อาการผิดปกติของกระดูกสะโพก

(เนื้อหาปรับปรุงใหม่ 04/2015) (พิมพ์ใหม่ 03/2018)

อาการผิดปกติของกระดูกสะโพก (DDH) คืออะไร

ข้อสะโพกมีลักษณะเหมือนลูกบอล (หัวกระดูกต้นขา) และข้อต่อแบบเบ้า เพื่อการพัฒนาอย่างปกติ 'ลูกบอล' นั้นต้องอยู่ภายในข้อต่อรูปถ้วยของกระดูกเชิงกราน 'อาการผิดปกติของกระดูกสะโพก' (DDH) คือภาวะที่ทารกคลอดโดยมีข้อสะโพกที่ไม่เสถียรหรือข้อสะโพกไม่ได้รับการพัฒนาอย่างปกติเมื่อเด็กเติบโตเนื่องจากปัจจัยที่มีมาแต่กำเนิดหรือตำแหน่งของร่างกายที่ไม่ดี ดังนั้นจึงส่งผลต่อพัฒนาการและเกิดเป็นพัฒนาการผิดปกติของข้อสะโพก ใน DDH เบ้าสะโพกอาจตื้นและดังนั้น 'ลูกบอล' อาจ ลื่นเข้าและลื่นออกจากเบ้า เช่นนี้ 'ลูกบอล' อาจเคลื่อนบ้างบางส่วนหรืออยู่ข้างนอกเบ้าสะโพกทั้งหมด ซึ่งนำไปสู่อาการข้อเคลื่อนของข้อต่อสะโพกบางส่วนหรือทั้งหมด

ใครมีแนวโน้มที่จะมี DDH

งานวิจัยเปิดเผยว่า ในฮ่องกงเกิด DDH ขึ้นในเด็กแรกเกิดประมาณ 1 ต่อ 1000

ในขณะที่สาเหตุของ DDH ยังไม่ชัดเจนในปัจจุบัน ปัจจัยแต่กำเนิดบางประการแสดงให้เห็นถึงการเพิ่มขึ้นของโอกาสที่จะมี DDH ในทารกบางคน:

  • เกิดในตำแหน่งสะโพก (กล่าวคือ เกิดที่เท้าก่อน)
  • พี่น้องที่มีประวัติของ DDH
  • ทารกเพศหญิง (ประมาณ 80% ของคนไข้เป็นเพศหญิง)
  • การลดลงของปริมาณของเหลวในมดลูกระหว่างการตั้งครรภ์
  • การคลอดก่อนกำหนด
  • การมีเท้าผิดรูปอย่างรุนแรงแต่กำเนิด
  • การมีคอบิดที่รุนแรง (ภาวะคอบิด) แต่กำเนิด

อย่างไรก็ตาม ประมาณ 60% ของทารกที่มี DDH ไม่มี ปัจจัยที่กล่าวมาข้างต้น ผู้ดูแลจึงควรเฝ้าระวังสัญญาณที่บ่งบอกถึง DDH ในทารก เพื่อที่จะได้รับการรักษาทางการแพทย์แต่เนิ่น ๆ

ผลกระทบของ DDH ในทารกคืออะไร

สำหรับทารกส่วนใหญ่ที่พบ DDH แต่เนิ่น ๆ พัฒนาการของข้อต่อสะโพกสามารถกลับเป็นปกติได้หลังการรักษา อย่างไรก็ตามความล้มเหลวในการวินิจฉัยและการรักษาอย่างทันท่วงทีคู่กับการเสื่อมสภาพของภาวะที่ต่อเนื่องจะส่งผลให้แขนขาที่ได้รับผลกระทบสั้นลง มีความยากลำบากในการเคลื่อนไหว กระดูกสันหลังโค้งงอ การตึงที่หัวเข่าและข้อเท้า และการเสื่อมของข้อต่อสะโพกก่อนเวลาอันควร

จะทราบได้อย่างไรว่าข้อต่อสะโพกของทารกนั้นปกติ

ในฮ่องกง แพทย์จะคัดกรองทารกที่เพิ่งคลอดทั้งหมดเป็นประจำก่อนให้ออกจากโรงพยาบาลเพื่อให้มั่นใจว่าพวกเขามีสุขภาพที่ดี แพทย์ของศูนย์สุขภาพแม่และเด็ก (MCHC) ของกรมอนามัยยังทำการตรวจสอบสะโพกของทารกแรกเกิดเพื่อตรวจจับความผิดปกติในข้อต่อสะโพกเพื่อทำการส่งต่อไปยังผู้เชี่ยวชาญสำหรับการประเมินเพิ่มเติมที่เหมาะสมอีกด้วย

วิธีการ: ขั้นตอนแรกแพทย์จะถอดเสื้อผ้าของทารกและถอดผ้าอ้อมออกเพื่อให้เห็นส่วนท้องและขาส่วนล่างของเขาและให้เขานอนอย่างสงบและสบายบนเก้าอี้นอน แพทย์จะสังเกตการเคลื่อนไหวของขาของเขา ความแตกต่างในความยาวของขา ดูว่าต้นขาสามารถเปิดได้เท่ากันทั้งสองข้างหรือไม่ การพับของผิวหนังที่ไม่เท่ากันที่เห็นได้ชัดของต้นขา และการบิดของฝ่าเท้าหรือที่คอ (ภาวะคอบิด) การตรวจสอบเฉพาะเพื่อเคลื่อนหัวกระดูกต้นขาออกและเข้าในเบ้าจะดำเนินการในทารกที่อายุก่อน 2 เดือน

พยาบาลจะทดสอบข้อต่อสะโพกของทารกอีกครั้งตอนอายุ 2 หรือ 4 เดือน และอีกครั้งระหว่างการสัมภาษณ์ปกติ

เช่นเดียวกับการทดสอบแบบคัดกรองอื่น ๆ การทดสอบข้างต้น อาจไม่ สามารถตรวจจับข้อต่อสะโพกที่เคลื่อนหรือไม่เสถียรในทารกทุกคนได้ ผู้ดูแลควรเฝ้าดูภาวะของทารกเพื่อที่จะสามารถพบ ความผิดปกติของสะโพกได้แต่เนิ่น ๆ

หากผลการทดสอบเป็นปกติ ผู้ปกครองและผู้ดูแลควรตระหนักในเรื่องอะไรอีกบ้าง

DDH อาจเกิดขึ้นหลังคลอด เป็นไปได้ที่มันจะค่อย ๆ พัฒนาขึ้นเมื่อเด็กโตขึ้น ดังนั้น ผู้ปกครองและผู้ดูแลควรให้ความสนใจมากขึ้นกับภาวะของทารกในชีวิตประจำวันของพวกเขา ปรึกษาแพทย์ทันทีหากทารก:

  • มีขาที่ยาวไม่เท่ากัน
  • มีรอยพับของผิวหนังไม่เท่ากันบนสองด้านของก้นหรือต้นขา
  • ไม่สามารถเปิดขาของเขาได้อย่างเต็มที่หรือเปิดขาได้ไม่เท่ากันระหว่างการเปลี่ยนผ้าอ้อม
  • ลากขาระหว่างคลาน
  • ยืนด้วยท่าทางผิดปกติ เช่น ยกส้นเท้าขึ้นและทรงตัวในด้านหนึ่ง
  • เดินด้วยท่าเดินผิดปกติ เช่น เดินกะเผลกหรือเดินด้วยปลายเท้า

สามารถป้องกันการเกิด DDH ได้หรือไม่

แม้สาเหตุส่วนใหญ่ของ DDH ยังคงไม่ชัดเจน งานวิจัยเปิดเผยว่าความดันที่เพิ่มขึ้นบนข้อต่อสะโพก ที่เป็นผลจากการยืดขาด้วยการใช้แรงและการพันที่แน่น จะส่งผลต่อพัฒนาการปกติของข้อต่อ ผู้ปกครองและผู้ดูแลควรทำให้ข้อต่อสะโพกของทารกอยู่ในท่าที่ดีเสมอ หากจำเป็นที่จะต้องพันหรืออุ้มทารกไว้ในตำแหน่งคงที่ ให้ทำให้แน่ใจว่ามีพื้นที่เพียงพอสำหรับทารกที่จะงอหรือเหยียดขาได้อย่างอิสระ

เมื่อใช้แถบผ้าอุ้มทารก:

  • อย่ายืดหรือกดขาของเขาเข้าหากันด้วยการใช้แรง
  • ทำให้แน่ใจว่ามีพื้นที่เพียงพอ สำหรับสะโพกและเข่าของเขาเพื่อรักษาตำแหน่งการงอตามธรรมชาติและขยับได้อย่างอิสระ
  • หากใช้แถบผ้าอุ้มทารก: เลือกแบบที่หนุนต้นขาของทารก (จากก้นถึงต้นขา) เป็นอย่างดีเพื่อที่จะป้องกันขาของเขาไม่ให้ห้อยลงมาเพราะนั่นเป็นการออกแรงกดบนข้อต่อสะโพก
  • หากมีการใช้คาร์ซีทเด็กทารก: เลือกประเภทที่มีพื้นที่ว่างเพียงพอสำหรับทารกที่จะเหยียดข้อต่อสะโพกและขาของเขาได้

จะจัดการกับทารกที่สงสัยว่ามีอาการผิดปกติของกระดูกสะโพกได้อย่างไร

หลังการตรวจร่างกายเบื้องต้น แพทย์จะส่งต่อทารกที่สงสัยว่ามี DDH ให้กับผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำการทดสอบเพิ่มเติม เช่น การสแกนอัลตราซาวนด์หรือเอ็กซ์เรย์เพื่อยืนยันการวินิจฉัยและให้การรักษาที่เหมาะสม

การรักษา DDH นั้นขึ้นอยู่กับอายุของทารกในขณะที่ทำการวินิจฉัยและในขณะมีความรุนแรงในความผิดปกติของข้อต่อ เป้าหมายของการรักษาคือเพื่อที่จะนำหัวกระดูกต้นขากลับไปยังเบ้าของสะโพกเพื่อที่สะโพกจะสามารถพัฒนาได้เป็นปกติ ยิ่งการวินิจฉัยได้รับการยืนยันเร็วเท่าไหร่ ความมีประสิทธิผลของการรักษายิ่งมากขึ้นเท่านั้น หาก DDH ถูกวินิจฉัยไม่นานจากเวลาคลอด แพทย์จะสามารถนำข้อต่อสะโพกกลับไปยังตำแหน่งปกติได้อย่างง่ายดายด้วยมือ พวกเขาสามารถได้รับการรักษาให้สำเร็จได้ด้วยที่รั้ง - 'อุปกรณ์ประคองข้อสะโพก' อุปกรณ์นี้รักษาให้สะโพกและเข่าอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง (ตำแหน่งขาถ่างจากกันแบบท่าขากบ) - ขางอและเปิดออก เด็กอาจจำเป็นที่จะต้องใส่เฝือกเป็นเวลาหลายเดือนจนกว่าข้อต่อสะโพกจะเสถียรและเบ้าสะโพกจะพัฒนาอย่างปกติ หากการเข้าเฝือกไม่ได้ผล หรือความผิดปกติของข้อต่อค่อนข้างรุนแรง หรือ DDH ได้รับการวินิจฉัยเมื่ออายุ 6 เดือนถึง 2 ปี เด็กอาจต้องได้รับการผ่าตัด

หากท่านมีคำถามใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับข้อต่อสะโพกของทารกของท่านหรือพัฒนาการของแขนขาที่ลดลง โปรดรับคำแนะนำจากบุคลากรทางการแพทย์โดยทันที