รักบุตรของท่าน ป้องกันการบาดเจ็บ (1-3 ปี)
(HTML เนื้อหาปรับปรุงใหม่ 06/2020)
เด็กวัยหัดเดินของท่านปลอดภัยหรือไม่
- การบาดเจ็บเป็นผู้พรากชีวิตเด็กส่วนใหญ่ เด็กหลายคนเสียชีวิตหรือพิการทุกปีจากการบาดเจ็บ เพื่อป้องกันบุตรของท่านจากการบาดเจ็บ ให้เฝ้าระวังพฤติกรรมและกำจัดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ทั้งหมด
- เด็กอายุ 5 ปีหรือต่ำกว่าอาจไม่เข้าใจหรือไม่สามารถจำได้ว่า สิ่งใดเป็นอันตราย ผู้ปกครองไม่ควรประเมินความสามารถของพวกเขาสูงเกินไป
- สถิติเปิดเผยว่าบ้านเป็นสถานที่ที่พบการบาดเจ็บของเด็กอายุ 0 ถึง 5 ปี มากที่สุด
การบาดเจ็บทั่วไปในเด็กวัยหัดเดินอายุ 1 ถึง 3 ปี:
- เด็กวัยหัดเดินนั้นอยากรู้อยากเห็น ไร้เดียงสา หัวรั้น และกระตือรือร้น พวกเขารักที่จะเรียนรู้ประสบการณ์ใหม่ ๆ หากเด็กสามารถเดิน คลาน หรือแม้แต่วิ่งได้ พวกเขาจะค้นหาสิ่งของที่น่าสนใจในทุกสถานที่ อีกทั้งชอบที่จะสำรวจด้วยมือหรือนำเข้าปากอีกด้วย
- ระหว่างช่วงเวลาการเจริญเติบโตและพัฒนาอย่างรวดเร็วนี้ มีกับดักซ่อนอยู่ทุกที่ การบาดเจ็บ รวมถึง การตก อาการหายใจไม่ออก และการหนีบนิ้ว
- หาคำแนะนำทางการแพทย์ทันทีหลังได้รับบาดเจ็บ
การบาดเจ็บทั่วไปและมาตรการป้องกัน:
- ตก
- จับตาดูเสมอว่าบุตรของท่านกำลังทำอะไรอยู่เสมอ ห้ามให้เขาเล่นในห้องนอนหรือสถานที่อื่น ๆ หากไม่มีผู้ใหญ่คอยดูแล
- เพื่อป้องกันเด็กจากการตก ให้ติดตั้งตัวกั้นหน้าต่างและรั้วหรือตะแกรงเหล็กไวร์เมชรอบ ๆ ระเบียง
เด็กสามารถตกหรือชนกับเฟอร์นิเจอร์เองเมื่อคลาน
- อาการหายใจไม่ออก
- ควรจัดเก็บหรือกำจัดถุงพลาสติกเปล่าอย่างเหมาะสมเพื่อป้องกันเด็กจากการเอามาสวมใส่ซึ่งอาจนำไปสู่การหายใจไม่ออกได้
- ควรจัดเก็บเฟอร์นิเจอร์พับได้ เช่น เก้าอี้และโต๊ะให้เข้าที่อย่างปลอดภัย
- หลีกเลี่ยงการใช้เชือกผ้าม่าน หากท่านจำเป็นต้องใช้ ห้ามปล่อยเชือกให้ห้อย ผูกเชือกให้ปลายเชือกอยู่สูงเพื่อไม่ให้เด็ก ๆ เล่นได้
เก็บเชือกผ้าม่านและถุงพลาสติกออกให้ไกลเพื่อป้องกันอาการหายใจไม่ออก
- การหนีบนิ้ว
- ระมัดระวังเด็กที่อยู่ใกล้ ๆ เมื่อท่านกำลังเปิดหรือปิดประตูเพื่อป้องกันการหนีบนิ้วของพวกเขา
- ยึดประตูด้วยแม่เหล็กหรือใช้ตัวกันหนีบนิ้วเพื่อให้ประตูยังคงถูกปิดอยู่บางส่วน
- ห้ามให้เด็กวิ่งรอบ ๆ และห้ามให้เด็กเปิดหรือปิดประตู ตู้ หรือลิ้นชักเอง ติดตั้งตัวล็อกที่พอดีกับตู้เพื่อป้องกันเด็กจากการเปิดที่ประตู
บทสรุป:
- การบาดเจ็บส่วนมากป้องกันได้ ดังนั้นผู้ปกครองควรระแวดระวังและเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับพัฒนาการของเด็กเพื่อปฏิบัติตามมาตรการการป้องกันที่เหมาะสม
- ผู้ปกครองควรจับตามองว่าบุตรกำลังทำอะไรอยู่ตลอดเวลา ไม่ปล่อยให้บุตรอยู่ลำพังที่บ้านหรือให้เด็กอายุมากกว่าดูแลแทน
ผู้ปกครองที่ต้องการบริการดูแลบุตรชั่วคราวสามารถติดต่อศูนย์บริการดูแลบุตรชั่วคราว ศูนย์ดูแลและช่วยเหลือเด็กสัมพันธ์ หรือโครงการสนับสนุนเด็กเล็กในพื้นที่ใกล้เคียง ของกรมสวัสดิการสังคม สำหรับข้อมูลหรือคำถาม กรุณาเยี่ยมชมเว็บไซต์กรมสวัสดิการสังคมที่ www.swd.gov.hk หรือติดต่อกลุ่มตรวจสอบและให้คำปรึกษาศูนย์ดูแลเด็กที่เบอร์ 2835 2016.
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาโทรสายด่วนของกรมอนามัยต่อไปนี้:
สายด่วนสอบถามข้อมูล 24 ชั่วโมง(บริการอนามัยครอบครัว) | 2112 9900 |
สายด่วนสุขศึกษา | 2833 0111 |
หรือเยี่ยมชมเว็บไซต์ต่อไปนี้:
บริการอนามัยครอบครัว กรมอนามัย | www.fhs.gov.hk |
ศูนย์ป้องกันสุขภาพ กรมอนามัย | www.chp.gov.hk |
มูลนิธิสถาบันสุขภาพเด็กฮ่องกง | www.childhealthhongkong.com |
การป้องกันการบาดเจ็บในวัยเด็กของฮ่องกงและองค์กรวิจัย | childinjury.hkuhealth.com |