การเชื่อมความสัมพันธ์กับบุตรของคุณ-สำหรับพ่อแม่ที่มีบุตรอายุต่ำกว่าหนึ่งขวบ

(Content revised 02/2017)

วิธีแบบตอบโต้
ในช่วงเดือนแรกๆ พ่อแม่จะตอบโต้กับบุตรของตนผ่านการสัมผัสร่างกาย, การแสดงออกทางสีหน้าและเสียง เมื่อบุตรของคุณโตขึ้น จะมีรอบแบบการตอบโต้เพิ่มมามากขึ้น การพูดคุย, การร้องเพลง, การเล่นหรืออ่านหนังสือกับเขา เป็นการตอบโต้และการสานความสัมพันธ์ที่ทำให้คุณรู้สึกใกล้ชิดกันมากขึ้น รูปแบบการตอบโต้เหล่านี้จะสร้างหลักสำหรับการพัฒนาความผูกพันทางอารมณ์ของคุณกับบุตรของคุณ โดยเป็นก้าวที่สำคัญในการพัฒนาด้านอารมณ์ในการเข้าสังคม นอกจากนั้น มันยังเป็นแหล่งสำหรับการสอนและช่วยในการพัฒนาให้กับบุตรของคุณด้วย

ควรตอบโต้กับบุตรของคุณเมื่อใด

  • ทุกเมื่อ ตราบเท่าที่เขายังไม่เหนื่อยและคุณพร้อม

ทำอะไรด้วยกันดี?

  • อะไรก็ได้ ที่ทำแล้วปลอดภัย ไม่มีข้อกำหนดหรือเครื่องมืออะไรที่จำเป็น เช่นผ้าเช็ดหน้าจากกระเป็าของคุณอาจกลายเป็นของเล่นสำหรับการเล่นกับบุตรของคุณได้
  • "เครื่องมือ" ที่สำคัญที่สุดก็คือ ตัวคุณ! สายตาที่ดูห่วงใย, รอยยิ้มที่อบอุ่น, การลูบที่อ่อนโยน, การหอม หรือการกอดก็สามารถทำให้บุตรของคุณรับรู้ความรักของคุณได้ ในขณะเดียวกัน การตอบสนองของเขาจะช่วยให้คุณทั้งสองรู้สึกใกล้ชิดกันมากขึ้น
  • คุณอาจอ่านหนังสือให้เขาฟังด้วยเสียงเป็นจังหวะเพื่อเรียกความสนใจของเขา เขาจะตอบกลับด้วยการจ้องมองคุณหรือแกว่งแขนขาด้วยความตื่นเต้น
  • เสื้อผ้าหรือ หนังสือกระดาษแข็งที่มีภาพที่มีสีสันเป็นสิ่งดึงดูดสำหรับเด็กทารกแรกเกิด หนังสือที่มีพื้นผิวต่างกัน, เสียง และกลิ่นจะช่วยสร้างแรงกระตุ้นเพิ่มเติม
  • ดนตรีเป็นสื่อกลางที่ดีเยี่ยมสำหรับการตอบโต้กับบุตรของคุณ คุณอาจจะเต้นไปกับเสียงดนตรีกับเขาโดยการโยกเขาอย่างอ่อนโยน หรือแกว่งแขนและขาของเขาระหว่างที่ฮัมเพลงไปด้วย
  • เมื่อเขาสามารถยืนเองได้ คุณอาจจะเต้นกับเขาด้วยการประคองเขาบนตักของคุณ คุณอาจเต้นด้วยกันกับเขาที่หน้ากระจก
  • เล่นจ๊ะเอ๋, จักกะจี้, เพลงกล่อมเด็กพร้อมท่าทาง เป็นวิธีตอบโต้กับบุตรของคุณที่ดี
  • การเล่นแบบใดก็สนุกได้ตราบเท่าที่คุณ ได้มีส่วนร่วมทั้งร่างกายและจิตใจ

จะตอบโต้อย่างไร

  • ให้บุตรของคุณได้จ้องคุณแบบหน้าต่อหน้า คุณจะย่อลงถึงระดับสายตาของเขา
    หรืออุ้มเขาขึ้นมาก็ได้
  • สังเกตสีหน้าและท่าทางของเขา
  • ฟังเขา
    ฟังแล้วตอบเขาตามนั้น เสียงอ้อแอ้ของเขาอาจจะเป็นการบอกอะไรคุณ
  • ใส่ใจสิ่งที่เขามอง
  • ตอบสนองเขาในทันทีโดย:
    • เลียนแบบเสียงหรือการกระทำของเขา
  • เมื่อคุณตอบสนองโดยการเลียนแบบ เขาจะรู้ได้ว่าคุณสนใจสิ่งที่เขาทำ คุณสามารถสอนให้เขาเลียนแบบคุณกลับด้วย
    • พยายามแปลความหมายของเขา
  • หากบุตรของคุณตะโกนและขยับตัวอย่างตื่นเต้น เขาอาจต้องการให้คุณเล่นกับเขาต่อ หากเขาหยุดแล้วหันหน้าไปทางอื่น อาจเป็นเพราะเขาหมดความสนใจหรือรู้สึกเหนื่อย ถ้าเช่นนั้น ก็ได้เวลาให้เขาพัก
    • อธิบายสิ่ที่คุณเห็นหรือได้ยินเพื่อช่วยเขาเรียนรู้
  • เขาจะพูดถึงสิ่งที่สนใจ เช่น พูดว่า "บอล" ตอนที่จับลูกบอล
  • คุยกับเขาในสิ่งที่เกิดขึ้นหรือกำลังเกิดขึ้น เช่น บอกเขาว่า "ช้อนตก" แล้วชี้ไปที่ช้อน
    • ใช้ท่าทางเพื่อแสดงถึงคำพูดของคุณ เขาจะเรียนรู้จากที่คุณได้สื่อด้วยท่าทางก่อนที่เขาจะพูดได้
    • รอการตอบสนองของเขา อย่าพูดต่อเนื่องเพียงอย่างเดียว หยุดให้บุตรของคุณได้โอกาสแสดงออกในแบบของเขาเองบ้าง
  • การพูดซ้ำๆ จะช่วยให้เขาเข้าใจและจดจำได้ หาวิธีต่างๆ ในการสื่อคำพูดและการกระทำใหม่ๆ ให้บ่อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ ร้องเพลงกล่อมเด็กเพลงโปรดของเขาพร้อมทำท่าทางไปด้วยซ้ำๆ กัน เพลงกล่อมที่มีท่วงทำนองและคำพูดที่วนซ้ำๆ กัน จะช่วยให้เขาได้เรียนรู้ เขาจะเริ่มร้องตามบางคำโดยเลียนแบบคุณ
  • เพิ่มแนวคิดใหม่ๆ โดยการต่อยอดจากที่เขารู้อยู่แล้ว ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเขาหยิบบล็อค ก็สอนให้เขาเอาลงกล่อง เมื่อเขาเริ่มพูดได้ อย่างคำว่า "คุกกี้" ก็ให้บอกชื่ออาหารอื่นๆ เช่น "ขนมปัง" และ "เค้ก"
  • เพิ่มประสบการณ์ใหม่ๆ โดยการอ่านเช่นการสลับเขามาเป็นตัวละครในเรื่อง "ดูสิ! ซาร่าห์ กำลังอาบน้ำ" คุณอาจทำให้เรื่องราวมีชีวิตชีวาขึ้น เช่น ชี้ไปที่ลูกหมาในภาพแล้วบอกว่า "หมาน้อย ไปนอนได้แล้ว น้องซาร่าห์ก็ต้องไปนอนเหมือนกัน”
  • ตอบโต้กับเขาในอารมณ์ที่สงบและมีความสุข เนื่องจากเขาสามารถรับรู้ความรู้สึกของคุณได้

เมื่อถึงอายุครบ 12 เดือน หากลูกของท่าน:

  • ยังไม่มีการสบตากับผู้เลี้ยง
  • ไม่มีการตอบสนองเวลาเรียกชื่อของเขาหลายๆ ครั้ง
  • ไม่มีการตอบสนองต่อคำสั่งที่ชี้นำด้วยท่าทาง เช่น โบกมือ “บ๊าย บาย” “ขอให้ฉัน”
  • ไม่มีการสื่อสารสิ่งที่เขาต้องการโดยการชี้นิ้วหรือชี้นำด้วยท่าทาง เช่น การมอง หรือยื่นมือของเขาออกไป
  • ไม่พูดอ้อแอ้
  • ดูเหมือนได้ยินเสียงไม่ค่อยชัด

กรุณาปรึกษาแพทย์หรือพยาบาลของท่านที่ MCHC แพทย์ประจำครอบครัวหรือกุมารแพทย์

การเชื่อมโยงกับบุตรของคุณให้สำเร็จนั้น คุณจะต้องเข้าใจความแตกต่างของเขา ปรับตัวเขากับระดับของเขา เฝ้าสังเกตสัญญาณจากเขา แล้วตอบสนองอย่างเหมาะสม ลองใช้แนวคิดในแผ่นพับกับบุตรของคุณและเพลิดเพลินไปกับการสนุกไปด้วยกัน

เรามีชุดการฝึกอบรมและแผ่นพับ "เลี้ยงบุตรอย่างสุขใจ!" สำหรับผู้ที่กำลังจะมีบุตร, ผู้ปกครองที่เพิ่งมีบุตรวัยทารก และเด็กก่อนวัยเรียน กรุณาติดต่อเจ้าหน้าที่ด้านการแพทย์สำหรับข้อมูล

บริการสุขภาพครอบครัว
เว็บไซต์: www.fhs.gov.hk
สายด่วนติดต่อสอบถาม 24-ชั่วโมง: 2112 9900