ตาเหล่และตาเหล่เทียมในเด็กเล็ก
ตาเหล่
ตาเหล่คืออะไร
ตาเหล่คือการเบี่ยงเบนของดวงตาซึ่งแทนที่ดวงตาทั้งคู่จะมองตรง ดวงตากลับมองไปคนละทิศคนละทาง ความผิดปกติหรือการเบี่ยงเบนของดวงตานั้นสามารถเป็นแบบหันเข้าด้านใน หันออกด้านนอก หันขึ้นด้านบนหรือหันลงด้านล่าง ฯลฯ
ตาเหล่เบนเข้าหากันหรือตาเหล่ที่ตาหันเข้าด้านใน เป็นรูปแบบของตาเหล่ที่พบมากที่สุดของ
ตาเหล่เกิดจากอะไร
การตาเหล่สามารถเป็นภาวะที่เกิดขึ้นโดยกำเนิดได้ โรคหรือการบาดเจ็บต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อสมอง เส้นประสาทสมอง ดวงตาหรือกล้ามเนื้อตา เด็กหรือทารกที่มีสายตายาวในระดับที่มีนัยสำคัญ (hyperopia) อาจกลายเป็นตาเหล่ได้
ตาเหล่เกี่ยวข้องกับการมองเห็นที่ไม่ดีอย่างไร
การพัฒนาฟังก์ชันการมองเห็นจำเป็นต้องให้ดวงตาทั้งสองข้างมองไปในทิศทางเดียวกัน หากอาการตาเหล่ไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที การพัฒนาของดวงตาและระบบการมองเห็นของสมองจะได้รับผลกระทบซึ่งส่งผลให้เกิดอาการตาพร่ามัว ดวงตาที่ได้รับผลกระทบอาจกลายเป็น Amblyopic หรือ ภาวะตาขี้เกียจ ดังนั้นปรึกษาแพทย์ นักทัศนมาตรหรือจักษุแพทย์ของท่านตั้งแต่เนิ่น ๆ หากท่านสงสัยว่าบุตรของท่านมีอาการตาเหล่
ตาเหล่เทียม
ตาเหล่เทียมคืออะไร
ตาเหล่เทียมคือลักษณะผิดปกติของอาการตาเหล่แต่ในความเป็นจริงดวงตามองตรงและเป็นปกติ ปัญหานี้พบเห็นได้ส่วนมากในทารกและเด็กเล็กที่มีดวงตาหันเข้าด้านในหรือหันออกตรงข้ามกัน
ทำไมทารกจึงมีลักษณะผิดปกติของตาเหล่มากกว่าคนอื่น ๆ
ทารกและเด็กเล็กพบดั้งจมูกที่กว้างและแบนบ่อยมากกว่าหรือมีรอยพับผิวหนังที่กว้างซึ่งไหลลงบนทั้งสองข้างของจมูก ผลที่ตามมาคือส่วนด้านในของตาขาว (ส่วนสีขาวของลูกตา) ถูกปกคลุมด้วยรอยพับผิวหนังซึ่งนำไปสู่ลักษณะผิดปกติของตาเหล่
ตาเหล่เทียมมีผลต่อการมองเห็นหรือไม่
ไม่ ตาเหล่เทียมเพียงอย่างเดียวไม่มีผลกระทบต่อพัฒนาการการมองเห็น
ตาเหล่เทียมจะกลายเป็นตาเหล่จริงหรือไม่
ไม่ ตาเหล่เทียมอย่างเดียวจะไม่พัฒนากลายเป็นตาเหล่จริง อย่างไรก็ตาม ผู้ปกครองควรดูอย่างใกล้ชิด เพราะตาเหล่อาจเกิดขึ้นในภายหลังและจากสาเหตุหรือโรคอื่น ๆ ที่มีผลต่อเด็ก
ตาเหล่เทียมจำเป็นต้องได้รับการรักษาหรือไม่
ตาเหล่เทียมไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษา เมื่อเด็กโตขึ้นดั้งจมูกที่กว้างมีแนวโน้มที่จะแคบเข้าและลักษณะผิดปกติจะค่อย ๆ ดีขึ้นตามเวลา
แพทย์ของฉันบอกว่าทารกของฉันมีอาการตาเหล่เทียม ฉันควรจะทำอย่างไร
ท่านควรสังเกตดวงตาของบุตรของท่านเป็นครั้งคราวเพราะเขามีโอกาสเท่า ๆ กันกับเด็กคนอื่น ๆ ในการมีอาการตาเหล่หรือปัญหาอื่น ๆ เกี่ยวกับดวงตาในภายหลัง
ปรึกษาแพทย์ นักทัศนมาตรหรือจักษุแพทย์ของท่านสำหรับคำแนะนำทางการแพทย์หากบุตรของท่านมีภาวะใด ๆ ดังต่อไปนี้:
- ดวงตาของเด็กดูแปลก ๆ อยู่ตลอดเวลาในรูปถ่ายหรือจากการสังเกตในแต่ละวัน
- ตาทั้งสองข้างไม่ได้เคลื่อนที่ไปด้วยกัน
- ปิดหรือครอบตาข้างหนึ่งไว้เมื่อดูโทรทัศน์หรืออ่านหนังสือ
- เอียงศรีษะเมื่อมองไปที่วัตถุ
- บีบตา ตาเหล่ ขยี้ตา กระพริบตามากกว่าปกติ
- บ่นว่ามองเห็นไม่ชัด
- อาการน้ำตาไหล
- ปัญหาเกี่ยวกับตาอื่น ๆ