การคัดกรองความผิดปกติทางสายตาก่อนเข้าเรียน

(เนื้อหาปรับปรุงใหม่ 06/2019)

บุตรของท่านอายุสี่ปีแล้ว กรุณาติดต่อ MCHC ของท่านสำหรับการคัดกรองความผิดปกติทางสายตาก่อนเข้าเรียน

บริการอนามัยครอบครัวของกรมอนามัยจัดตั้งการคัดกรองความผิดปกติทางสายตาก่อนเข้าเรียนสำหรับเด็กอายุ 4 ถึง 5 ปีโดยนักทัศนมาตร/นักดูแลผู้ป่วยโรคตาที่ลงทะเบียน

ทำไมบุตรของฉันต้องรับการคัดกรองความผิดปกติทางสายตา

ระบบการมองเห็นจะพัฒนาต่อหลังจากคลอดและและโตขึ้นโดยอายุประมาณ 8 ปี การมองเห็นที่ผิดปกติหรือความผิดปกติที่เกี่ยวข้อง*นั้นอันตรายต่อกระบวนการเจริญเติบโต หากไม่ทำการแก้ไข การมองเห็นของเด็กในอนาคตอาจลดลง

อย่างไรก็ตาม เป็นเรื่องยากที่จะระบุเด็กที่ได้รับผลกระทบเพียงแค่การสังเกตประจำวัน วิธีการที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดที่จะตรวจพบความผิดปกติเหล่านี้คือการคัดกรองความผิดปกติทางสายตา เด็กสามารถได้รับการรักษาแต่เนิ่น ๆ เพื่อปกป้องพัฒนาการด้านการมองเห็นด้วยการคัดกรองความผิดปกติทางสายตา

*สาเหตุทั่วไปของการมองเห็นที่ผิดปกติ ประกอบด้วย:

  1. ตาขี้เกียจ
  2. ตาเหล่
  3. ภาวะสายตาบกพร่องอย่างมีนัยสำคัญ เช่น สายตายาว สายตาสั้น และสายตาเอียง

บุตรของฉันสวมใส่แว่นตาแล้ว เขายังต้องได้รับการคัดกรองความผิดปกติทางสายตาอีกหรือไม่

ใช่ เขาควรได้รับการตรวจการมองเห็นและภาวะสายตาบกพร่องกับนักทัศนมาตรหรือแพทย์ดวงตาเป็นประจำ

ทำไมต้องคัดกรองความผิดปกติทางสายตาเมื่ออายุ 4 ปี

  • เด็กอายุ 4 ถึง 5 ปีให้ความร่วมมือมากกว่าเด็กที่อายุน้อยกว่า ผลของการตรวจจึงน่าเชื่อถือมากกว่า
  • การตรวจพบและการรักษาตาขี้เกียจตั้งแต่เนิ่น ๆ สามารถทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีขึ้นได้

การคัดกรองความผิดปกติทางสายตาประกอบด้วยการทดสอบอะไรบ้าง

นักทัศนมาตร/นักดูแลผู้ป่วยโรคตาที่ลงทะเบียนเป็นผู้ทำการทดสอบการคัดกรองความผิดปกติทางสายตา:

การตรวจนั้บรวมถึง

  • ระดับสายตา
  • การเห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตา (สำหรับการตรวจอาการตาเหล่)

สำหรับเด็กที่การมองเห็นลดลง:

  • การประมาณการภาวะสายตาบกพร่อง
  • การตรวจด้านหลังของตา

การตรวจนั้นไม่รวม

  • การมองเห็นสี
  • การตรวจโรคทางดวงตา เช่น โรคต้อหิน หรือโรคของเรตินา
  • รายละเอียดการประเมินภาวะสายตาบกพร่อง

ผู้ปกครองสามารถช่วยเหลือในการคัดกรองความผิดปกติทางสายตาได้อย่างไร

ผู้ปกครองสามารถช่วยด้วยวิธีการต่อไปนี้ในการทำให้การคัดกรองความผิดปกติทางสายตาสำหรับบุตรของพวกเขาง่ายขึ้น:

  • นัดเวลาในช่วงที่บุตรของท่านไม่ง่วงนอน
  • ใช้รูปภาพในแผ่นพับนี้อธิบายบุตรของท่านว่าการคัดกรองความผิดปกติทางสายตาคืออะไร
  • มีผู้ใหญ่ที่คุ้นเคยอยู่กับบุตรด้วย

หากบุตรของฉันผ่านการคัดกรองความผิดปกติทางสายตา นั่นหมายความว่าอะไร

หมายความว่า โอกาสในการเป็นโรคตาขี้เกียจและภาวะสายตาบกพร่องอย่างมีนัยสำคัญนั้นน้อยมาก อย่างไรก็ตาม เด็กบางคนอาจมีปัญหาเกี่ยวกับสายตาเมื่ออายุมากขึ้น ดังนั้นบุตรของท่านยังต้องเข้ารับการตรวจอีกครั้งในชั้นประถมหนึ่งโดยบริการสุขภาพนักเรียนของกรมอนามัย

หากบุตรของฉันไม่ผ่านการคัดกรองความผิดปกติทางสายตา นั่นหมายความว่าอะไร

ซึ่งหมายความว่าบุตรของท่านต้องการการการประเมินเพิ่มเติม โดยปกติการจัดการจะเป็นดังนี้:

  • เมื่อมีภาวะสายตาบกพร่องเล็กน้อย → แนะนำให้มีการประเมินรายละเอียดโดยนักทัศนมาตรของชุมชน
  • หากตรวจพบตาขี้เกียจหรือภาวะสายตาบกพร่องอย่างรุนแรง → อ้างถึง คลินิกจักษุวิทยา (คลินิกดวงตา)

ระดับสายตาที่ปกติไม่รวมถึงภาวะสายตาบกพร่องใช่หรือไม่

ไม่ เด็กอาจยังมีภาวะสายตาบกพร่องอยู่แม้ว่าพวกเขาจะผ่านการวัดระดับการมองเห็นแล้วก็ตาม เหมือนการตรวจคัดกรองอื่น ๆ การคัดกรองความผิดปกติทางสายตาไม่สามารถตรวจพบอาการผิดปกติทางสายตาทั้งหมดได้หากท่านมีข้อกังวลใด ๆ บุตรของท่านอาจจำเป็นต้องได้รับการประเมินแบบละเอียดโดยนักทัศนมาตรของชุมชน

พาบุตรของท่านพบแพทย์ของท่านหรือนักทัศนมาตรหาก

  • ท่านสงสัยว่าบุตรมีปัญหาด้านการมองเห็น
  • บุตรของท่านพัฒนาพฤติกรรมการมองเห็นที่ผิดปกติ เช่น กระพริบตาถี่กว่าปกติ เอียงศีรษะ หรี่ตา ปิดตาข้างหนึ่งเมื่ออ่านหนังสือหรือดูทีวี หรือถือสิ่งของใกล้ดวงตาเพื่อให้มองเห็น

จะทำการนัดหมายเพื่อทำการคัดกรองความผิดปกติทางสายตาก่อนเข้าเรียนได้อย่างไร

หากบุตรของท่านลงทะเบียนกับ MCHC และอายุถึง 4 ปี ท่านสามารถติดต่อ MCHC หรือเข้าระบบนัดหมายบริการสุขภาพเด็กที่เว็บไซต์ของเราและปฏิบัติตามคำแนะนำเกี่ยวกับ "ระบบนัดหมายอัตโนมัติสำหรับจุดบริการสุขภาพเด็ก" เพื่อทำการนัดหมาย เปลี่ยนแปลง ยกเลิกหรือตรวจสอบการนัดหมาย

หากบุตรของท่านไม่ได้ลงทะเบียนกับ MCHC ใด ๆ ให้ทำการนัดหมายสำหรับการลงทะเบียนก่อน สำหรับรายละเอียดของขั้นตอนการลงทะเบียนและสถานที่ของ MCHC ท่านสามารถเข้าเว็บไซต์บริการอนามัยครอบครัวwww.fhs.gov.hkหรือโทรสายด่วนบริการข้อมูลตลอด 24 ชั่วโมงที่ 2112 9900

ข้อปฏิบัติ

  • มีโภชนาการที่สมดุลและออกกำลังกายกลางแจ้งทุกวัน
  • อ่านหนังสือหรือทำงานภายใต้สภาพแวดล้อมที่มีแสงสว่างอย่างเพียงพอ
  • เว้นระยะห่างระหว่างสายตากับหนังสืออย่างน้อย 30 ซม.
  • จำกัดเวลาหน้าจอไม่เกิน 1 ชั่วโมงต่อวันสำหรับเด็กอายุ 2-5 ปี และอยู่ภายใต้คำแนะนำของผู้ปกครอง
  • รักษาระยะห่างการมองให้ไม่ต่ำกว่า 50 ซม.สำหรับหน้าจอคอมพิวเตอร์ 40 ซม.สำหรับแท็บเล็ตและ 30 ซม. สำหรับสมาร์ตโฟน เว้นระยะห่างการมองจากโทรทัศน์เท่าที่ห่างได้ ยิ่งห่างมากยิ่งดี
  • 20-30 นาทีหลังจากการอ่านหนังสือหรือมองหน้าจอ ให้พักสายตาเป็นเวลา 20-30 วินาที โดยการมองไกลออกไปเพื่อพักกล้ามเนื้อตา
  • สวมใส่แว่นตาป้องกันเมื่อเล่นกีฬาที่ใช้อุปกรณ์ความเร็วสูง เช่น สควอช
  • ปรึกษาแพทย์หรือนักทัศนมาตรในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับดวงตา

ข้อห้าม

  • จ้องมองบริเวณที่มีแสงจ้าโดยตรงหรืออ่านหนังสือภายใต้แสงจ้า
  • อยู่ใต้แสงแดดจ้าเป็นเวลานานโดยไม่สวมใส่แว่นกันแดด
  • อ่านหนงสือบนรถยนต์ที่วิ่งอยู่หรือบนเตียง
  • ดูทีวีในห้องที่แสงสลัว
  • ขยี้ดวงตาของท่านด้วยมือ หากฝุ่นเข้าตา ให้หลับตาเพื่อให้น้ำตากำจัดฝุ่นออกไป
  • วางของมีคมและผงซักฟอกหรือสารกัดกร่อนภายในระยะเอื้อมถึงของเด็กหรือไม่มีผู้ดูแล
  • หยอดตาโดยไม่ปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ