ชุดการเลี้ยงดูบุตร 1 – การเตรียมพร้อมสำหรับการเลี้ยงดูบุตร

(Content revised 03/2018)

ลูกของคุณจะคลอดเร็ว ๆ นี้ ในฐานะพ่อแม่ที่คาดหวัง คุณอาจกำลังยุ่งอยู่กับการเตรียมตัวให้พร้อม เช่น เปลและผ้าคลุมเด็ก อย่างไรก็ตามคุณได้คิดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดที่กำลังจะเกิดขึ้นหรือไม่? มีหลายสิ่งที่ต้องเรียนรู้ในการเป็นพ่อแม่ เอกสารฉบับนี้ช่วยให้คุณเข้าใจถึงความท้าทายที่รออยู่ข้างหน้าและเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับบทบาทใหม่ในฐานะพ่อแม่.

บทบาทของผู้ปกครอง

ผู้ปกครองมีบทบาทที่แตกต่างกันในแต่ละการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็ก:

  • ผู้ให้บริการ – ให้สิ่งที่ลูกของคุณต้องการสำหรับการเจริญเติบโตทางกายภาพที่ดีที่สุด เช่น ให้อาหารที่สมดุลและสร้างความมั่นใจด้านสุขอนามัยในชีวิตประจำวัน
  • ผู้คุ้มครอง – มั่นใจว่าเด็ก ๆ มีสภาพแวดล้อมที่มั่นคงและปลอดภัย คุณจะต้องตรวจสอบว่า:
  • ​​​ความปลอดภัยทางกายภาพ – ให้การคุ้มครองทางกายภาพแก่ลูกของคุณ รวมถึงความปลอดภัยภายในบ้าน ความปลอดภัยบนท้องถนนและการป้องกันจากการถูกทำร้าย
  • ความปลอดภัยทางการเงิน – การวางแผนทางการเงินช่วยสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยสำหรับลูกของคุณโดยคำนึงถึงความต้องการในระยะยาวของเขา เช่น ความต้องการของทารกและค่าเล่าเรียนในอนาคต
  • ความรู้สึกของถึงความปลอดภัย – ความสามัคคีในครอบครัวรวมถึงกิจวัตรประจำวันและกิจวัตรที่คาดเดาได้ช่วยให้เด็กพัฒนาความรู้สึกนี้ เด็ก ๆ จากครอบครัวที่ไม่ปรองดองกันกันมักรู้สึกไม่ปลอดภัย
  • ครู / ไกด์ - คุณเป็นครูคนแรกของลูก ตลอดระยะเวลาการพัฒนาของเขา โดยไม่คำนึงถึงครูและคนอื่น ๆ คุณสอนทักษะใหม่ ๆ และคอยนำเขาให้ผ่านพ้นปัญหาอย่างต่อเนื่อง
  • เป็นแบบอย่าง – เป็นตัวอย่างที่ดีเรื่องนิสัย ทัศนคติ ศีลธรรม ค่านิยม ... ฯลฯ เพื่อให้ลูกของคุณเลียนแบบและยอมรับ คุณอาจต้องตรวจสอบนิสัยของตนเองและเลิกนิสัยที่ไม่ดี เช่น การสูบบุหรี่และการพูดจาหยาบคาย หากคุณไม่ต้องการให้ลูกของคุณทำตาม
  • คนปลอบโยนและผู้ให้การสนับสนุน -การรักลูกมีมากเกินกว่าแค่การตอบสนองความต้องการทางร่างกายของเขา ลูกของคุณต้องการให้คุณสนับสนุนเขาในเรื่องของความพยายามของเขาและแบ่งปันความรู้สึกกับเขา
  • ผู้เชี่ยวชาญด้านการเลี้ยงดูบุตรของลูกคุณเอง - เกี่ยวข้องกับ:
  • การทำความรู้จักกับความต้องการที่เปลี่ยนไปทางร่างกายและจิตใจของลูกของคุณในขณะที่เขาเติบโต ค้นหาความสนใจของลูกของคุณเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงตามอายุ ซึ่งจะช่วยทำให้การสื่อสารกับเขาดีขึ้น
  • หมั่นหาความรู้และทักษะในการเลี้ยงดูลูก เช่น จากการเข้าร่วมโครงการการเลี้ยงดูบุตร อ่านหนังสือและนิตยสาร และการท่องอินเทอร์เน็ตเป็นต้น
  • เพิ่มทักษะในการเลี้ยงดูบุตรโดยการแบ่งปันประสบการณ์กับผู้ปกครองคนอื่น ๆ

ความเป็นพ่อแม่คือความรับผิดชอบในระยะยาวเพราะไม่มีใครสามารถแทนที่ได้ ญาติ แม่บ้านและครูที่โรงเรียนสามารถช่วยได้ แต่การเลี้ยงลูกคือความรับผิดชอบตลอดชีวิต

ความสุขและความท้าทายในภายภาคหน้า

หลังจากที่กลายเป็นพ่อแม่แล้ว การเปลี่ยนแปลงในชีวิตของคุณก็เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ คุณสามารถรับรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ว่าเป็นได้ทั้งกำไรและขาดทุน หรือเป็นความสุขหรือความท้าทาย ตัวอย่างของการเปลี่ยนแปลงในภายภาคหน้ามีดังนี้:

กําไร / ความสุข
  • ลูกของคุณเอง
  • ชื่อใหม่ของ 'พ่อ' หรือ 'แม่'
  • ประสบการณ์ใหม่และความตื่นเต้นจากการมองเห็นพัฒนาการของลูกน้อยของคุณ
  • ความพึงพอใจที่ได้รับจากการเห็นการเจริญเติบโตที่ดีของลูกคุณ
  • ความสุขที่ได้จากการมีปฏิสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับลูกของคุณ
  • ความรู้สึกหอมหวานที่ได้ตกหลุมรักลูกของคุณ
  • ความสุขที่ได้เห็นหน้าตาที่น่ารักของลูก
  • และอื่น ๆ อีกมากมาย ...
ขาดทุน / ความท้าทาย
  • เวลาที่ได้พักผ่อนลดลงโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเดือนแรก
  • มีอิสระที่จำกัด
  • เวลาสำหรับกิจกรรมสันทนาการ บันเทิงและกิจกรรมเพื่อสังคมลดลง
  • ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น
  • ลดโอกาสสำหรับการพัฒนาทางอาชีพ (ถ้าคุณเลือกที่จะใช้เวลากับลูกน้อยมากกว่า)
  • ความใกล้ชิดทางเพศกับคู่สมรสของคุณลดลงเนื่องจากความเมื่อยล้า
  • ความกังวล ความไม่พอใจและความเครียดเพิ่มขึ้น

ไม่ว่าความรู้สึกของคุณจะเป็นอย่างไร คุณไม่สามารถจะมีแค่เพียงความรู้สึกใดความรู้สึกหนึ่งเพียงอย่างเดียว ในความเป็นจริง ประสบการณ์ส่วนตัวใหม่ ๆ เหล่านี้ในฐานะพ่อแม่เป็นอย่างไรนั้น ทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับความคาดหวังของคุณ มีความคาดหวังที่เป็นจริงของตัวคุณเองและลูกของคุณจะช่วยให้คุณปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างราบรื่นที่สุด

ความคาดหวังของลูกและตัวคุณเอง

ของลูกของคุณ:

ทำ
  • มีความคาดหวังที่เป็นจริง
  • โปรดจำไว้ว่าไม่มีเด็กที่สมบูรณ์แบบ พอใจกับคุณภาพที่ลูกของคุณมี
  • ตระหนักว่าเด็กทุกคนมีความเป็นเอกลักษณ์ พวกเขามีอารมณ์และจังหวะการพัฒนาที่ต่างกัน
  • ดูแลลูกของคุณตามลักษณะของเขา เช่น เด็กบางคนมีความอยากอาหารน้อย ดังนั้นอาจจำเป็นต้องให้อาหารเขาบ่อยครั้งขึ้นด้วยอาหารมื้อเล็ก ๆ บางคนอาจต้องการนอนเพียงนิดหน่อยเท่านั้น
ไม่ทำ
  • มีความคาดหวังที่ไม่สมจริงต่อลูกของคุณ เช่น ผู้ปกครองที่มีรูปร่างเล็กคาดหวังว่าลูกของตัวเองจะตัวใหญ่และสูง
  • เปรียบเทียบลูกของคุณกับเด็กคนอื่น ๆ

ของตัวเอง:

ทำ
  • มีความคาดหวังที่สมจริง
  • โปรดจำไว้ว่าไม่มีผู้ปกครองที่สมบูรณ์แบบ
  • ตระหนักว่าไม่มีวิธีเดียวที่สมบูรณ์ที่จะเลี้ยงเด็ก คุณเป็นคนที่เข้าใจลูกของคุณมากที่สุด
  • อย่าลืมว่าไม่ใช่ทุกอย่างที่อยู่ในการควบคุมของคุณ พิจารณาแต่ละประสบการณ์ว่าเป็นโอกาสในการเรียนรู้
  • เข้าใจว่าการตำหนิตนเองมาจากความคิดเชิงลบที่เกิดจากอารมณ์ที่หดหู่
  • ตระหนักว่าสิ่งต่างๆ ไม่เลวร้ายอย่างที่คุณคิด
ไม่ทำ
  • ไม่สมจริง เช่น เรียกร้องตัวเองให้เป็นพ่อแม่ที่สมบูรณ์แบบในการเลี้ยงดูลูก
  • เปรียบเทียบตัวเองกับพ่อแม่คนอื่น
  • ตำหนิตัวเองและอยู่กับความผิดหวังที่ไม่สามารถแก้ไขได้ เช่น อยากได้ลูกชายแต่กลับได้ลูกสาวแทน การตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ เด็กป่วย

วิธีการรับมือกับอารมณ์ขึ้นๆ ลงๆ ในช่วงการปรับตัว?

ทำ
  • ยอมรับว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงในชีวิตครอบครัวหลังจากที่เด็กเกิด การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์เกิดขึ้นเป็นเรื่องปกติในช่วงเวลาการปรับตัวนี้
  • เรียนรู้ที่จะตระหนักถึงอารมณ์ของคุณเอง หากรู้สึกเศร้า หงุดหงิด วิตกกังวลหรือสิ้นหวัง ให้จัดการโดยเร็วที่สุด
  • พูดคุยเกี่ยวกับความรู้สึกของคุณกับใครสักคน
  • หาเวลาพักและผ่อนคลาย
  • พยายามสร้างความสมดุลระหว่างการดูแลเด็ก ทำงานบ้าน พักและชีวิตครอบครัว วางแผนและจัดสรรเวลาและความสนใจให้เหมาะสม คุณอาจยกเว้นการทำงานบ้านที่ไม่จำเป็นเพื่อให้มีเวลามากขึ้นสำหรับครอบครัวและตัวคุณเอง
  • จัดสรรเวลาเพื่อแสดงความรักต่อลูกคนอื่น ๆ เตรียมอารมณ์พวกเขาให้พร้อมยอมรับทารกแรกเกิด
  • ให้ความสนใจกับคู่สมรสของคุณเพื่อรักษาความปรองดองของชีวิตคู่
  • ถ้าเป็นไปได้ ให้หาความช่วยเหลือในการดูแลเด็กและทำงานบ้านเพื่อลดความเครียดของคุณ
  • เข้าใจว่าคู่สมรสของคุณอาจอารมณ์ไม่ดีเช่นเดียวกับคุณเองในการรับมือกับความเครียดที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงในชีวิต
  • ให้คู่สมรสของคุณมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบ
  • คิดบวก ลองวางทุกอย่างให้เห็นเป็นภาพรวม มีความสุขในการเป็นพ่อแม่ รักษาอารมณ์ขันไว้ อย่างคำพูดที่ว่า "ในท้ายที่สุดสิ่งต่างๆ ก็จะดีขึ้นเอง" และ "ทุกอย่างเป็นไปได้ทั้งนั้น"
  • หากคุณมีปัญหาในการควบคุมอารมณ์หรือครอบครัวไม่พร้อมให้ความช่วยเหลือ ให้ขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ
ไม่ทำ
  • คิดว่าสถานการณ์นั้นหมดหวังแล้ว
  • เพิกเฉยหรือกลั้นเก็บความรู้สึกเชิงลบเหล่านั้นหรือปล่อยใส่สมาชิกในครอบครัวของคุณ
  • คิดว่าคุณอยู่ด้วยตัวคุณเอง
  • เหนื่อยเกินไปเนื่องจากความต้องการที่ไม่สมจริงของตัวคุณเอง
  • ทุ่มเทพลังงานทั้งหมดให้กับลูกของคุณแล้วละเลยสมาชิกในครอบครัวคนอื่น ๆ คู่สมรสและพี่น้องอาจรู้สึกว่าถูกทอดทิ้งและกลายเป็นการอิจฉาทารกแทน
  • โทษกันเอง

บริการสนับสนุน

  • พูดคุยกับบุคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับปัญหาต่างๆในการดูแลเด็ก เช่น ปัญหาเกี่ยวกับการให้อาหาร การฉีดวัคซีน ความสม่ำเสมอในการขับถ่ายและพัฒนาการของเด็ก
  • โปรดอ่านเอกสารข้อมูลด้านสุขภาพของเรา "ความผิดปกติทางอารมณ์หลังคลอด" และ "เธอท้อง! ฉันจะดูแลเธอและความรู้สึกของเธอได้อย่างไร?" ดูวิดีโอของเรา "จงดีต่อตัวเอง” และเข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการที่จัดโดยเอ็มซีเฮชซี
  • ถ้าคุณรู้สึกว่าเป็นการยากที่จะควบคุมอารมณ์หรือกังวลเรื่องปัญหาอื่น ๆ ของครอบครัว คุณอาจขอความช่วยเหลือจากศูนย์บริการครอบครัวในชุมชนของคุณ
  • คุณสามารถติดต่อเจ้าหน้าที่ด้านการดูแลสุขภาพเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสถาบันที่ให้บริการได้

เรามีการประชุมเชิงปฏิบัติการชุด "การเลี้ยงลูกอย่างมีความสุข!" และแผ่นพับสำหรับพ่อแม่ที่คาดหวัง พ่อแม่ของเด็กทารกและเด็กก่อนวัยเรียน กรุณาติดต่อเจ้าหน้าที่ด้านการดูแลสุขภาพเพื่อสอบถามข้อมูล