมผงในน้ำตามให้ตรงตามปริมาณที่อธิบายไว้บนฉลาก
การใส่นมผงมากเกินไปอาจทำให้ร่างกายขาดน้ำได้

ในทางกลับกัน หากนมผงไม่เพียงพอจะทำให้ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ

ฉาก:  พ่อหยิบช้อนในกระป๋องออกมา เขาตักนมผงแล้วเกลี่ยให้เรียบโดยใช้ขอบมีดที่สะอาดและแห้ง

ผู้บรรยาย:  ตักนมผงจากกระป๋องที่เตรียมไว้
ใช้ขอบมีดที่สะอาดและแห้งเกลี่ยให้เสมอ
อย่าอัดผงนมให้แน่น

ฉาก:  พ่อปิดจุกนมและฝากับขวดนม

ผู้บรรยาย: ปิดจุกนมและฝากับขวดนม

ฉาก:  พ่อเขย่าหรือหมุนขวดจนนมผงละลายหมด

หัวข้อย่อย:  เขย่าให้นมผงละลาย

ผู้บรรยาย: เขย่าหรือหมุนขวดเบาๆ จนนมผงละลายหมด

ฉาก:  พ่อวางขวดโดยให้ครึ่งล่างมีน้ำประปาไหลผ่าน พ่อวางขวดโดยให้ครึ่งล่างจมในอ่างน้ำเย็น

หัวข้อย่อย:  ปล่อยให้นมเย็น


ผู้บรรยาย:  จากนั้นจึงทำให้นมเย็นลงอย่างรวดเร็วจนได้อุณหภูมิที่เหมาะสมกับการรับประทาน
วางครึ่งล่างของขวดไว้ให้น้ำประปาไหลผ่านหรือใส่ในอ่างน้ำเย็น

ฉาก:  พ่อเช็ดขวดให้แห้งด้วยกระดาษทิชชูสะอาด

ผู้บรรยาย:  จากนั้น เช็ดขวดให้แห้ง

ฉาก:  พ่อหยดนมสองสามหยดลงบนข้อมือเพื่อทดสอบอุณหภูมิ

หัวข้อย่อย:  ทดสอบอุณหภูมิ

ผู้บรรยาย:  หยดนมลงบนข้อมือสักสองสามหยดเพื่อให้แน่ใจว่าอุณหภูมิเหมาะสมที่จะป้อนแล้ว

หัวข้อ:  ให้นมลูกด้วยขวดนม

ผู้บรรยาย:  ให้ลูกดูดนมจากขวด

ฉาก:  พ่ออุ้มลูก

ผู้บรรยาย:  เวลาให้นม ให้อุ้มทารกไว้โดยให้ศีรษะสูงกว่าลำตัว

ฉาก:  คุณพ่อเอียงขวดนมและแตะจุกนมเบาๆ ที่ปากของทารก

ผู้บรรยาย:  ค่อยๆ สัมผัสปากของทารกด้วยจุกนม แล้วทารกจะหันศีรษะไปทางนั้น

หัวข้อย่อย:  เอียงขวด

ผู้บรรยาย:  ถือขวดนมให้เอียงเพื่อให้นมไหลปิดจุกนม เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกน้อยกลืนอากาศระหว่างดูดนม

ฉาก:  ทารกแสดงสัญญาณของความอิ่ม

หัวข้อย่อย:  หยุดให้นมเมื่อมีแสดงสัญญาณของความอิ่ม

ผู้บรรยาย: หยุดให้อาหารเมื่อลูกของคุณแสดงอาการอิ่ม เช่น เมื่อดูดนมช้าลง หยุดดูดหรือหันหลังออกจากขวด

ฉาก:  มีนมเหลือในขวด

หัวข้อย่อย:  ทิ้งนมที่เหลือ

ผู้บรรยาย:  ควรทิ้งนมที่เหลือ
อย่านำนมที่กินไม่หมดมาใช้ซ้ำ
อย่าปล่อยให้ลูกน้อยของคุณอยู่คนเดียวโดยให้ขวดนมและใช้ผ้าขนหนูหรือหมอนหนุน
เพราะอาจทำให้สำลักหรือเพิ่มความเสี่ยงต่อการหายใจไม่ออก

ฉาก:  ภาพฟันผุ

หัวข้อย่อย:  ฟันผุ

ผู้บรรยาย:  การนอนไปกับขวดนมอาจทำให้ฟันผุได้ในภายหลัง

หัวข้อ:  ทำให้ลูกเรอ

ผู้บรรยาย:  ทำให้ลูกเรอ

ฉาก:  เมื่อลูกกินนมเสร็จ พ่ออุ้มเธอขึ้น

ผู้บรรยาย:  ทำให้ลูกเรอหลังกินนมเสร็จ
เพราะอาจป้องกันไม่ให้อาเจียนนมออกมากหลังกินเสร็จ
จังหวะที่ลูกพักขณะกินนม คุณก็ทำให้ลูกเรอได้ด้วยเช่นกัน
การทำให้เรอมีสองวิธีด้วยกัน:

ฉาก:  พ่ออุ้มลูกตั้งตรงและพยุงศีรษะของเธอไว้บนไหล่ของเขา เขาตบหรือลูบหลังเธอเบาๆ

ผู้บรรยาย:  อุ้มลูกของคุณให้ตั้งตรง และพยุงศีรษะเด็กไว้บนไหล่ของคุณ จากนั้นให้คุณแตะหรือลูบหลังเบาๆ สักพัก

ฉาก:  พ่อนั่งทารกบนตัก ใช้มือข้างหนึ่งประคองหน้าอกและศีรษะ ขณะที่อีกมือแตะหรือถูหลังเบาๆ

ผู้บรรยาย:  อีกวิธีหนึ่ง ให้ทารกนั่งบนตักของคุณ ใช้มือข้างหนึ่งประคองหน้าอกและศีรษะของเธอ ขณะที่มืออีกข้างของคุณให้แตะหรือลูบหลังเบา ๆ สักครู่

ฉาก:  พ่อทำให้ลูกอยู่ในท่าตั้งตรง

ผู้บรรยาย:  หลังจากให้นมแล้ว อุ้มลูกน้อยของคุณให้อยู่ในท่าตั้งตรงเป็นเวลา 10 ถึง 20 นาทีสามารถป้องกันไม่ให้สำรอกนม

ตอนจบ:  โลโก้กรมอนามัย

กรมอนามัยเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของวิดีโอดิจิทัลนี้
วิดีโอดิจิทัลนี้จัดทำขึ้นเพื่อการใช้งานที่ไม่ใช่เชิงพาณิชย์เท่านั้น
ไม่ควรให้เช่า ขาย หรือนำไปใช้เพื่อผลกำไร

ผลิตในปี 2015