พัฒนาการเด็ก 7 – สองถึงสามปี
หลังจากวันเกิดปีที่สอง ความเร็วของการเติบโตทางร่างกายและพัฒนาการของกล้ามเนื้อของบุตรของท่านจะลดลงอย่างสัมพันธ์กัน แต่ท่านจะเห็นการเปลี่ยนแปลงของพัฒนาการด้านสติปัญญา ภาษา สังคมและอารมณ์อย่างมาก ความคาดหวังที่เพิ่มขึ้นของท่านและการพึ่งพาตนเองที่เพิ่มขึ้นของบุตรของท่านอาจปะทะกันได้และอาจค่อนข้างมีอารมณ์เข้ามาเกี่ยวข้อง การเข้าใจและยอมรับการเปลี่ยนแปลง และการนำกลยุทธ์การเลี้ยงดูเชิงบวกมใช้จะทำให้สถานการณ์ง่ายขึ้นแก่ทั้งสองฝ่ายในช่วงปีที่กำลังจะมาถึง เขาจะเรียนรู้ความรู้สึกสบาย มีความสามารถและเป็นพิเศษ ความรู้สึกเหล่านี้จะช่วยให้เขาพัฒนาภาพพจน์เชิงบวกของตนเองและปรับตัวให้ประสบความสำเร็จในสังคมในอนาคตมากขึ้น
ในช่วงสุดท้ายของช่วงเวลานี้ ทารกของท่านจะสามารถ:
เคลื่อนไหว
- วิ่งเร็ว
- เตะลูกบอล
- กระโดดและปีนได้ดี
- เดินขึ้นลงบันไดโดยไม่ต้องการความช่วยเหลือ
- ถีบจักรยานสามล้อ
ทักษะการใช้มือและนิ้ว
- ถือดินสอและเขียนเส้นแนวตั้งและแนวนอนบนกระดาษ
- ใช้ของเล่นก่อสร้างสร้างโมเดลง่าย ๆ
- ร้อยลูกปัด
- เปลี่ยนหน้าหนังสือในหนึ่งครั้ง
- ไขลานของเล่น
พัฒนาการด้านภาษา
- ปฏิบัติตามคำสั่งสั้น ๆ ได้ (เช่น "นำรถไปเก็บในกล่องของเล่น")
- จำและระบุสิ่งของและรูปภาพแบบธรรมดาได้
- เข้าใจคำกริยาและคำคุณศัพท์ (เช่น "เปิด" "ร้อน" ฯลฯ)
- ตอบคำถามง่าย ๆ ได้ "ใช่/ไม่" "อะไร" และ "ที่ไหน"
- พูดเป็นคำหรือเป็นประโยคง่าย ๆ ได้ (เช่น "แม่อยากได้คุ้กกี้" "ลูกบอลอยู่ไหน")
- เริ่มใช้คำสรรพนาม (่เช่น "หนูอยากได้แก้วของหนู")
- ตอบชื่อและอายุเมื่อถูกถามได้
- ชอบถามคำถาม "คืออะไร"
พัฒนาการด้านสติปัญญา
ในตอนนี้กระบวนการเรียนรู้ของบุตรของท่านจะรอบคอบมมากขึ้น เขาจะเริ่มสร้างภาพพจน์ของสิ่งของ การกระทำ และแนวคิดตามภาษา ตอนนี้เขาสามารถแก้ไขปัญหาทางจิตใจแทนที่จะขึ้นอยู่กับการบังคับสิ่งของด้วยร่างกาย ความทรงจำและความสนใจที่ดีขึ้นจะช่วยให้เขามีสมาธิมากขึ้นและเล่นได้อย่างไม่มีเสียง เมื่อเขาเริ่มเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งของ เขาจะสนุกกับการต่อคำไขว้เข้าด้วยกันและเกมแบ่งประเภทต่าง ๆ แนวคิดด้าน "เหตุและผล" ช่วยให้เขารับรู้ว่าของเล่นทำงานอย่างไร เช่น ของเล่นไขลาน อย่างไรก็ตาม เขายังไม่สามารถเข้าใจเหตุผลตรรกะทางนามธรรมได้ มุมมองของเขาต่อโลกยังง่ายและตรงไปตรงมา เขาเข้าใจคำพูดของท่านตามจริงและอาจไม่เข้าใจมุกตลก ท่านจะต้องระมัดระวังการเลือกใช้คำพูดของท่าน
- จับคู่สิ่งของกับรูปภาพ
- แบ่งประเภทและระบุสีบางสี
- เริ่มเข้าใจแนวคิดเกี่ยวกับตัวเลข รู้แนวคิดเรื่อง "หนึ่ง" และ "สอง"
- แก้ปริศนาตัวต่อ 3-4 ตัวได้
- ละเอียดอ่อนกับการเล่นบทบาทสมมติ และการรับบทบาทมากขึ้น (เช่น เล่นเป็นหมอหรือครู)
พัฒนาการด้านอารมณ์และสังคม
- ยังคงเอาแต่ใจ
- เลียนแบบธรรมเนียมปฏิบัติและพฤติกรรมจากผู้ใหญ่และเพื่อนที่เล่นด้วย
- แสดงความรักแก่เพื่อนเล่นที่คุ้นเคย
- เริ่มสลับกันและแบ่งปัน
- แสดงอารมณ์ฉุนเฉียวและพฤติกรรมเกเรเมื่อโกรธ
ทักษะการดูแลตนเอง
- ทำตัวให้แห้งในช่วงกลางวัน
- รับประทานอาหารด้วยตัวเองได้อย่างคล่องแคล่ว
- ใส่และถอดเสื้อผ้าที่สวมใส่แบบง่าย ๆ ได้
การกระตุ้นพัฒนาการเด็กอ่อน
เด็กอายุเท่านี้คล่องแคล่วและมีพลังมากบุตรของท่านชอบวิ่ง กระโดด และปีนมากกว่าการเดินช้า ๆ หรือนั่งนิ่งเป็นเรื่องปกติ หากเขาเป็นเด็กที่คล่องแคล่ว ให้ปรับเปลี่ยนความคาดหวังของท่าน แทนที่จะให้เขาอยู่ในสภาพแวดล้อมจำกัด ลองให้โอกาสเขาได้ปลดปล่อยพลังงานโดยการวิ่งและเคลื่อนไหวไปมาในสถานที่ที่ปลอดภัยและกลางแจ้งภายใต้การดูแลของท่าน (เช่น สนามเด็กเล่นและสวนสาธารณะ)
ใช้เวลากับบุตรของท่านต่อไป แสดงความรักและความสนใจแก่เขา สร้างกฎง่าย ๆกับบุตรของท่านและมั่นคงในกฎเหล่านั้น สนับสนุนพฤติกรรมที่ดีโดยการนชมเขาหรือให้ ความสนใจเชิงบวก เป็นตัวอย่างที่ดีให้บุตรของท่านได้เรียนรู้ ใช้ทุกโอกาสในการสอนทักษะใหม่ ๆ
การเข้าโรงเรียนเตรียมอนุบาลจะให้โอกาสเขาในการมีปฏิสัมพันธ์กับเด็กคนอื่น ๆ และผู้ใหญ่นอกบ้าน เป็นการช่วยให้เขาพัฒนาทักษะทางสังคมและเป็นการแนะนำให้เขารู้จักกฎที่เป็นทางการมากกว่ากฎในบ้าน
ท่านสามารถทำอะไรได้บ้าง:
- ให้บุตรของท่านออกกำลังกายหลากหลายรูปแบบอย่างน้อย 3 ชั่วโมงต่อวัน
พาบุตรของท่านออกไปข้างนอกทุกวัน ให้เขาวิ่ง เล่น และสำรวจ เช่น เล่นในสนามเด็กเล่นและสวนสาธารณะ
- หลีกเลี่ยงการให้บุตรของท่านนั่งบนรถเข็นหรือเก้าอี้สูงมากกว่า 1 ชั่วโมงในแต่ละครั้ง
- ใช้ประโยชน์จากกิจกรรมในทุก ๆ วันเพื่อแนะนำแนวคิดเกี่ยวกับขนาด สี และตัวเลข
- อ่านหนังสือให้บุตรของท่านฟังทุกวัน สนับสนุนให้เขาเรียนรู้คำศัพท์ใหม่ ๆ ช่วยเขาสร้างประโยคที่ยาวขึ้นและช่วยตอบคำถามง่าย ๆ
- มุ่งเน้นที่กิจกรรม หนังสือภาพที่มีหลากสีสันหรือหนังสือเรื่องสั้นที่สามารถช่วยรักษาความสนใจของเขาต่อการอ่านหนังสือได้
- สนับสนุนและเข้าร่วมการเล่นบทบาทสมมติกับบุตรของท่าน ใช้ประโยชน์จากของใช้ที่ใช้ได้ภายในบ้าน
- สนับสนุนให้เขาพึ่งพาตนเองในการดูแลตัวเองแบบง่าย ๆ
- ให้โอกาสแก่บุตรของท่านในการเล่นกับเด็กและผู้ใหญ่คนอื่น ๆ
- จำกัดเวลาการดูหน้าจอจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ของบุตรของท่านไม่ให้เกิน 1 ชั่วโมง เลือกโปรแกรมที่เหมาะสมสำหรับเขาในการดูและเล่น และแนะนำเขาในขณะเดียวกัน
ของเล่นที่ท่านเลือกได้:
- ของเล่นขนาดเล็ก เช่น ชุดน้ำชา บ้านตุ๊กตา รถยนต์และโรงรถ ฯลฯ
- ของเล่นสร้างสรรค์ เช่น บล็อกตัวต่อ และดินน้ำมัน ฯลฯ
- อุปกรณ์ลงสีและวาดภาพ
- ภาพที่มีสีสันหรือหนังสือเรื่องสั้น
- ปริศนาตัวต่อง่าย ๆ และของเล่นจับคู่
- เครื่องดนตรี เช่น เปียโนของเล่น กลอง ฯลฯ
ข้อมูลข้างต้นเป็นเพียงแนวความคิดทั่วไปเกี่ยวกับการคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงของการเจริญเติบโตในบุตรของท่านเท่านั้น เด็กแต่ละคนมีเอกลักษณ์และจังหวะของพัฒนาการที่หลากหลายนั้นมักเป็นเรื่องปกติ ไม่ต้องวิตกจนเกินไปหากบุตรของท่านใช้ช่วงเวลาที่แตกต่างเล็กน้อยหรือไม่สามารถมีความสามารถบางอย่างในบางช่วงอายุได้ นั่นอาจเป็นเพียงสัญญาณของความต้องการการดูแลเอาใจใส่มากขึ้นก็ได้
ในตอนท้ายของช่วงเวลานี้ ให้ปรึกษาแพทย์หรือพยาบาลหากบุตรของท่าน
- ล้มบ่อยหรือไม่สามารถขึ้นลงบันไดได้ด้วยตนเอง
- ไม่วาดเส้นแนวตั้งและแนวนอน
- ไม่ใช้ช้อน ส้อม หรือตะเกียบในการรับประทานอาหาร
- ไม่เข้าใจคำสั่งง่าย ๆ เช่น "ไปที่ห้องและหยิบเสื้อโค้ท"
- ไม่สามารถสนทนาด้วยประโยค 2-3 คำได้ (เช่น "ดื่มน้ำผลไม้" "อยากได้ลูกบอล")
- ไม่สนใจเด็กคนอื่น
- ไม่สนใจการเล่นบทบาทสมมติ เช่น เล่นการแสดง
- แสดงให้เห็นถึงความยากลำบากอย่างมากในการแยกตัวจากผู้ดูแลในแทบทุกสถานการณ์
หากท่านมีความกังวลหรือคำถามใด ๆ ปรึกษาพยาบาลหรือแพทย์ที่ MCHC หรือแพทย์ครอบครัว/กุมารแพทย์ของท่าน
เรามีชุดเวิร์กชอปและแผ่นพับ "การเลี้ยงดูอย่างมีความสุข!" สำหรับผู้ปกครองที่ตั้งครรภ์ ผู้ปกครองของทารกแรกเกิดและเด็กก่อนวัยเรียน โปรดติดต่อบุคลากรทางการบริการสุขภาพของเราสำหรับข้อมูล