หมายเหตุความปลอดภัยสำหรับการใช้เป้อุ้มทารก
ในปัจจุบันผลิตภัณฑ์สำหรับทารกนั้นมีการออกแบบที่ใหม่และสวยงามและมีให้เลือกหลากหลาย ผู้ปกครองที่ฉลาดจะให้ความสำคัญกับความปลอดภัยเป็นอันดับแรกเมื่อซื้อผลิตภัณฑ์ การใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้อย่างเหมาะสมจะทำให้แน่ใจว่าทารกที่รักของพวกเขาจะได้รับการปกป้องเป็นอย่างดี
เป้อุ้มทารก
เป้อุ้มทารกหรือ Mei Tai คืออุปกรณ์ที่ผู้ดูแลสวมใส่เพื่อให้ง่ายต่อการอุ้มทารกและดูแลทารก งานวิจัยล่าสุดเปิดเผยว่าการอุ้มทารกในสายสะพายใกล้กับแม่ช่วยให้ทารกสงบและปลอบทารกที่ร้องไห้ การอุ้มหันหน้าเป็นการพัฒนาปฏิสัมพันธ์และความผูกพันธ์ระหว่างผู้ดูแลและทารก อย่างไรก็ตาม สถาบันกุมารเวชศาสตร์แห่งอเมริกาแนะนำว่าเป้อุ้มทารกนั้นเหมาะสมกับทารกอายุมากกว่าสามเดือนขึ้นไปเท่านั้น สำหรับทารกที่อายุต่ำกว่าควรใช้แขนอุ้มหรือใช้รถเข็นจะเป็นทางเลือกที่ดี
เป้อุ้มทารกในแต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร
เป้อุ้มทารกมีหลากหลายรูปแบบ แต่โดยทั่วไปสามารถจำแนกเป็นเป้สายเดี่ยวและเป้สายคู่:
ประเภท | คุณลักษณะ | ตำแหน่ง | ข้อเสีย |
---|---|---|---|
เป้แบบสายเดี่ยว:
|
|
ทารกที่อายุน้อยกว่า:
|
|
ประเภท | คุณลักษณะ | ตำแหน่ง | ข้อเสีย |
---|---|---|---|
เป้แบบสายคู่:
|
|
อุ้มแบบท่าตั้งตรงข้างหน้า (ทารกหันหน้าหรือหันหลัง) หรืออุ้มแบบท่าตั้งตรงด้านหลัง |
|
|
|
อุ้มแบบท่าตั้งตรงข้างหน้า (ทารกหันหน้าหรือหันหลัง) หรืออุ้มแบบท่าตั้งตรงด้านหลัง | ค่อนข้างเทอะทะ ไม่ง่ายต่อการพกพาหรือเก็บรักษา |
ควรมองหาอะไรเมื่อเลือกเป้อุ้มทารก
นอกเหนือจากความชอบและความต้องการส่วนตัวแล้ว ผู้ปกครองควรสังเกตข้อดังต่อไปนี้เมื่อเลือกเป้อุ้มทารก:
อ่านคำแนะนำก่อนซื้อและก่อนใช้งานเป้อุ้มทารก
- ปลอดภัยและสบาย
- ที่พิงหลัง (และที่พิงศีรษะ) พยุงอย่างมั่นคงและเพียงพอ
- ขนาดรูสำหรับสวมขามีความเหมาะสม ถูกหุ้มด้วยผ้ายืดและมีแผ่นรอง
- สะโพกและต้นขาของทารกควรได้รับการพยุงอย่างดีเพื่อป้องกันทารกห้อยขาอย่างหละหลวมและมีแรงกดที่ข้อต่อสะโพกมากเกินไป
- สายรัดและเข็มขัดคาดเอวควรมีความกว้างพอดีกับแผ่นรอง สายและเข็มขัดและส่วนอื่น ๆ (เช่น ห่วง) ควรทนทาน ไม่เป็นอันตราย และมีตะเข็บที่แน่นหนา
- สายควรปรับได้
- เหมาะสมกับขนาด น้ำหนัก อายุและพัฒนาการของทารก
- ง่ายในการเรียนรู้และใช้งาน
- ทำความสะอาดง่าย
- พกพาและเก็บรักษาง่าย
- ทำจากผ้าคอตตอน
เป้ทำจากเหล็ก:
- ตะเข็บเรียบไม่มีจุดคม
- มีล็อกนิรภัย
- มีแผ่นรองในส่วนที่อยู่รอบ ๆ ทารก
ควรมองหาอะไรเมื่อใช้เป้อุ้มทารก
ก่อนใช้งานเป้อุ้มทารก ผู้ดูแลควรระวังเรื่องความปลอดภัยต่อไปนี้:
- เป้สายเดี่ยวหรือกระเป๋าสะพายหลังไม่เหมาะสมกับทารกที่อายุต่ำกกว่าสี่เดือน
- ลองใช้เป้อุ้มทารกแบบใหม่เมื่อทารกของท่านพอใจเท่านั้น
- ขอให้สมาชิกในครอบครัวช่วยเมื่อใช้เป้อุ้มทารกในครั้งแรก
- ทำให้แน่ใจว่ามีการพยุงศีรษะและคอของทารกอย่างเพียงพอเพราะเมื่อทารกหลับ กล้ามเนื้อหลังของทารกจะอยู่ในภาวะผ่อนคลาย
- สวมใส่และถอดเป้อุ้มทารกบนพื้นผิวที่ปลอดภัยและมั่นคง
- ใช้กระจกในการตรวจสอบท่านั่งของทารกของท่าน ทำให้แน่ใจว่าสายสะพายไหล่ เข็มขัดคาดเอวหรือห่วงถูกรัดอย่างแน่นหนาและเหมาะสมและทำให้แน่ใจว่าทารกของท่านอยู่ในเป้อย่างสบาย
- ตรวจสอบทารกของท่านให้บ่อยครั้งเพื่อทำให้แน่ใจว่าพวกเขาไม่ร้อนหรือหนาวเกินไป
- ทำให้แน่ใจว่าทารกของท่านสามารถหายใจได้โดยไม่มีอะไรอุดกั้นโดยเฉพาะเมื่อใช้สายสะพายเดี่ยว:
- ห้ามอุ้มทารกของท่านในท่าโค้งโดยที่คางสัมผัสกับหน้าอก
- ห้ามอุ้มทารกของท่านต่ำเกินไปในสายสะพาย
- ห้ามอุ้มทารกของท่านในท่าที่ใบหน้าของทารกแนบแน่นกับท่าน
- ห้ามไม่ให้สายหรือสิ่งของที่นิ่ม เช่น ผ้า คลุมศีรษะหรือใบหน้าของทารกของท่าน
- ป้องกันทารกของท่านจากการเอื้อมถึงสิ่งของอันตราย เช่น อุปกรณ์ครัวและพัดลม
- ปกป้องทารกของท่านจากแดดแรงโดยตรงและให้การปกป้องพวกเขาจากแสงแดดอย่างเพียงพอ เช่น โดยการใช้ร่ม
- อย่ากระโดดเหยาะ ๆ กระโดด วิ่งหรือเขย่าเมื่อใช้เป้อุ้มทารกเพื่อป้องกันทารกของท่านจากการบาดเจ็บบริเวณสมอง คอ และหลัง
- ย่อเข่าของท่านเมื่อท่านต้องเก็บของจากพื้น
- อย่าใช้เป้อุ้มทารกเมื่อขับขี่รถยนต์ด้วยเข็มขัดนิรภัย
สำหรับรายละเอียด กรุณาเข้าชมเว็บเพจต่อไปนี้ที่ “ความปลอดภัยของเด็กในรถยนต์”
รถเข็น
ผู้ปกครองส่วนมากใช้รถเข็นเมื่อออกไปข้างนอกกับทารกของพวกเขาเพื่อให้ทารกอยู่ในที่ที่สบายสำหรับการพักผ่อนในระยะสั้น ในขณะที่ตะกร้าของรถเข็นสามารถเป็นที่เก็บของสำหรับของที่ใช้งานได้บางชิ้น ตามคำสั่งด้านความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ของของเล่นและเด็ก รถเข็นที่ขายในฮ่องกงต้องตรงตามมาตรฐานยุโรป (BS EN 1888:2012) มาตรฐาน ASTM (ASTM F833-15) หรือมาตรฐาน Joint Australian/New Zealand (AS/NZS 2088:2013)* ทำให้แน่ใจว่าได้ตรวจสอบการรับรองเหล่านี้เมื่อทำการซื้อผลิตภัณฑ์ สำหรับทารกอายุต่ำกว่า 6 เดือนที่สามารถเอนหลังได้แต่ไม่สามารถนั่งได้ด้วยตัวเอง ให้เลือกรถเข็นที่ตรงที่นั่งมีมุมพิง 150 องศาขึ้นไปเท่านั้น
เมื่อใช้รถเข็น ผู้ปกครองต้องระมัดระวังดังนี้:
- ปฏิบัติตามคำแนะนำจากผู้ผลิตหรือหยุดใช้งานเมื่อท่านพบความเสียหาย;
- ทำให้แน่ใจว่าท่านรัดสายรัดนิรภัยสำหรับทารกของท่านและตรวจสอบและปรับสายรัดให้เหมาะสมเสมอ
- เมื่อใดก็ตามที่ท่านหยุดรถเข็น ให้ใช้งานเบรกล้อทั้งหมดเพื่อที่รถเข็นจะได้ไม่ไหลต่อเนื่องไปจนเกิดอันตราย;
- สำหรับรถเข็นพับได้ ให้ตรวจสอบว่าตัวล็อกนิรภัยทำงานหรือไม่เพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากการพับหรือการคลาย
- สำหรับรถเข็นที่มีที่จับแบบพลิกกลับได้ ห้ามพลิกกลับที่จับเมื่อทารกของท่านอยู่ในรถเข็นเพื่อหลีกเลี่ยงการโดนนิ้วหรือแขนจับและการบาดเจ็บ
- ไม่แขวนของหนักบนที่จับเพื่อป้องกันไม่ให้รถเข็นล้มเนื่องจากการเสียสมดุล
- อย่าให้เด็ก ๆ เล่นรถเข็นหรือผลักไปมา
- ไม่เข็นรถเข็นขึ้นบนบันไดหรือบนบันไดเลื่อนเพื่อหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุ
- ห้ามให้ทารกมากกว่าหนึ่งคนนั่งในรถเข็นเว้นแต่เป็นรถเข็นสองชั้น
- ควรซักที่หุ้มเบาะนั่งแบบถอดออกได้อย่างสม่ำเสมอเพื่อสุขอนามัยที่ดี
สำหรับรายละเอียด กรุณาเข้าชมเว็บเพจสภาผู้บริโภค:
https://www.consumer.org.hk/ws_chi/consumer_alerts/graph/478/ pushchairs.html
(มีเฉพาะเวอร์ชันภาษาจีนเท่านั้นสำหรับหน้านี้)
*https://www.elegislation.gov.hk/hk/cap424!en?INDEX_CS=N
เก้าอี้สูง
ทารกเริ่มทานอาหารแข็งที่อายุประมาณ 6 เดือน ผู้ปกครองหลายท่านจะซื้อเก้าอี้สูงมาไว้ที่บ้านเพื่ออำนวยความสะดวกในการป้อนอาหารและเพื่อช่วยให้ทารกสร้างนิสัยการนั่งรอทานอาหารกับครอบครัว อย่างไรก็ตาม ก่อนการใช้เก้าอี้สูงควรอ่านคู่มือผลิตภัณฑ์และคำแนะนำต่าง ๆ และให้จดจำเรื่องดังต่อไปนี้:
- ต้องรัดสายรัดนิรภัยเมื่อทารกของท่านนั่งบนเก้าอี้สูง
- ขาเก้าอี้ต้องมั่นคงและแข็งแรง
- อย่าปล่อยให้ทารกของท่านนั่งบนเก้าอี้สูงเพียงลำพัง โดยเฉพาะเมื่อมีกำแพง โต๊ะรับประทานอาหารหรือเฟอร์นิเจอร์อื่น ๆ ใกล้เคียง มิฉะนั้นทารกจะพยายามดันหรือดึงสิ่งที่อยู่ใกล้ตัว ทารกอาจเสียการทรงตัวและทำให้เก้าอี้ล้มลง
- เมื่อใดก็ตามที่ท่านใช้เก้าอี้สูงแบบพับได้ ทำให้แน่ใจว่าแต่ละส่วนถูกล็อกอยู่กับที่เพื่อป้องกันการพับขึ้นอย่างไม่คาดคิด
- สำหรับเก้าอี้สูงที่ใช้ราวกันตกหรือถาดทานอาหารเพื่อให้ทารกอยู่บนเก้าอี้ ราวกั้นหรือถาดต้องถูกล็อกก่อนใช้งาน
- ห้ามเคลื่อนย้ายเก้าอี้สูงเมื่อทารกของท่านนั่งอยู่เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เก้าอี้ล้มขณะเคลื่อนย้าย
- อย่าให้ทารกของท่านปีนขึ้นเก้าอี้สูงหรือยืนบนเก้าอี้ด้วยตัวเอง
- ตรวจสอบเก้าอี้สูงเป็นประจำและหยุดใช้เมื่อพบความเสียหายหรือพบว่าฐานเก้าอี้ไม่มั่นคง
ตะกร้าหิ้วทารก/เป้อุ้มทารกและคาร์ซีทเด็กนิรภัย
ผู้ปกครองบางท่านขับรถออกไปข้างนอกกับทารก เพื่อให้แน่ใจว่ารถยนต์นั้นปลอดภัยสำหรับทารกควรมีอุปกรณ์ยึดที่เหมาะสมและได้รับการยอมรับ (เช่น ตะกร้าหิ้วทารก/เป้อุ้มทารก คาร์ซีทเด็กนิรภัยหรือสายรัดเด็ก) ในรถเพื่อยึดทารกเข้ากับที่นั่งของตนอย่างปลอดภัย เมื่อมีการใช้ตะกร้าหิ้วทารก/เป้อุ้มทารกหรือคาร์ซีทเด็กนิรภัยในรถ กรุณาระมัดระวังดังนี้:
- อุปกรณ์นิรภัยต้องเหมาะสมกับอายุและน้ำหนัก
- เด็กทารกและเด็กวัยหัดเดินควรนั่งอยู่ในคาร์ซีทที่หันไปที่ด้านหลังนานจนกว่าน้ำหนักและส่วนสูงของพวกเขาจะไปถึงค่าที่มากที่สุดที่ที่นั่งของพวกเขาให้ใช้ได้
- ทารกที่อายุมากกว่าควรนั่งคาร์ซีทเด็กนิรภัยหรือใช้สายรัดเด็ก
- ปฏิบัติตามคู่มือรถยนต์และคำแนะนำจากผู้ผลิตอุปกรณ์ความปลอดภัยเพื่อความปลอดภัยของทารกในการใช้ตะกร้าหิ้วทารก/เป้อุ้มทารกหรือคาร์ซีทเด็กนิรภัยที่ด้านหลังของรถด้วยสายรัดนิรภัย
- พิจารณาอย่างรอบคอบเกี่ยวกับรถยนต์และอุปกรณ์ความปลอดภัยรุ่นต่าง ๆ ก่อนซื้อ
- ไม่ใช้สินค้าที่มีตำหนิหรือไม่รู้จักแหล่งที่มา
- ตรวจสอบสายรัดนิรภัยเป็นประจำและซื้ออุปกรณ์ใหม่หากจำเป็นเพื่อทำให้แน่ใจว่าอุปกรณ์สามารถปฏิบัติงานได้อย่างเป็นปกติ
- อย่าอุ้มทารกในอ้อมแขนของท่านหรือให้ทารกนั่งบนตักของท่านเมื่อท่านนั่งเบาะด้านหน้า เพราะหากเกิดอุบัติเหตุทารกอาจถูกอัดอยู่ระหว่างท่านและแผงหน้าปัดรถยนต์หรือกระเด็นออกจากรถยนต์ได้
สำหรับรายละเอียดของการใช้ตัวยึดเด็ก กรุณาอ้างถึงเว็บเพจของกรมการขนส่งทางบกต่อไปนี้: https://www.td.gov.hk/en/road_safety/road_users_code/index/chapter_5_for_all_drivers/child_safety_in_cars/index.html
#http://pediatrics.aappublications.org/content/142/5/e20182460
คำเตือนอย่างเป็นมิตร:
- ให้ทารกของท่านมีการเคลื่อนไหวทางร่างกายในหลาย ๆ ครั้งต่อวันด้วยวิธีที่หลากหลาย โดยเฉพาะผ่านทางการเล่นบนพื้นแบบโต้ตอบ ยิ่งเล่นมากยิ่งดี
- สำหรับทารกที่ยังไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ ให้เขามีเวลาอย่างน้อย 30 นาทีในการฝึกนอนคว่ำ โดยยืดเวลาออกไปตลอดวันในขณะตื่นนอน
- หลีกเลี่ยงการให้นั่งเป็นเวลานาน ห้ามจำกัดให้ทารกของท่านอยู่ในรถเข็น เก้าอี้สูง หรือเป้อุ้มทารกเป็นเวลานานกว่า 1 ชั่วโมงต่อครั้ง