บุตรของฉันท้องผูกหรือไม่

(เนื้อหาปรับปรุงใหม่ 12/2019)

บุตรของฉันท้องผูกหรือไม่

ทารกและเด็กเล็กมักจะมีอาการท้องผูกเป็นเรื่องปกติ แต่จะเกิดขึ้นน้อยในทารกที่มีอายุน้อยกว่า 6 เดือน โดยเฉพาะทารกที่ยังทานนมแม่อยู่ เนื่องจากนมแม่มีปริมาณน้ำที่เพียงพอและง่ายต่อการย่อยและดูดซึม เมื่อเปลี่ยนการให้นมมาเป็นนมผงเด็กแรกเกิดหรือมีการเริ่มป้อนอาหารแข็งในช่วงอายุประมาณ 6 เดือน อุจจาระของเด็กอาจเกิดการแข็งตัว และทำให้ขับถ่ายได้น้อยครั้งลง ท่านอาจกังวลว่าบุตรของท่านอาจมีอาการท้องผูกได้ พฤติกรรมการขับถ่ายของเด็กแต่ละคนจะต่างกันออกไป อาจมีตั้งแต่ขับถ่ายหลายครั้งต่อวันสำหรับทารกแรกเกิด และหนึ่งครั้งต่อ 2 ถึง 3 วันสำหรับวัยเด็ก ดังนั้นการเคลื่อนที่ของลำใส้ของเด็กจึงไม่ใช่อาการเดียวที่จะบ่งบอกว่าเด็กมีอาการท้องผูกหรือไม่ ตราบใดที่อุจจาระไม่แข็งก็ถือว่าปกติ

อาการท้องผูกคืออะไร

เมื่อเด็กขับถ่ายไม่ได้ไม่ว่าจะเพราะเหตุใดก็ตาม อุจจาระจะสะสมตัวในลำใส้ของเด็ก เมื่อเวลาผ่านไปอุจจาระเหล่านี้จะแข็งตัวและแห้ง จึงทำให้เกิดอาการท้องผูก เด็กที่ท้องผูกอาจมีอาการต่อไปนี้:

  • มีการเคลื่อนตัวของลำใส้ที่ไม่ปกติหรือช้าผิดปกติ
  • มีอุจจาระที่แห้งและแข็งทั้งในรูปแบบก้อนใหญ่และก้อนเล็ก ๆ
  • ขับถ่ายยากหรือมีอาการเจ็บขณะขับถ่าย มีการอั้นอุจจาระ
  • มีการผายลมและอุจจาระที่เหม็น ผายลมมากกว่าปกติ
  • อุจจาระเหลวในลำใส้
  • มีอาการปวดท้องหรือท้องอืด (แข็ง) เป็นบางช่วง
  • เนื้อเยื้อทวารหนักฉีกขาดเนื่องจากมีอุจจาระแข็งเคลื่อนผ่าน
  • มีเลือดในอุจจาระ
  • ไม่มีความอยากอาหาร
  • ไม่มีพลังงาน อารมณ์ฉุนเฉียว

สาเหตุที่เป็นไปได้ของอาการท้องผูกในทารกและวัยเด็ก:

อาการท้องผูกมักเกิดขึ้นในช่วงการเปลี่ยนผ่านต่อไปนี้ในวัยทารก/วัยเด็ก:

  1. การเริ่มป้อนอาหารแข็ง
    • การเปลี่ยนแปลงนิสัยการทานอาหาร
    • บริโภคอาหารไม่สมดุล ขาดใยอาหารหรือการดื่มน้ำ
  2. การฝึกใช้ห้องน้ำ
    • การอั้นอุจจาระเนื่องจากกลัวที่นั่งโถส้วม
    • การสร้างนิสัยการขับถ่ายที่ไม่ดี
    • การนั่งโถส้วมในท่าที่ผิด
  3. การเข้าโรงเรียนเด็กก่อนวัยเรียน
    • การไม่คุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมของห้องน้ำ
    • การเปลี่ยนแปลงของกิจวัตรประจำวัน
  4. สาเหตุที่เป็นไปได้อื่น ๆ :
    • มีไข้ ขาดน้ำ การเคลื่อนไหวไม่ได้
    • การฉีกขาดบริเวณทวารหนัก
    • การขาดการออกกำลังกาย
    • การแพ้นมวัว
    • ผลของยาบางตัว
    • เกี่ยวข้องกับโรคอื่น ๆ

การจัดการอาการท้องผูกในวัยเด็ก:

สำหรับเด็กอ่อน:

  • เป็นปกติที่ทารกจะมีอาการท้องผูกหากเปลี่ยนชนิดนมที่ป้อน เช่น เปลี่ยนจากนมแม่ไปเป็นนมผงเด็กแรกเกิด หรือเปลี่ยนจากนมผงสูตรหนึ่งไปเป็นอีกสูตรหนึ่ง เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องรู้ไว้เสมอว่านมสูตรที่ต่างกันไม่ควรผสมกันในขณะชง ควรทำตามขั้นตอนการชงนมจากผู้ผลิตเสมอเพื่อทำให้มั่นใจว่าบุตรของท่านจะได้รับสารอาหารและของเหลวที่เพียงพอ หากจำเป็น ท่านควรป้อนน้ำในปริมาณเล็กน้อยกับบุตรของท่านในระหว่างการป้อนอาหารด้วย
  • เมื่อบุตรของท่านมีอายุ 6 เดือนและเริ่มทานอาหารแข็งได้ ควรป้อนน้ำในปริมาณที่เพียงพอและเลือกป้อนอาหารที่มีโภชนาการและใยอาหารสูง เช่น ผลไม้บด (เช่น แอปเปิล หรือ ลูกแพร์) และผักสับ (เช่น บรอกโคลี ผักโขม) เพื่อป้องกันและลดอาการท้องผูก

สำหรับเด็กอายุหนึ่งปีขึ้นไป ควรลองวิธีดังนี้:

  1. การเตรียมอาหารที่มีประโยชน์
    1. การให้ได้รับของเหลวปริมาณที่เพียงพอ
      • ระหว่างอาหารแต่ละมื้อ น้ำเปล่าจะเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด
      • ปริมาณการดื่มน้ำของเด็กนั้นไม่มีปริมาณที่เป็นมาตรฐานตายตัว แต่ควรให้ดื่มน้ำอย่างน้อยหนึ่งแก้วในแต่ละมื้ออาหารและอาหารว่าง
      • หากบุตรของท่านปัสสาวะทุก ๆ 3-4 ชั่วโมง และสีของปัสสาวะอ่อนและไม่มีกลิ่นแรง แสดงว่าบุตรของท่านได้ดื่มน้ำในปริมาณที่เหมาะสม
      • สร้างโอกาสที่จะทำให้บุตรของท่านคุ้นชินกับการดื่มน้ำ เช่น เสนอน้ำดื่มให้กับเขาในวันที่อากาศร้อนหรือหลังจากออกกำลังกาย วางน้ำถ้วยเล็ก ๆ ไว้ในที่ ๆ เขาเอื้อมหยิบได้
      • ในระหว่างการรับประทานอาหารควรให้เพียงน้ำเปล่าหรือซุปรสเค็มนิด ๆ เท่านั้น เพื่อไม่เป็นการทำลายความอยากอาหารของเด็ก
      • หลีกเลี่ยงน้ำหวาน เช่น โยเกิร์ตและน้ำอัดลม เพราะน้ำเหล่านี้จะมีผลต่อการขับถ่ายปกติและยังทำให้เกิดโรคอ้วนอีกด้วย หากท่านให้น้ำผลไม้สดแก่บุตรของท่าน ก็ไม่ควรเกิน 120 ml ต่อวัน และให้ทานผลไม้เป็นลูกจะดีกว่า
      • หลีกเลี่ยงการบริโภคนมในปริมาณที่เกินควร เนื่องจากนมจะทำให้ไม่อยากอาหารและยังดูดซึมสารอาหารอื่น ๆ ในอาหารแข็งอีกด้วย เช่น เส้นใยอาหาร สำหรับเด็กอายุ 1 ปีขึ้นไป ควรดื่มนมไม่เกิน 360-480 ml ต่อวัน สำหรับเด็กอายุ 2 ปีขึ้นไป เด็กควรเปลี่ยนรูปแบบนมจากนมไขมันเต็มเป็นนมไขมันต่ำ และสามารถดื่มนมขาดมันเนยได้ตั้งแต่อายุ 5 ปีขึ้นไป เด็กสามารถทานนมแม่ต่อได้หากต้องการจนถึงอายุ 2 ปีหรือมากกว่า
    2. จัดหาผักและผลไม้ในระหว่างมื้อเที่ยงและมื้อเย็น
      • ผักและผลไม้เช่นแครอท ฟักทอง ผักกวางตุ้ง ส้ม แอปเปิล และลูกพลัม ล้วนอุดมไปด้วยใยอาหาร
      • สามารถทานผลไม้ที่มีน้ำเยอะ เช่น ฟักเขียว แตงโม ลูกแพร์ เพื่อเป็นการเสริมปริมาณน้ำในร่างกายได้
    3. จัดหาธัญพืชหรืออาหารที่มีแป้งให้ในแต่ละมื้อ
      • อาหารทั้งสองชนิดล้วนอุดมไปด้วยเส้นใยอาหาร
      • ธัญพืชแบบเต็มเมล็ดและแบบไม่เต็มเมล็ดได้แก่ ขนมปัง ข้าว เส้นพาสตา เส้นบะหมี่ และข้าวโอ๊ต อาหารที่มีแป้ง เช่นมันหวาน และมันฝรั่ง
    4. หลีกเลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาลและไขมันสูง
      • ตัวอย่างเช่น น้ำอัดลม ลูกกวาด เค้ก บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ของทอด และของหวาน
      • อาหารเหล่านี้มีสารอาหารที่ไม่จำเป็น และอาหารเหล่านี้ยังทำให้เด็กอิ่ม อันเป็นผลให้ไม่อยากทานอาหารอื่น ๆ ที่มีประโยชน์
    5. ให้รับประทานอาหาร 3 มื้อเป็นประจำ และมีของทานเล่น 2 มื้อในระหว่างมื้อหลักเท่านั้น
      • ทำให้มื้ออาหารสมดุลและรักษากิจวัตรประจำไว้เสมอ ห้ามเตรียมอาหารพิเศษให้นอกเวลาที่จัดไว้
  2. ส่งเสริมให้มีกิจกรรมที่ใช้ร่างกายมากขึ้น

    ส่งเสริมให้บุตรของท่านมีความกระตือรือร้นอยู่ตลอดเวลา ตั้งแต่การขยับตัวไปรอบ ๆ จนถึงกิจกรรมที่ใช้พลังงานมาก เช่น เล่นบอลหรือวิ่ง กิจกรรมออกกำลังกายจะช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานอยู่เสมอและช่วยกระตุ้นการขับถ่าย

  3. การจัดการพฤติกรรม

    การจัดการพฤติกรรมสามารถใช้เพื่อส่งเสริมนิสัยการกินที่ดีและระดับการทำกิจกรรมในบุตรของท่าน โดยปกติจะใช้ควบคู่ไปกับวิธีข้างต้นพร้อมกับใบสั่งยาหากจำเป็น

    • ออกแบบขั้นตอนที่ชัดเจนเพื่อช่วยให้บุตรของท่านสร้างกิจวัตรประจำวันขึ้นมา เช่น การดื่มน้ำ วิถีชีวิตที่กระตือรือร้นมากขึ้น และเวลาของการขับถ่าย (อ้างถึงแผ่นพับ ชุดการเลี้ยงดูบุตร ‘บอกลาผ้าอ้อมได้เลย’)
    • ใช้วิธีการอธิบายอย่างตรงไปตรงมาและเชิงบวกถึงสิ่งที่บุตรของท่านทำได้ดีเพื่อเป็นการให้กำลังใจกับเขา
    • ท่านอาจใช้แผนภูมิพฤติกรรมควบคู่ไปด้วยเพื่อส่งเสริมนิสัยการขับถ่ายปกติสำหรับเด็กอายุ 2 ขวบขึ้นไป โดยเริ่มจากเป้าหมายง่าย ๆ ก่อน (เช่น ติดสติกเกอร์ทุกครั้งที่ขับถ่าย) และเพิ่มระดับความยากขึ้นเรื่อย ๆ การให้รางวัลก็ควรทำให้เป็นกิจกรรมที่บุตรชื่นชอบแทนที่จะเป็นการให้อาหาร ซึ่งจะได้รับรางวัลก็ต่อเมื่อมีสติกเกอร์ครบจำนวนหนึ่ง (อ้างถึงแผ่นพับ ชุดการเลี้ยงดูบุตร ‘การจัดการพฤติกรรมบุตรก่อนวัยเรียนของท่าน’)
    • หากบุตรของท่านมีอาการท้องผูกด้วยปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อม ท่านอาจต้องค้นหาสาเหตุพร้อมทั้งทำการปรับเปลี่ยนในสภาพแวดล้อมนั้น ตัวอย่างเช่น ท่านอาจต้องคุยกับครูเพื่อให้เข้าใจสภาพแวดล้อมของห้องน้ำและตารางเวลาการเข้าห้องน้ำในโรงเรียนเด็กก่อนวัยเรียน หรือท่านอาจส่งเสริมให้บุตรของท่านขับถ่ายในเวลาที่สะดวกมากกว่า
    • ในระหว่างการจัดการพฤติกรรม ท่านต้องมีความอดทน สังเกตและบันทึกอย่างใกล้ชิด พูดคุยกับบุตรของท่านเพื่อทำความเข้าใจความรู้สึกของเขา และให้เขาเข้าใจขั้นตอนต่าง ๆ อย่างทั่วถึงเพื่อที่เขาจะได้สนุกกับกระบวนการการขับถ่ายอุจจาระ
  4. ใบสั่งยา
    • อาการท้องผูกที่เห็นได้ชัดจะต้องพึ่งการใช้ยาเพื่อช่วยขับถ่ายอุจจาระที่แข็งตัว โดยจะเห็นผลได้มากขึ้นหากใช้ควบคู่ไปกับวิธีที่กล่าวไว้ข้างต้น

    ปรึกษาแพทย์ของท่าน:

    • ปัญหาท้องผูกของเด็กโดยปกติสามารถดีขึ้นได้โดยการเปลี่ยนอาหาร หากยังมีปัญหาอยู่ เช่น อุจจาระเหลวหรืออุจจาระมีเลือด ควรพาบุตรของท่านไปพบแพทย์โดยทันที
    • ห้ามซื้อยาระบายหรือยาเหน็บด้วยตัวเองเพื่อมาใช้กับตัวเด็ก การใช้ยาสำหรับอาการท้องผูกในเด็กควรได้รับจากการจ่ายยาของกุมารแพทย์หรือจากแพทย์ครอบครัวของท่านเท่านั้น