การเลี้ยงดูเด็กในฐานะปู่ย่าตายาย
(เนื้อหาปรับปรุงใหม่ 12/2019)
- 'การเลี้ยงดูเด็กเชิงบวก' คืออะไร
- การมีการสื่อสารที่ใกล้ชิดกับเด็ก การสร้างวินัยจะง่ายขึ้นหากเด็กชอบท่าน
- การให้ความสนใจและเคารพในตัวเด็กมากขึ้น การยกย่องชมเชยและการสนับสนุนเขา
- การมีความคาดหวังที่สมเหตุสมผลในตัวเด็กโดยการนำมาพิจารณาถึงความสามารถของเขา ลักษณะนิสัยและความสนใจของเขา
- มีความสม่ำเสมอและหนักแน่นในระเบียบวินัย การตั้งกฎและการปฏิบัติตาม
- การใช้วิธีที่ไม่อันตรายแทนการตีและการตวาด
- ทำไมต้องยกย่องชมเชยเด็ก การยกย่องชมเชยจะเป็นการทำให้เขาเหลิงรึเปล่า
- เด็ก ๆ ต้องการข้อเสนอแนะจากท่านเพื่อที่จะทราบว่าพวกเขาปฏิบัติตัวได้ดีแล้ว มิฉะนั้นโอกาสในการทำพฤติกรรมเช่นนั้นอีกครั้งของพวกเขาจะลดลง
- เฉพาะคนที่ได้รับการยกย่องชมเชยเล็กน้อยเท่านั้นที่จะมีแนวโน้มถูกทำให้หลงไปกับคำยกย่องชมเชยได้ง่าย
- เมื่อท่านเห็นว่าพวกเขาทำตัวดี ก็ให้คำยกย่องชมเชยแก่เขา เช่น "เด็กดี ชาลี หนูทำการบ้านเสร็จเร็วมาก!" หรือให้รางวัล เช่น "ขอบใจที่เก็บของเล่นให้เรียบร้อย หนูเหมาะสมที่จะได้ทานขนมจ๊ะ!"
- ฉันสงสัยว่าการมีไม้เรียวไว้จะทำให้หลานสาวของฉันปฏิบัติตัวดีได้หรือไม่
- ผลกระทบของการตีและการด่าว่ามีผลระยะสั้น ซึ่งอาจกระตุ้นอารมณ์ทางลบและทำให้ความนับถือในตนเองของเธอต่ำลง และยังอาจส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างเธอกับท่านอีกด้วย
- ในการลดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของเธอ หลานของท่านจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้พฤติกรรมที่ได้รับการยอมรับและมีการรับรู้จากท่านสำหรับพฤติกรรมที่น่าพึงประสงค์ของเธอ
- หลานชายของฉันกลัวแต่พ่อแม่ของเขาเท่านั้น และเขาไม่สนใจคำสั่งของฉันเลย
- ร่วมมือกับพ่อแม่ของเด็กเพื่อทำให้การจัดการพฤติกรรมสำเร็จโดยการใช้กฎแทนการใช้คน ทำให้แน่ใจว่าเด็กนั้นเข้าใจว่าเขาต้องทำตามกฎของครอบครัว
- เตรียมแผนภูมิพฤติกรรมกับเด็ก เมื่อเขาได้ทำเป้าหมายพฤติกรรมสำเร็จ (เช่น การทำการบ้านเสร็จก่อนการดูทีวี) เขาจะได้แสตมป์ เมื่อเขาได้แสตมป์จำนวนหนึ่ง เขาจะได้รางวัลเล็กน้อย
- พวกเราทำอะไรผิดหรือที่จะตามใจหลานสาวของเรา
- สไตล์การเลี้ยงดูมีผลกระทบอย่างมากในตัวเด็กเล็กเมื่อเธอโตขึ้น
- การยอมให้กับเด็กจะเปลี่ยนให้เธอเป็นทรราชที่เอาตนเองเป็นศูนย์กลาง ซึ่งส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและพัฒนาการของเธอ
- มีหลายวิธีในการแสดงความรักของท่าน เช่น การหอม การกอด การใช้เวลาและการพูดคุยกับเธอ
- หลานของฉันกำลังกลายเป็นคนพาลตัวน้อย
- พิจารณาอย่างจริงจังถึงความต้องการของเด็ก ความต้องการที่ไม่สมเหตุผลต่าง ๆ คือสิ่งที่ละเมิดต่อหลักการของระเบียบวินัย เช่น "หนูอยากดูการ์ตูนก่อนทำการบ้าน!" หรือที่ส่งผลเสียต่อผู้อื่น เช่น การฉกของเล่นของคนอื่น
- บ่มเพาะลักษณะนิสัยที่ดีในเด็ก เช่น เตือนเขาให้ทำตามกฎ พัฒนานิสัยของการแบ่งปันในตัวเขา สนับสนุนเขาให้ช่วยเหลือผู้อื่น สอนเขาให้เป็นคนสุภาพ
- สร้างตัวอย่างที่ดีและเป็นแบบอย่างสำหรับเด็ก
- ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องรีบให้หลานของฉันเป็นอิสระ
- หากเราไม่ให้โอกาสเด็กในการเรียนรู้ในระดับพัฒนาการที่เหมาะสม พวกเขาจะเสียโอกาสที่จะได้ฝึกฝนทักษะของพวกเขาและจะล้าหลังกว่าคนอื่น ๆ (อ้างถึงแผ่นพับ ชุดพัฒนาการเด็ก)
- พาเด็กออกไปเจอประสบการณ์ใหม่ ๆ และสนับสนุนให้เขาลองสิ่งใหม่ ๆ เขาจะภูมิใจในตนเองหากเขาสามารถทำมันสำเร็จได้ด้วยตัวเขาเอง
- เตรียมตัวว่าเขาอาจจะทำเลอะเทอะ สังเกตและให้การชี้นำด้วยคำพูด ให้ความช่วยเหลือเมื่อเขาไม่สามารถทำภารกิจได้สำเร็จเท่านั้น
- ปลูกฝังจิตสำนึกของความรับผิดชอบในเด็กและสอนเขาไม้ให้ไปพึ่งพาอาศัยผู้อื่น
- ส่งเสริมการดูแลตนเองและสนับสนุนเด็กให้ดูแลคนอื่น
- ทำไมฉันต้องใส่ใจที่จะฟังผู้ปกครองของเด็กที่มักบอกว่าแนวทางปฏิบัติของฉันนั้นล้าสมัย
- สังคมเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทั้งปู่ย่าตายายและรุ่นต่อ ๆ ไปของพวกเขา ต่างมีข้อดีของพวกเขาเอง
- พยายามทำตามข้อตกลงให้ได้เพื่อผลประโยชน์ของเด็ก
- ท่านอาจไม่เชื่อในสิ่งที่ญาติหรือเพื่อนของท่านพูดหรือทำ ท่านยังอาจขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ เช่น จาก MCHC ได้อีกด้วย
- เมื่อใดก็ตามที่มีความคิดเห็นไม่ตรงกัน:
- หายใจลึก ๆ ปล่อยให้กล้ามเนื้อร่างกายของท่านผ่อนคลายและสงบลง
- เอาใจเขามาใส่ใจเราและพยายามเข้าใจว่าทำไมอีกฝ่ายถึงพูดเช่นนั้น
- อธิบายสิ่งที่ท่านคิดและให้อีกฝ่ายเข้าใจว่าทำไมท่านถึงทำเช่นนั้น
- ปรึกษาหารืออย่างสงบและปรับตัวเข้าหากันเพื่อให้บรรลุซึ่งข้อตกลง
- หากท่านพบว่าท่านควบคุมตัวเองไม่ได้ ให้หยุดการปรึกษาหารือกันและเดินออกจากบริเวณนั้น เช่น ไปดื่มน้ำและกลับมาคุยต่อเมื่อทั้งคู่สงบลงแล้วเท่านั้น
- วิธีที่ปู่ย่าตายายของฉันได้รับการสั่งสอนมาโดยผู้ปกครองของเขาก็แค่ไม่ได้ผล
- หากผู้ปกครองและปู่ย่าตายายนำวิธีการเลี้ยงดูที่ต่างกันอย่างสิ้นเชิงมาใช้จะทำให้เด็กสับสน
- เด็กบางคนอาจเรียนรู้ที่จะใช้ชั้นเชิงที่ต่างกันต่อหน้าผู้ปกครองและปู่ย่าตายายของพวกเขา ซึ่งทัศนคติเช่นนั้นจะมีผลกระทบทางลบต่อคุณงามความดีในเด็ก
- เป็นแนวร่วม สมาชิกในครอบครัวทุกคนต้องเคารพและปฏิบัติตามกฎ
- มีความสอดคล้องและปฏิบัติตาม เด็กอาจไม่ให้ความร่วมมือหรือแม้กระทั่งอาละวาดในตอนเริ่มต้น แต่อย่ายอมแพ้และให้แน่ใจว่าจะยืนหยัดต่อวิธีนี้
- ถ้ามีความคิดเห็นไม่ตรงกัน อย่าแสดงความขัดแย้งต่อหน้าเด็ก ให้ไปคุยกับผู้ปกครองในภายหลัง
- ฉันมีข้อถกเถียงกับลูกสะใภ้แต่ลูกชายของฉันไม่เข้าข้างฉัน
- ลูกชายของท่านอาจต้องการที่จะวางตัวเป็นกลาง
- พยายามคิดจากมุมมองของลูกชายของท่าน
- ลองระลึกถึงว่าท่านต้องการเข้ากันได้กับแม่สามีของท่านเมื่อท่านยังอายุน้อยอย่างไร บางทีท่านอาจจะเข้าใจความคิดและสถานการณ์ของลูกสะใภ้ของท่านได้ดียิ่งขึ้น