พัฒนาการเด็ก 4 ตั้งแต่สี่ถึงเจ็ดเดือน
เมื่ออายุสี่เดือน ทั้งท่านและทารกอาจจะได้ปรับตัวเข้ากับกิจวัตรปกติที่สมเหตุสมผล กิจวัตรนี้จะให้การคาดการณ์ที่ช่วยให้บุตรของท่านรู้สึกปลอดภัย ในช่วงเวลานี้ทารกจะเรียนรู้ที่จะ ประสานงาน การสัมผัส ทัศนวิสัย การได้ยิน และประสามสัมผัสอื่น ๆ ของตนเอง ผ่านกิจกรรมขับเคลื่อนที่หลากหลายทำให้ใช้งานประสาทสัมผัสได้อย่างมีวัตถุประสงค์มากขึ้น เช่น ขณะนี้บุตรสามารถเอื้อมออกไปคว้าของเล่นเขย่ามือได้ สำรวจของเล่นด้วยมือ หรือเขย่าของเล่น และฟังเสียงของเล่นได้
ช่วงเวลานี้ยังเป็นช่วงที่บุตรจะสามารถอธิบายความรู้สึกของตนเองได้ดีขึ้น เช่น ความชอบและไม่ชอบ และจะเริ่มพูดความรู้สึกพวกนั้นออกมามากขึ้นและบ่อยครั้งขึ้น บุตรจะกลายเป็นคน เข้าสังคม ยิ้มและเล่นกับบุคคลที่พบ
เมื่ออายุประมาณ 6 เดือน ทารกของท่านจะแสดงความชอบที่ชัดเจนต่อท่านและบุคคลอื่นที่คอยดูแลประจำ บุตรของท่านจะระมัดระวังคนแปลกหน้าเนื่องจากเขาแยกท่านออกจากบุคคลอื่นได้ เรียกว่"การกลัวคนแปลกหน้า" เขาจะเรียนรู้ว่าท่านเป็นเกราะป้องกันเพื่อให้เขาได้สำรวจโลกอย่างปลอดภัยได้ ดังนั้น การดูแลอย่างสม่ำเสมอ จึงเป็นสิ่งสำคัญในช่วงเวลานี้
ในช่วงท้ายของเดือนที่เจ็ด ทารกของท่านจะสามารถ:
เคลื่อนไหว
- พลิกตัวจากนอนคว่ำเป็นนอนหงายและจากนอนหงายเป็นนอนคว่ำ
- ประคองศีรษะและร่างกายขึ้นด้วยมือเมื่อนอนคว่ำ
- นั่งโดยใช้มือประคองหรือปล่อยมือได้เป็นระยะเวลาสั้น ๆ
- พยุงน้ำหนักตัวทั้งหมดได้เมื่อถูกอุ้มแบบตั้งตรง
- เอื้อมจับและคว้าวัตถุ
- สำรวจวัตถุโดยการถือด้วยมือทั้งสองข้าง
- ย้ายวัตถุจากมือข้างหนึ่งไปอีกข้างหนึ่ง
- คุ้ยเขี่ยวัตถุขนาดเล็กด้วยนิ้วมือและหยิบวัตถุด้วยนิ้วโป้งกับนิ้วอื่น ๆ พร้อมกัน
- เล่นกับเท้าตนเองและแม้แต่นำเท้าเข้าปาก
การมองเห็น
- แสดงความสนใจในรูปภาพที่มีสีสัน
- จดจำคนรู้จักได้อย่างรวดเร็วในระยะไกล (หลายฟุต)
- มองตามวัตถุด้วยการเคลื่อนไหวของดวงตาที่เร็วและคล่องแคล่ว
- จ้องและมองตามวัตถุขนาดจิ๋ว (เช่น ขนมชิ้นช็อกโกแลต) ที่อยู่ข้างหน้าไกล 30-40 ซม.
การได้ยิน
- หันศีรษะทันทีเพื่อตอบรับเสียงของผู้ปกครองจากห้องอื่น
- ระบุแหล่งกำเนิดเสียงเบาที่เกิดขึ้นจากด้านใดด้านหนึ่งได้
พัฒนาการด้านภาษา
- ตอบรับผู้ที่เรียก
- แยกโทนเสียงที่ใช้อารมณ์
- พูดเสียงพยัญชนะติด ๆ กัน เช่น บาบา ดาดา
- เลียนแบบเสียงต่าง ๆ ตามผู้ใหญ่
พัฒนาการด้านอารมณ์และสังคม
- แสดงความชอบอย่างชัดเจนต่อแม่หรือบุคคลที่ห่วงใย
- เริ่มพัฒนาความกลัวคนแปลกหน้า
- แสดงความสนใจต่อรูปลักษณ์ตนเองในกระจก
พัฒนาการด้านสติปัญญา
ในช่วงสองถึงสามเดือนนี้ นอกจากการจดจำขอมูลแล้วทารกของท่านยังเรียนรู้ที่จะนำข้อมูลนั้นมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันอีกด้วย ระหว่างช่วงเวลานี้ แนวคิดหนึ่งที่สำคัญที่ทารกของท่านได้รับคือเรื่อง "เหตุและผล"เขาเริ่มตระหนักว่าของเล่นเขย่ามือจะมีเสียงต่อเมื่อเขาเขย่า เมื่อเขาเข้าใจว่าเขาสามารถสร้างปฏิกิริยาที่น่าสนใจเหล่านี้ได้ เขาจะทดลองวิธีอื่น ๆ ต่อไปเพื่อทำให้ผลเกิดขึ้น
แนวคิดสำคัญอีกอย่างคือพัฒนาการเรื่อง “ความคงอยู่ของวัตถุ” ในอดีตทารกของท่านสันนิษฐานว่าโลกมีเพียงสิ่งของที่เขาสามารถมองเห็นได้เท่านั้น เมื่อท่านนำของเล่นไปซ่อนไว้ใต้ผ้า เขาจะคิดว่าของเล่นนั้นได้หายไปจากโลกแล้วและจะไม่คิดที่จะตามหา แต่ในตอนนี้เขาเริ่มตระหนักได้ว่าโลกคงอยู่ถาวรมากกว่าที่เขาคิด ของเล่นที่ซ่อนอยู่ไม่ได้หายไปแต่อย่างใด นี่เป็นพื้นฐานพัฒนาการสำคัญเรื่องความผูกพันแบบมั่นคงกับท่าน
- ชอบสร้างเสียงจากของเล่น (เช่น ของเล่นเขย่ามือ) และวัตถุต่าง ๆ (เช่น กุญแจ) บ่อยครั้ง
- ชอบเล่น "จ๊ะเอ๋"
- หาวัตถุที่ซ่อนอยู่บางชิ้นได้
การสนับสนุนพัฒนาการเด็กทารก
ทำให้แน่ใจว่ามีผู้ดูแลทารกของท่านอยู่ตลอดเวลา ใช้ประโยชน์จากการเข้าสังคมของทารกในการแนะนำให้เขารู้จักกับผู้ที่จะดูแลเขาก่อน วิธีนี้สามารถสนับสนุนพัฒนาการเรื่อง ความผูกพันแบบมั่นคง กับ ผู้ดูแลหลัก ได้เพื่อที่ว่าเขาจะมีความมั่นใจเมื่อออกไปข้างนอกและสำรวจสิ่งแวดล้อม
อารมณ์ของทารกของท่านจะชัดเจนขึ้นในช่วงไม่กี่เดือนนี้ ใช้เวลาเรียนรู้แนวทางนิสัยของบุตรและพัฒนากิจกรรมและแบบแผนของท่านเกี่ยวกับการมีปฏิสัมพันธ์ที่เหมาะสมทั้งกับท่านและบุตร เนื่องจากเด็กแต่ละคนต่างกัน
ท่านสามารถทำอะไรได้บ้าง:
- ให้ทารกของท่านมีการเคลื่อนไหวทางร่างกายในหลาย ๆ ครั้งต่อวันด้วยวิธีที่หลากหลาย ยิ่งมากยิ่งดี
- ให้เขามีเวลาอย่างน้อย 30 นาทีในการฝึกนอนคว่ำ โดยยืดเวลาออกไปตลอดวันในขณะตื่นนอน
- เมื่อเขานอนคว่ำ โน้มน้าวให้เขายกศีรษะและอกขึ้นโดยดึงดูดด้วยของเล่น
- ช่วยทารกของท่านฝึกการนั่งและการทรงตัวด้วยตนเอง ช่วยเหลือเขาในขั้นต้นด้วยตัวท่านเองหรือใช้หมอนหนุนที่ด้านหลังและด้านข้าง จากนั้นค่อย ๆ นำหมอนออกทีละใบ
- หลีกเลี่ยงกักทารกของท่านไว้ในรถเข็นเด็ก เก้าอี้สูง หรือเป้อุ้มทารกมากกว่า 1 ชั่วโมงในแต่ละครั้ง
- วางของเล่นหลากสีไว้ด้านหน้าเขาเพื่อดึงดูดให้เขาเข้าหาของเล่น
- พูดคุยกับเขาระหว่างวันอย่างต่อเนื่อง พูดซ้ำพยางค์ที่เขาพูดและโน้มน้าวให้เขาลอกเลียนเสียงของท่าน
- ให้บุตรของท่านหลีกเลี่ยงเวลาหน้าจอด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ
ของเล่นที่ท่านเลือกได้:
- ของเล่นเขย่ามือและของเล่นต่าง ๆ มีผิวสัมผัสและสีสันต่างกันที่สามารถสร้างเสียงเพื่อกระตุ้นให้ทารกใช้แขนของตนเองในการจัดการ
- กระจกแบบไม่แตกสำหรับทารก
- ให้ทารกและท่านดูรูปภาพหรือหนังสือหลากสีสันด้วยกัน
ข้อมูลข้างต้นเป็นเพียงแนวความคิดทั่วไปเกี่ยวกับการคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงของการเจริญเติบโตในบุตรของท่านเท่านั้น ทารกแต่ละคนมีความพิเศษและจังหวะของพัฒนาการที่หลากหลายนั้นมักเป็นเรื่องปกติ ไม่ต้องวิตกกังวลหากทารกของท่านใช้ช่วงเวลาที่แตกต่างเล็กน้อยหรือไม่สามารถมีความสามารถบางอย่างในบางช่วงอายุ นั่นอาจเป็นเพียงสัญญาณของความต้องการการดูแลเอาใจใส่มากขึ้นก็ได้
ในตอนท้ายของช่วงเวลานี้ ให้ปรึกษาแพทย์หรือพยาบาลหากทารกของท่าน
- เคลื่อนไหวน้อยหรือเคลื่อนไหวอย่างไม่สมดุล
- ประคองมือแล้วยังนั่งไม่ดี
- ไม่ลงน้ำหนักบางส่วนที่ขาเมื่อถูกอุ้มขึ้น
- ไม่เอื้อมจับและคว้าวัตถุ
- ไม่มองตามวัตถุที่อยู่ใกล้หรือไกล
- เหล่ตาหนึ่งหรือทั้งสองข้างเข้าหรือออกอย่างต่อเนื่อง (เช่น การตาเหล่)
- ไม่ตอบรับการเรียก
- ไม่หันศีรษะตามแหล่งกำเนิดเสียง
- ไม่เปล่งเสียง
หากท่านมีความกังวลหรือคำถามใด ๆ ปรึกษาพยาบาลหรือแพทย์ที่ MCHC หรือแพทย์ครอบครัว/กุมารแพทย์ของท่าน
เรามีชุดเวิร์กชอปและแผ่นพับ "การเลี้ยงดูอย่างมีความสุข!" สำหรับผู้ปกครองที่ตั้งครรภ์ ผู้ปกครองของทารกแรกเกิดและเด็กก่อนวัยเรียน โปรดติดต่อบุคลากรทางการบริการสุขภาพของเราสำหรับข้อมูล