ชุดการดูแลบุตร 6 - เพลงกล่อมเด็ก II - บุตรของฉันไม่ยอมนอน
หลังจากอายุ 6 เดือน ทารกของท่านยังคงใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการนอนทุกวัน หากทารกต่อต้านหรือนอนหลับยากเมื่อถึงเวลานอน ท่านอาจกังวลใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ และหากทารกตื่นนอนกลางดึกหลาย ๆ ครั้ง ท่านอาจจะรู้สึกเหนื่อยได้ ปัญหาการนอนหลับไม่เพียงแต่กระทบต่อเด็กเท่านั้น แต่ยังกระทบต่อครอบครัวในหลายแง่มุมเช่นกัน หากทารกของท่านมีปัญหาดังกล่าว ท่านสามารถตรวจสอบสาเหตุที่อยู่เบื้องหลังได้...
เหตุใดปัญหาการนอนหลับจึงเกิดขึ้น
- ทารกอาศัยการดูแลของผู้ปกครองในการนอนหลับ
หากทารกอาศัยการดูแลของท่านในการนอนหลับ เช่น การดูดนม การกล่อมนอน การอุ้มและโยกไปมา การตบตัวเบา ๆ หรือการเดินเพื่อกล่อมให้หลับ เมื่อการกระทำเหล่านี้กลายเป็นกิจวัตร จะส่งผลต่อความสามารถในการผ่อนคลายตนเองของเขา อีกทั้งเขาจะ พึ่งพาท่านทั้งหมดและท่านต้องอยู่กับเขาเวลานอนหลับ วิธี (ต่าง ๆ) ที่ทารกของท่านใช้ในการนอนหลับจะต้องทำซ้ำอีกเมื่อเขาตื่นขึ้นมากลางดึก เนื่องจากเขาไม่สามารถหลับเองได้ เขาอาจร้องไห้หรือส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือจากท่าน วิธีนี้อาจทำให้ท่านใช้เวลาและความพยายามอย่างมากในการนอนหลับของตนเอง
เพื่อจัดการกับปัญหานี้ ท่านต้องปล่อยให้ทารกของท่าน พัฒนาความสามารถในการผ่อนคลายตนเองท่านสามารถอ้างถึงวิธีที่อธิบายใน 'หากทารกของท่านร้องไห้ตอนกลางคืน' ได้
- การหยุดชะงักของกิจวัตรปกติ
การเปลี่ยนผู้ดูแล การดูแลจากทางโรงพยาบาล และการเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ ในกิจกรรมประจำวันอาจทำให้กิจวัตรปกติหยุดชะงักได้
ผลของปัญหาการนอนหลับมักเกิดขึ้นชั่วคราวและบ่อยครั้งแก้ไขได้เองเมื่อปรับกิจวัตรใหม่ ผู้ดูแลควรเข้าใจและพยายามยึดกิจวัตรปกติของทารกเพื่อรับรองว่าการเปลี่ยนแปลงเป็นไปอย่างราบรื่น
- อาการป่วยหรือความไม่สะดวกสบาย
บุตรของท่านอาจตื่นและร้องไห้หากเขามีความไม่สบายทางร่างกายหรือมีความเจ็บปวด ท่านอาจต้องปรึกษาแพทย์หากเขาร้องไห้ไม่หยุด
- การป้อนอาหารมากหรือน้อยเกินไปก่อนเข้านอน
การป้อนอาหารที่มากเกินไปอาจทำให้เกิดความไม่สบายทางร่างกายอีกทั้งทำให้หลับยาก ในทางตรงกันข้ามทารกของท่านอาจไม่หลับเลยหากเขาหิว เมื่อท่านคุ้นชินกับสัญญาณและความต้องการของทารกแล้ว ท่านจะทราบวิธีปรับปริมาณอาหารให้กับเขา
- การขาดกิจวัตรในชีวิตประจำวัน
หากทารกของท่านขาดกิจวัตรที่เป็นประจำวัน มันก็จะเป็นเรื่องยากสำหรับเขาในการที่จะมีกิจวัตรในการนอนหลับ เมื่อผู้ดูแลมีกิจวัตรของตนเอง กิจวัตรของทารกก็จะสร้างได้ง่ายขึ้น
ปัญหาการนอนหลับในทารกไม่ได้มีเพียงทางออกเดียว กำหนดกิจวัตรเวลานอนแก่ทารกของท่านตั้งแต่ต้นเท่าที่จะทำได้ให้เป็นพื้นฐานสำหรับทุกอย่าง ท่านสามารถอ้างถึง ‘เพลงกล่อมเด็ก 1 — การพัฒนารูปแบบการนอนหลับโดยปกติ’ สำหรับรายละเอียด หารือกับสมาชิกครอบครัวของท่านและทำงานร่วมกันอย่างสอดคล้องก็สามารถช่วยได้
หากทารกของทานร้องไห้ตอนกลางคืน
ช่วงเดือนแรก ๆ หากทารกของท่านร้องไห้หลังพาไปนอนบนเตียงหรือในช่วงกลางดึก ท่านอาจต้องตรวจสอบว่ามีเหตุผลเฉพาะอะไรหรือไม่ เช่น ผ้าอ้อมเปียก หรือหิว เป็นต้น เมื่อตรวจสอบแล้วให้เขาเห็นหน้าและได้ยินเสียงอันนุ่มนวลของท่าน การทำเช่นนี้ ท่านจะทำให้เขาอุ่นใจและสงบลง
ทารกส่วนมากในช่วงอายุ 3 ถึง 6 เดือนไม่ต้องการทานอาหารตอนกลางคืน หากทารกของท่านเลิกทานอาหารตอนกลางคืนแล้ว และท่านทราบว่าเขาไม่ได้ป่วยหรือเจ็บปวด การตอบโต้การร้องไห้ตอนกลางคืนของเขาด้วยการปลอบหรือเล่นกับเขาอาจกลายเป็นเหมือนรางวัลของเขาโดยบังเอิญและเขาจะตื่นนานขึ้น ท่านสามารถลองที่จะ รออีกสักครู่ก่อนที่ท่านจะตอบโต้การร้องไห้ของเขา ในการช่วยให้เขาเรียนรู้ที่จะผ่อนคลายตนเองแทนการพึ่งพาท่าน ให้ปฏิบัติตตามข้อปฏิบัติทั้งสามดังนี้:
- ข้อปฏิบัตินี้ทำให้ทารกของท่านมั่นใจว่าท่านจะพร้อมและเข้าไปหาเขาเสมอ ขณะเดียวกันจะทำให้ท่านท้อใจในการที่จะอยู่กับเขามากกว่าครั้งละหนึ่งนาที หากทารกของท่านร้องไห้หลังพาเข้านอนหรือกลางดึก อย่าตอบโต้ในทันทีเขาจะเงียบลงและหลับอีกครั้งหลังผ่านไปไม่กี่นาที หากเขายังร้องไห้อยู่หลังผ่านไป 5 นาที ท่านสามารถเข้าไปปลอบได้โดยไม่ต้องอุ้มเขาขึ้นมา หลังผ่านไปหนึ่งนาทีให้ท่านออกมาจากเขาแม้ว่าเขาจะยังร้องไห้อยู่ จากนั้นให้รอนานขึ้นอีกก่อนจะกลับไปตรวจสอบการร้องไห้ของเขาอีกครั้ง การเพิ่มระยะเวลาระหว่างการกลับไปตรวจสอบะช่วยให้ทารกของท่านเรียนรู้ที่จะปลอบตนเอง ส่วนสำคัญของวิธีนี้คือผู้ดูแลให้รอเป็นระยะเวลานานขึ้นเรื่อย ๆ ก่อนกลับไปตรวจสอบบุตร และใช้เวลาสั้น ๆ เท่านั้นในการจัดการทารกและวางเขาลงขณะง่วงซึมแต่เวลาตื่นเขาต้องตื่นขึ้นมาคนเดียว
- ผู้ดูแลอยู่ห้องเดียวกับเด็กหรือเตียงเดียวกันตั้งแต่ต้น แต่เมื่อเด็กเรียนรู้ที่จะนอนด้วยตนเองแล้ว ผู้ดูแลจะต้องค่อย ๆ หายออกไปจากห้องของเขา
หากไม่สามารถวางเตียงทารกใกล้กับเตียงของท่านได้เนื่องจากมีพื้นที่จำกัดหรือรู้สึกกังวลเมื่อปล่อยให้ทารกร้องไห้ ท่านอาจชอบวิธีเบา ๆ วิธีนี้มากกว่าคือท่านอยู่กับเขาบนเตียงได้และแกล้งว่าท่านได้นอนหลับไปแล้วและเพิกเฉยต่อการร้องไห้ของเขาเว้นเสียแต่ว่าเขาจะป่วยหรืออยู่ในอันตราย
ต้องอาศัยการปฏิบัติที่สอดคล้องกันและต่อเนื่องของสมาชิกในครอบครัวเพื่อให้วิธีนี้ได้ผล
- ทำให้แน่ใจว่าทารกของท่านไม่ได้รู้สึกไม่สบายหรือต้องการเปลี่ยนผ้าอ้อม ห้ามตอบโต้การต่อต้านของเขาทุกกรณีหรือไปที่ห้องของเขาและตรวจสอบดู วิธีนี้จะไม่ทำร้ายเขาแต่จะช่วยให้เขาเรียนรู้เรื่องการนอนด้วยตนเองอย่างรวดเร็ว ท่านสามารถใช้วิธีปฏิบัตินี้ได้หากท่านคิดว่าเขาร้องไห้เพื่อเรียกร้องความสนใจจากท่านเท่านั้น
ผู้ดูแลควรเตรียมพร้อมสำหรับความรุนแรงและระยะเวลาการร้องไห้ที่เพิ่มขึ้นในช่วงต้น พฤติกรรมนี้เกิดขึ้นเป็นปกติเมื่อใช้ข้อปฏิบัตินี้และจะหายไปเมื่อผุู้ดูแลใช้กลยุทธ์นี้อย่างสอดคล้องและต่อเนื่อง
วิธีปฏิบัติข้างต้นมีงานวิจัยรองรับว่าได้ผลจริงในการจัดการปัญหาการนอนหลับและการตื่นนอนกลางดึกของทารกโดยไม่เป็นอันตรายต่อเขาหรือทำลายความสัมพันธ์ของท่านกับเขา วิธีเหล่านี้ช่วยทารกของท่านให้มีพฤติกรรมการนอนหลับที่ดีขึ้นและทั้งท่านและเขาก็จะมีคุณภาพชีวิตที่ดีด้วยเช่นกัน
ผู้เชี่ยวชาญหลายท่านจะมีคำแนะนำที่หลากหลาย และไม่มีวิธีไหนที่ดีที่สุด Yท่านควรเลือกกลยุทธ์ที่ท่านรู้สึกสบายใจและเหมาะกับนิสัยของทารกของท่านมากที่สุด วิธีปฏิบัติใดก็ตามที่ท่านใช้ ท่านจำเป็นต้อง ปฏิบัติอย่างสอดคล้องและต่อเนื่อง หากทารกของท่านเรียนรู้ว่าการร้องให้จะทำให้ท่านกลับมาอุ้ม เขาจะไม่เรียนรู้ที่จะนอนด้วยตนเอง จากนั้นท่านจะอยู่ในวังวนของปัญหาการนอนหลับที่เพิ่มขึ้นด้วย
เมื่อจัดการกับปัญหาการนอนหลับ การดูแลตนเองเป็นเรื่องสำคัญมาก ความสำเร็จของกลยุทธ์ของท่านส่วนมากขึ้นอยู่กับตัวท่านเองและความร่วมมือและการสนับสนุนจากครอบครัวของท่าน หากท่านมีความกังวลใจใด ๆ เกี่ยวกับการนอนหลับของบุตร ท่านสามารถขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ได้
เรามีชุดเวิร์กชอปและแผ่นพับ "การเลี้ยงดูอย่างมีความสุข!" สำหรับผู้ปกครองที่ตั้งครรภ์ ผู้ปกครองของทารกแรกเกิดและเด็กก่อนวัยเรียน โปรดติดต่อบุคลากรทางการบริการสุขภาพของเราสำหรับข้อมูล
ลูกของฉันต้องการทานอาหารตอนกลางคืนหรือไม่
ระบบย่อยอาหารและความอยากอาหารของเด็กแรกเกิดยังไม่พัฒนา การป้อนอาหารบ่อยครั้งในปริมาณน้อยจะเหมาะสมกับพวกเขา ขณะที่จังหวะกลางวันและกลางคืนกำลังพัฒนา พวกเขาอาจรู้สึกหิวในช่วงกลางดึกและต้องการการป้อน
หลังจากทารกได้พัฒนาจังหวะของเวลากลางวันและกลางคืนแล้ว พวกเขาจะทานมากขึ้นในตอนกลางวันเพื่อสารอาหารต่าง ๆ แต่จะค่อย ๆ ทานน้อยลงในช่วงกลางคืน หลังจากอายุ 3-6 เดือน ทารกส่วนใหญ่ทานอาหารเพียงพอในตอนกลางวันและไม่ต้องการทานอีกในตอนกลางคืน หากทารกของท่านทานไม่เพียงพอก่อนกลับไปเข้านอนในช่วงกลางดึก ทารกของท่านมักจะไม่หิวแต่จะขอให้ท่านปลอบเพื่อให้เขานอนต่อได้ หากท่านคิดว่าการป้อนอาหารตอนกลางคืนคือปัญหา ท่านสามารถลองปฏิบัติตามกลยุทธ์เหล่านี้เพื่อช่วยให้เขาเลิกทานอาหารตอนกลางคืนได้
สำหรับทารกที่กินนมแม่:
- หยุดป้อนนมตอนกลางคืนทั้งหมดหากทารกของท่านดูดนมน้อยกว่า 5 นาที ใช้เทคนิคการปลอบอื่น ๆ เพื่อจัดการเขา
- หากเขาดูดนมมากกว่า 5 นาที ท่านสามารถค่อย ๆ ลดเวลาการให้นมได้ในอีก 5-7 วันต่อมา
- จากนั้นลดเวลาการป้อนเป็น 2-5 นาทีทุก ๆ สองคืน
- จัดการกับเขาหลังจากการป้อนนมระยะสั้นแต่ละครั้ง
- เมื่อป้อนนมทารกของท่านน้อยกว่า 5 นาที ให้ตัดการกินนมตอนกลางคืนออกทั้งหมด
สำหรับทารกที่ดื่มนมขวด:
- หยุดป้อนนมตอนกลางคืนทั้งหมดหากทารกของท่านดื่มนมน้อยกว่า 60 มล. ใช้เทคนิคการปลอบอื่น ๆ เพื่อจัดการเขา
- หากเขาดื่มนมมากกว่า 60 มล. ท่านสามารถค่อย ๆ ลดปริมาณการให้นมได้ในอีก 5-7 วันต่อมา
- จากนั้นลดปริมาณการป้อนเป็น 20-30 มล.ทุก ๆ สองคืน
- จัดการกับเขาหลังจากการป้อนนมปริมาณน้อยในแต่ละครั้ง
- เมื่อป้อนนมทารกของท่านน้อยกว่า 60 มล. ให้ตัดการกินนมตอนกลางคืนออกทั้งหมด
*แหล่งอ้างอิง: ศูนย์บริการสถาบันสุขภาพเด็กชุมชน โรงพยาบาลเด็กโครงการหลวง (2012-2016) โปรแกรมการเรียนรู้การนอนหลับของเด็กแรกเกิด เมลเบิร์น: RCH