การดูแลบุตรชุดที่ 20 - การอบรมคุณธรรมและค่านิยมแก่เด็ก 2 (อายุ 2 - 4 ปี)

(เนื้อหาปรับปรุงใหม่ 12/2019)

การอบรมคุณธรรมและค่านิยมแก่เด็กตอนที่ II และตอนที่ III มุ่งเน้นให้แนวคิดในการปรับใช้ กลยุทธ์ '6R1O' ซึ่งอธิบายในตอนที่ I การบ่มเพาะค่านิยมและคุณธรรมแก่เด็กอนุบาล

แผ่นพับนี้แนะนำคุณธรรมสำคัญบางประการที่สามารถอบรมแก่เด็กอายุสองปีขึ้นไปได้

  • ความเมตตา - เพื่อตระหนักและทราบถึงความต้องการของผู้อื่น
  • ความห่วงใย - เพื่อรู้สึก มีความเป็นห่วง และช่วยเหลือผู้อื่น
  • การแบ่งปัน - เพื่อให้ผู้อื่นสุขใจกับสิ่งที่ท่านมีกับท่าน
  • การร่วมมือ - เพื่อให้ทุกคนมีส่วนร่วมและช่วยกันบรรลุภารกิจหรือเป้าหมาย
  • ความเคารพ - เพื่อเห็นและยอมรับคุณค่าและสิทธิของผู้อื่น

ความคิด

ท่านเห็นด้วยหรือไม่ว่าคุณธรรมข้างต้นสำคัญกับบุตรของท่าน

หากท่านเห็นด้วยว่าคุณธรรมข้างต้นสำคัญ บทความต่อไปนี้จะอธิบายวิธีส่งเสริมคุณธรรมเหล่านี้แก่บุตรของท่าน หรือท่านสามารถใช้กลยุทธ์ต่าง ๆ เพื่อขยายความเรื่องการอบรมคุณธรรมและค่านิยมแก่เด็กตอนที่ I เพื่อส่งเสริมค่านิยมอื่น ๆ ตามทางเลือกของท่าน

ความสำคัญของขั้นตอนการพัฒนา

คำนึงถึงความสามารถทางสติปัญญาของเด็กเมื่อทำการปลูกฝังค่านิยมแก่เขา เนื่องจากเด็กเรียนรู้ผ่านปัจจัยที่แตกต่างตามขั้นตอนการพัฒนาที่แตกต่าง

  • เมื่อบุตรของท่านเป็นเด็กแรกเกิด เขาจะ ลอกเลียน การกระทำของท่านก่อนที่เขาจะเข้าใจความหมายของการกระทำนั้น ดังนั้นจงเป็นแบบอย่างที่ดีแก่บุตรของท่าน
  • หลังอายุหนึ่งปี เมื่อเขาสามารถปฏิบัติตามคำสั่งสอนของท่านได้ เริ่มจากการสอนให้เขาแสดงออกอย่างตรงไปตรงมา เช่น ให้เขาพูด 'อรุณสวัสดิ์ ' กับผู้อื่นเพื่อแสดงความเคารพหรือการหย่อนเหรียญในตู้รับบริจาคเพื่อแสดงความห่วงใยที่เขามีต่อผู้ยากไร้
  • เมื่อเขาอายุสองขวบ เขาจะเริ่มเรียนรู้ค่านิยมที่ต้องทำให้เขาเอาใจเขามาใส่ใจเรา
  • ความสามารถในการมองในมุมมองของผู้อื่นมักพัฒนาขึ้นเมื่ออายุสี่ขวบขึ้นไป ค่านิยมเช่น ความเคารพและความห่วงใย จะมีความหมายมากกว่าการกระทำทั่วไป บุตรของท่านจะเข้าใจผู้อื่น นำความคิดที่เขาคิดว่าถูกต้องมาปฏิบัติ หรือแม้แต่คัดค้านการกระทำของผู้ใหญ่ ดังนั้นสำคัญมากที่คุณต้องเป็นแบบอย่างที่ดีและค้ำจุนค่านิยมของท่านเองต่อหน้าบุตร

การสร้างความร่วมรู้สึกเป็นพื้นฐานสำคัญ

ความร่วมรู้สึกคือคุณลักษณะพื้นฐานของค่านิยมสำคัญเรื่องความเมตตา ความห่วงใย การแบ่งปัน และความเคารพ ความเห็นใจ หมายถึงความเข้าใจผู้อื่น การสร้างรูปแบบความสัมพันธ์เชิงบวกกับบุตรของท่านตั้งแต่แรกเกิดเป็นการปูพื้นฐานเรื่องความเห็นใจให้พัฒนาต่อไป ผู้ปกครองและบุตรสามารถสร้างความสัมพันธ์เชิงบวกได้อย่างไร โดยการแสดงความรัก ต่อบุตรของท่านตอบโต้ทันที ต่อความต้องการของเขาชมเชยและให้กำลังใจ สำหรับความพยายามของเขา การปฏิบัติเช่นนี้จะทำให้เขาเรียนรู้ที่จะตอบโต้ด้วยอารมณ์เชิงบวกและเข้าใจผู้อื่น เมื่อท่านสื่อสารกับบุตรให้พยายาม

  • เป็นแบบอย่าง เรื่องความรู้สึกแก่บุตรและผู้อื่นรอบตัวท่าน
    • ให้ความสนใจทางกายภาพ แก่บุตรของท่าน เช่น การกอดและการยิ้มเพื่อแสดงถึงความรักที่ท่านมีให้เขา
    • พยายามเข้าใจบุตรของท่าน อธิบายว่าเขารู้สึกอย่างไรและตอบสนองความต้องการและอารมณ์ของเขาทันที เช่น 'แม่รู้ว่าหนูกำลังกังวลใจ มีอะไรรบกวนจิตใจหนูหรือเปล่าลูก'
    • แสดงให้เขาเห็นวิธีการใส่ใจผู้อื่น ผ่านพฤติกรรมในชีวิตประจำวันของท่านเอง เช่น เปิดประตูให้ผู้อื่นที่ถือของในมือ ช่วยทำธุระเล็กน้อยให้เพื่อนบ้านสูงอายุ
  • ช่วยบุตรของท่านเล็งเห็นและแสดงความรู้สึก อย่างเหมาะสม
    • เมื่ออ่านหนังสือหรือดูวิดีโอ ดึงดูด ความสนใจของเธอไปยังความรู้สึกของตัวละครและพูดคุย กับเธอเรื่องนี้
    • นิยามและอธิบาย ความรู้สึกเชิงบวกของท่านแก่เขาเมื่อท่านมีความรู้สึก เช่น 'มีความสุข' เมื่อได้ออกไปเที่ยว 'รู้สึกผ่อนคลาย' หลังทำงานบ้านทั้งหมดเสร็จสิ้น 'รู้สึกพอใจ' หลังมื้ออาหารแสนอร่อย และอื่น ๆ
    • นิยามและอธิบายความรู้สึกเชิงลบแต่ระวังจะรบกวนเขามากเกินไป เลือกบางความรู้สึกที่ท่านสามารถรับมือทางอารมณ์และไม่เกี่ยวข้องกับบุตร เช่น 'อารมณ์ไม่ดี' เมื่อรถติด 'รู้สึกผิดหวัง' เมื่อฝนตกตอนที่ท่านออกไปข้างนอกเพื่อเดินเล่นในสวนสาธารณะ
    • อธิบายความรู้สึกที่เธอมีหรือที่ผู้อื่นมีพร้อมเหตุผลที่เป็นไปได้ประกอบกัน

เขาอาจเรียนรู้ที่จะพูดคุยเรื่องความรู้สึกอย่างช้า ๆ เมื่อเขา รู้คำศัพท์

  • ปลูกฝัง ไหวพริบ ความเข้าใจผู้อื่นแก่บุตรของท่าน
    • ดึงดูดความสนใจไปที่พฤติกรรมทำให้เสียความรู้สึก เช่น 'การหัวเราะรอนเมื่อเขาสะดุดล้มทำให้รอนรู้สึกแย่' นำทางเขาให้คิดในมุมมองของผู้อื่นโดยการถามว่าจะรู้สึกอย่างไรหากต้องอยู่ในสถานการณ์เดียวกันกับบุคคลนั้น 'หนูจะรู้สึกยังไงถ้ารอนหัวเราะตอนหนูสะดุดล้มบ้าง' จากนั้นถามต่อว่าเขาต้องการให้ผู้อื่นปฏิบัติอย่างไรแทน 'แล้วอยากให้รอนปฏิบัติยังไงแทน'

ส่งเสริมความเมตตาและความห่วงใย

  • แสดงความตระหนักถึงผู้คนและสัตว์รอบตัว และแนะแนวบุตรของท่านให้ปฏิบัติตตาม เช่น การให้ความสนใจคุณย่าโดยการโทรหาเป็นประจำ ความห่วงใยเพื่อน หรือการดูแลสัตว์เลี้ยง
  • บริจาคเงินแก่ผู้ยากไร้และแนะนำให้เขาออมเงินเล็กน้อยจากเงินที่ท่านให้เพื่อการบริจาค
  • ปฏิบัติกิจกรรมอาสากับบุตรของท่านเพื่อแสดงการคำนึงถึงผู้ยากไร้
  • บอกเขาว่าการแบ่งปันและการให้สามารถสร้างความสุขได้เหมือนกับการรับเมื่อได้เห็นผลลัพธ์ที่ผู้รับได้รับ

คิด:

ค่านิยมใดที่ท่านต้องการปลูกฝังให้แก่บุตรของท่าน

ท่านใช้เวลาช่วงบ่ายอันแสนเหน็ดเหนื่อยไปกับการจับจ่ายกับบุตรของท่านและกำลังกลับบ้านด้วยรถไฟฟ้า MTR ท่านเห็นเก้าอี้ว่างและบุตรของท่านกำลังไปจองที่อย่างรวดเร็ว ขณะท่านกำลังพอใจว่าบุตรเร่งรีบที่จะจองที่ให้ท่าน ท่านเห็นหญิงสูงอายุท่านหนึ่งยืนอยู่ใกล้ ๆ ท่านมีปฏิกิริยาอย่างไร และท่านจะปฏิบัติอย่างไร

การส่งเสริมการแบ่งปันและการให้ความร่วมมือ

  • เมื่ออยู่ที่บ้าน แสดงให้บุตรของท่านเห็นความสุขจากการแบ่งปัน อาหารหรือสิ่งของให้สมาชิกในครอบครัว
  • สอนเขาว่าปฏิบัติตามกฎและสลับกัน อย่างไร หากการแบ่งปันเป็นไปไม่ได้
  • ชมเชย เขาเมื่อปฏิบัติตามกฏและเป็นมิตรกับพี่น้องและเพื่อน
  • เมื่อใดก็ตามที่มีการวิวาท เข้าร่วมเมื่อท่านคิดว่าจำเป็น แนะแนวเด็กเล็กให้หยุดทะเลาะกันและพูดคุยว่าจะปฏิบัติอย่างไรต่อไป สำหรับเด็กโต ใช้วิธี การชักนำ เพื่ออธิบายผลลัพธ์และทางเลือกอื่น ๆ เพื่อแก้ปัญหา เช่น 'ถ้าหนูสู้กันเพื่อแย่งของเล่นกับแซลลี่จะเกิดอะไรขึ้น' 'ใช่ สุดท้ายหนูจะสู้กันเองและหนูทั้งคู่จะเปลี่ยนช่วงเวลาที่สนุกสนานเป็นการทะเลาะกัน และที่หนูเล่นกันก็จะจบลง' ท่านสามารถอธิบายเพิ่มเพื่อแนะเด็กให้คิดเกี่ยวกับวิธีแก้ปัญหาอื่น ๆ โดยคำนึงถึงความสุขของทุกฝ่าย 'หนูจะทำอย่างไรถ้าหนูปฏิบัติแตกต่างออกไป '

การสร้างความเคารพ

สอนบุตรของท่านถึงวิธี เห็นและยอมรับคุณค่าและสิทธิของผู้อื่น อย่างสุภาพ ตระหนักถึงความรู้สึกและความต้องการของผู้อื่น และชื่นชมความแตกต่างของผู้คน เพียงท่านฝึกฝนกับเขาที่บ้านเขาจะปฏิบัติต่อผู้อื่นเช่นเดียวกัน

  • จงเป็นมิตรและสุภาพ เช่น พูด 'อรุณสวัสดิ์' 'ขอบคุณ' หรือ 'ขออนุญาต' ผู้อื่น
  • แสดงวิธี ใส่ใจผู้อื่น รอบตัว เช่น การรอให้ผู้อื่นพูดจบก่อนที่เราจะพูด การพูดอย่างนุ่มนวลในที่สาธารณะ เพราะเราไม่ควรสร้างความรำคาญให้ผู้อื่น การขออนุญาตก่อนการสัมผัสหรือการใช้สิ่งของของผู้อื่น
  • การอยู่ในโลกที่มีความแตกต่างมากมาย เด็กควรเรียนรู้ว่าทุกคนนั้นแตกต่างและเราต้อง เคารพความแตกต่าง รวมถึงลักษณะภายนอก ความเชื่อ วัฒนธรรม และชาติพันธุ์ หาข้อมูลเกี่ยวกับประชากรกลุ่มน้อย เช่น กลุ่มชาติพันธุ์หรือผู้ทุพพลภาพประเภทต่าง ๆ เพื่อลดความกลัวหรือความมีอคติของเราที่ไม่จำเป็น ชื่นชมความแตกต่างและความงามของผู้คน ทำให้ความเกลียดและอคติหมดไปโดยคำนึงถึงความคิดและการกระทำของเรา เช่น การเรียกชื่อกลุ่มชาติพันธุ์อื่นเป็นการไม่ให้เกียรติ ชี้แจงบุตรของท่านว่าเขาจะรู้สึกอย่างไรหากสถานการณ์เดียวกันเกิดขึ้นกับตัวเขา และเขาควรปฏิบัติอย่างไรแทน

คิด:

ค่านิยมใดที่ท่านต้องการปลูกฝังให้แก่บุตรของท่าน

ท่านทราบว่ามีนักเรียนใหม่ที่เป็นออทิสติกชื่อเฟรด เข้าร่วมห้องเรียนเดียวกันกับบุตรของท่าน อีกทั้งบุตรของท่านบอกท่านว่าเฟรดมักร้องเสียงดังและไม่ฟังคุณครู ท่านจะมีปฏิกิริยาอย่างไร

เรามีชุดเวิร์กชอปและแผ่นพับ "การเลี้ยงดูอย่างมีความสุข!" เกี่ยวกับการดูแลและการเลี้ยงดูเด็กสำหรับผู้ปกครองที่ตั้งครรภ์ ผู้ปกครองของทารกแรกเกิดและเด็กก่อนวัยเรียน โปรดติดต่อบุคลากรทางการบริการสุขภาพของเราสำหรับข้อมูล