การเลี้ยงดูเด็กร่วมกับปู่ย่าตายาย

(Content revised 03/2013)

เมื่อปู่ย่าตายายเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลเด็ก พ่อและแม่มีความจำเป็นที่จะต้องสื่อสารกับผู้สูงอายุให้ดีเพื่อที่จะได้มาซึ่งการเลี้ยงดูเด็กอย่างมีประสิทธิภาพ

  1. เข้าใจซึ่งกันและกัน
  2. * พยายามทำความเข้าใจปู่ย่าตายาย จากมุมมองของเขา จากนั้นค่อยอธิบายแนวคิดของคุณอย่างใจเย็น

    • ผู้สูงอายุอาจไม่ยอมรับการเลี้ยงดูเด็กที่ใหม่สำหรับเขา
    • การเปลี่ยนวัฒนธรรมที่มีมายาวนานและกิจวัตรของผู้สูงอายุนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย (เช่นเดียวกันกับการเปลี่ยนสำหรับคุณเองด้วย) ความอดทนและการอธิบายหลายๆ ครั้งจะช่วยได้
  3. การสื่อสารที่เปิดกว้างและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
  4. * วิธีที่ง่ายที่สุดในการทำให้คนอื่นเข้าใจความคาดหวังและความคิดของเราคือการบอกเขาตรงๆ วิธีการบอกก็มีผลด้วย

    • หากพ่อแม่ต้องการความร่วมมือจากปู่ย่ายาตาย เขาควรจะอธิบายให้พวกท่านฟัง อย่างเช่น "พอโทนี่ทานขนมแล้วเขาจะไม่กินข้าว ซึ่งจะทำให้ทุกคนไม่พอใจและทานอาหารไม่ตรงเวลา และทำให้การเติบโตและสุขภาพของเขาแย่ไปด้วย ถ้าจะให้ขนมเขา ขอให้ให้หลังจากทานข้าวแล้ว"
  5. ให้ความรักและเคารพกันและกัน

    * พยายามแสดงความรู้สึกขอบคุณด้วยคำพูดและการกระทำ

    • เช่น "ขอบคุณมากเลยที่ช่วยดูแลน้องเยตี้ในวันนี้ คุณช่วยฉันไว้ได้มากเลย!" "ฉันชอบอาหารที่คุณทำจริงๆ"
    • คุณสามารถพาเขาไปร้านอาหาร ซื้อของขวัญเล็กๆ น้อยๆ ให้, พูดคุยกับเขา และเข้าร่วมกิจกรรมของเขาในบางครั้ง
    • ถ้าคุณให้ความรักและเคารพผู้สูงอายุ เขาก็จะปฎิบัติกับคุณเช่นเดียวกัน
  6. มีความแน่นอนในการจัดการพฤติกรรม
      • จัดประชุมครอบครัว
      • ตั้งกฎพื้นฐาน
      • ให้แน่ใจว่าทุกคนเข้าใจชัดเจนถึงแนวทางและขั้นตอนของการรับมือสถานการณ์ต่างๆ และการร่วมมือกัน
      • พ่อและแม่สามารถใช้กลยุทธ์การเลี้ยงดูลูกให้ผู้สูงอายุได้เห็น
    • เมื่อได้ดูซ้ำๆ กันปู่ย่าตายาย ก็จะค่อยๆ เรียนรู้ทักษะดังกล่าว
    • พ่อแม่สามารถส่งเสริมให้ปู่ย่าตายายเรียนรู้การจัดการพฤติกรรมของเด็กมากขึ้น เช่นเข้าร่วมการอบรมสำหรับพ่อแม่หรือเตรียมข้อมูลสำหรับอ่านทำความเข้าใจไว้ที่ที่เขาหยิบอ่านได้ง่าย

ปู่ย่าตายายมีความสำคัญอย่างมากต่อครอบครัวและควรได้รับคำขอบคุณจากเรา พวกเขามีประสบการณ์ในการเลี้ยงดูเด็กและมักจะหลงหลานของพวกเขา เมื่อมีเขาช่วยดูแล จะช่วยเราประหยัดในการเสียเงินจ้างพี่เลี้ยงเด็กที่ไม่คุ้นเคย

ถามและตอบ

  1. พ่อแม่ของฉันใช้เวลาเล่นกับลูกของฉันแต่ไม่ยอมทำโทษเขาเมื่อจำเป็น
    • พ่อแม่สามารถอธิบายหลักการการจัดการพฤติกรรมและเหตุผลสนับสนุนให้กับปู่ย่าตายายฟังได้
    • ให้ปู่ย่าตายายมีส่วนร่วมในการตั้งกฎเพื่อให้เขามีส่วนร่วมและความรับผิดชอบในการรักษากฎ
    • สามารถเชิญปู่ย่าตายายมาร่วมเฝ้าสังเกตพฤติกรรมของเด็กได้
    • หากปู่ย่าตายายไม่รักษากฎ พ่อแม่สามารถอธิบายให้พวกท่านฟังถึงผลที่ตามมาได้ เตือนให้ทั้งปู่ย่าตายายและเด็กคอยรักษากฎด้วยกัน
  2. ฉันสอนไม่ให้ลูกของฉันทิ้งขยะเกลื่อนกลาดแต่คุณยายทำประจำเลย ฉันจะอธิบายให้ลูกฉันฟังอย่างไรดี ?
  3. คุณสามารถบอกบุตรของคุณดังนี้ "เราไม่ควรทิ้งขยะ ทุกคนมีความรับผิดชอบในการรักษาความสะอาด บางทีตอนที่คุณยายเด็กๆ อาจจะไม่มีใครสอนว่าการทิ้งขยะนั้นผิด ในตอนนี้มันยากสำหรับคุณยายที่จะแก้นิสัยเสียนี้ที่เป็นมาตั้งนานแล้ว ครั้งต่อไป ลูกก็เตือนท่านอย่างสุภาพแล้วช่วยท่านเก็บขยะลงถัง เรามาทำตัวอย่างที่ดีให้ท่านเห็นกันนะ"

  4. พ่อตาแม่ยาย/พ่อแม่ของสามี ไม่ลงรอยกันกับฉัน ไม่รู้จะทำอย่างไรดี?
    • เมื่อมุมมองของแต่ละฝ่ายไม่ตรงกัน จะหาจุดร่วมได้ยากแม้ว่าจะพยายามสื่อสารแล้วก็ตาม ในกรณีนั้น คุณควรปล่อยวาง
    • พยายามดูเรื่องราวนั้นในมุมมองของผู้สูงอายุและยอมรับความจริงที่ว่าคุณเห็นต่างออกไป
    • อย่างน้อยก็ปฏิบัติต่อท่านอย่างสุภาพและถ่อมตน
    • พูดคุยกับเพื่อนและทำกิจกรรมผ่อนคลายเพื่อคลายความเครียดของคุณ
    • หากปัญหาไม่หมดไปหรือแย่ลง ให้ขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ อย่างนักสังคมสงเคราะห์
  5. สามี / ภรรยา ของฉันทะเลาะกับคุณพ่อคุณแม่ของฉันเรื่องลูกตลอด ฉันจะทำอย่างไรดี?
    • ความขัดแย้งของพวกเขาเป็นเรื่องในครอบครัว
    • หาเวลาที่เหมาะสมในการพูดคุยกับผู้สูงอายุและ สามี/ภรรยาของคุณ ที่ละฝ่ายแยกกัน
    • ทำตัวเป็นคนกลางคอยไกล่เกลี่ยความเข้าใจผิดโดยให้เขาใช้มุมมองอย่างไม่อคติและเหมาะสมกับทั้งสองฝ่าย
    • คุณสามารถแสดงออกถึงความกังวลและความเข้าใจของคุณในการรับฟังแบบไม่กล่าวโทษและให้การสนับสนุนกับเขา
    • ทัศนคติที่ห่วงใยและการรับฟังของคุณสามารถช่วยเขาปลดปล่อยอารมณ์และช่วยสร้างการสนทนาที่สงบได้
  6. ถ้าฉันมีปัญหากับพ่อแม่ของสามี แต่สามีของฉันไม่เข้าข้างฉัน ฉันควรทำอย่างไร?
    • การขอให้สามีของคุณเข้าข้างคุณแทนผู้สูงอายุไม่ใช่การแก้ปัญหา มันจะทำให้เขารู้สึกกลืนไม่เข้าคลายไม่ออก
    • จุดยืนของคุณจะเป็นอย่างเดียวกันเมื่อเกิดปัญหาขึ้นระหว่างพ่อและแม่ของคุณ
    • หากมีปัญหาใดๆ ขึ้นมา ทางที่ดีที่สุดคือหารือกันอย่างสงบและหาทางออกร่วมกัน
    • ปฎิบัติต่อสามี/ภรรยาของคุณอย่างผู้ฟัง แต่ไม่ใช่ฝ่ายที่คุณเข้าข้างเมื่อเกิดปัญหา