พัฒนาการเด็ก 6 – หนึ่งถึงสองปี
หลังจากวันเกิดครั้งแรก บุตรของท่านจะเข้าสู่ช่วงเด็กวัยหัดเดิน เขาสามารถเดินและพูดคุยได้เล็กน้อย เขาจะพึ่งพาตนเองมากขึ้นและเริ่มลองควบคุมตนเอง ท่านจะพบว่าเขาทดสอบขีดจำกัดของท่านและค้นพบขีดจำกัดของตนเอง ความต้องการของท่านและของเขาอาจไม่ตรงกันซึ่งเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ เขาไม่ได้ต้องการที่จะเกเร แต่เขาแค่พยายามค้นหาสิ่งที่เขาทำได้ตามความสามารถเชิงพัฒนาการของเขา จำไว้ว่าเขาไว้ใจท่านที่จะแสดงให้เขาเห็นว่าสิ่งใดที่ท่านอนุญาตและสิ่งใดที่ท่านไม่อนุญาต และเขาจะมองท่านบ่อยครั้งเพื่อความแน่ใจและความปลอดภัย ในช่วงนี้ เขาจะแสดงสัญญาณการแสดงความเป็นเจ้าของกับสิ่งของและผู้คนใกล้ตัวเขามากขึ้นอีกด้วย
ในช่วงสุดท้ายของช่วงเวลานี้ ทารกของท่านจะสามารถ:
เคลื่อนไหว
- ใช้การเดินเป็นวิธีการเคลื่อนไหวแบบปกติในช่วงประมาณ 18 เดือน แม้ว่าขาของเขาอาจจะยังไม่มั่นคง
- เดินได้ด้วยตนเองอย่างคล่องแคล่วเมื่ออายุ 2 ปี
- นั่งยอง ๆ เพื่อเก็บของบนพื้นโดยที่ไม่หกล้ม
- เดินเร็วหรือวิ่ง
- ถือหรือลากของเล่นขณะเดิน
- ปีนเฟอร์นิเจอร์ขึ้นและลงโดยไม่ต้องการความช่วยเหลือ
- เดินขึ้นและลงบันไดด้วยการจับบางอย่างเพื่อพยุง
- พยายามเตะลูกบอล
ทักษะการใช้มือและนิ้ว
- สร้างตึกด้วยบล็อกสี่บล็อกหรือมากกว่า
- พลิกกระดาษหนังสือหลาย ๆ หน้าได้ในแต่ละครั้ง
- หมุนเปิดลูกบิดและเปิดฝาขวดน้ำได้
- นำหมุดใส่รูได้
- ใช้สีเทียนเขียนหวัด ๆ ได้
- แสดงความสามารถในการใช้มือเดียว
พัฒนาการด้านภาษา
- ชี้ไปที่ส่วนของร่างกายตามชื่อที่เรียก
- จำชื่อบุคคลและสิ่งของที่คุ้นเคยได้
- ปฏิบัติตามคำแนะนำง่าย ๆ โดยไม่มีท่าทางชี้นำ เช่น "เอาลูกบอลมาให้พ่อ/แม่"
- พูดคำเดี่ยว ๆ ได้ มักเป็นคำนามก่อนจากนั้นเป็นคำกริยา
- เริ่มผสมคำได้ เช่น "แม่กิน" "อยากคุ้กกี้"
พัฒนาการด้านสติปัญญา
- เริ่มแยกแยะสิ่งของจากรูปร่างและขนาดได้
- สนุกกับการเล่นบทบาทสมมติ ขั้นแรกจะมีแค่ตนเองเท่านั้น (เช่น ใช้ช้อนป้อนตนเอง) จากนั้นค่อย ๆ เล่นกับผู้อื่น (เช่น ป้อนแม่หรือตุ๊กตา)
- เริ่มเรียนรู้วิธีการแก้ปัญหาจากการทดลองและความผิดพลาด
พัฒนาการด้านอารมณ์และสังคม
- เอาแต่ใจ
- สนุกกับการดูและอยู่กับเด็กคนอื่น มักเป็นเด็กที่แก่กว่า
- แสดงความเป็นเจ้าของและแย่งของเล่น
- ใช้ท่าทาง (เช่น การชี้) หรือการพูดเพื่อแสดงความต้องการและเพื่อดึงความสนใจของท่านไปยังสิ่งที่เขาสนใจ
- เรียนรู้ที่จะเล่นกับผู้อื่นด้วยการมีการโต้ตอบระหว่างกัน (ช่วงครึ่งหลังของช่วงเวลานี้)
- เลียนแบบพฤติกรรมและกิจกรรมของผู้อื่น โดยเฉพาะผู้ใหญ่และเด็กที่อายุมากกว่า
ทักษะการดูแลตนเอง
- พยายามใช้ช้อนป้อนตนเองและดื่มน้ำจากถ้วย
- ถอดรองเท้า
- เริ่มแสดงความต้องการที่จะเข้าห้องน้ำ
การกระตุ้นพัฒนาการเด็กอ่อน
เด็กวัยหัดเดินในช่วงอายุนี้ต้องการการดูแลและสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยเพื่อสำรวจใช้เวลากับบุตรของท่านเพื่อสนับสนุนและแนะนำเขา และแสดงความรักแก่เขา พยายามพัฒนากิจวัตรที่ต่อเนื่องสร้าง"กฏ"ที่ปลอดภัยที่มีความหมายง่าย ๆ ที่บุตรของท่านสามารถเข้าใจได้ จัดหาของเล่นหลากหลายประเภทให้เขาเพื่อสนับสนุนการเล่นด้วยตนเอง เนื่องจากเด็กวัยหัดเดินเป็นนักเลียนแบบที่ดี ให้เป็นตัวอย่างที่ดีจากคำพูดและพฤติกรรมของท่านเพื่อให้บุตรของท่านได้เรียนรู้
ท่านสามารถทำอะไรได้บ้าง:
- ให้บุตรของท่านหลีกเลี่ยงเวลาหน้าจอด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ
- ให้บุตรของท่านใช้เวลาอย่างน้อย 3 ชั่วโมงต่อวันในการทำกิจกรรมทางร่างกายที่หลากหลายซึ่งสามารถขยายเวลาออกไปได้ตลอดทั้งวัน ให้เขาสำรวจและฝึกฝนทักษะการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อในแบบต่าง ๆ เช่น พาเขาไปสวนสาธารณะที่มีของเล่นกลางแจ้ง เช่น สไลด์เดอร์ ชิงช้า ฯลฯ
- หลีกเลี่ยงการกักบุตรของท่านไว้ในรถเข็นเด็ก เก้าอี้สูง หรือเป้อุ้มทารกมากกว่า 1 ชั่วโมงในแต่ละครั้ง
- ใช้ทุกโอกาสเพื่อพูดคุยกัน
- อ่านหนังสือภาพเด็กและหนังสือที่มีเรื่องราวง่าย ๆ ด้วยกัน
- ร้องเพลงและฟังเพลงเด็กด้วยกัน
ของเล่นที่ท่านเลือกได้:
- ลูกบอลหลากหลายขนาดเพื่อเตะและโยน
- ของเล่นที่สามารถผลักและดึงได้
- บล็อกต่อตึก
- สีเทียนและกระดาษเพื่อลากเส้น
- กล่องแบ่งรูปร่างง่าย ๆ และกระดาษอัดเจาะรู
- ของเล่นที่สนับสนุนการเล่นสวมบทบาท ของเล่น เช่น ตุ๊กตา ตุ๊กตาสัตว์ โทรศัพท์ของเล่น ชุดเครื่องครัว และเครื่องใช้ในบ้านนั้นเหมาะสมสำหรับทั้งเด็กชายและเด็กหญิง
- เครื่องดนตรี เช่น เปียโนของเล่นและกลอง ฯลฯ
ข้อมูลข้างต้นเป็นเพียงแนวความคิดทั่วไปเกี่ยวกับการคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงของการเจริญเติบโตในบุตรของท่านเท่านั้น เด็กแต่ละคนมีความพิเศษและจังหวะของพัฒนาการที่หลากหลายนั้นมักเป็นเรื่องปกติ ไม่ต้องวิตกกังวลหากทารกของท่านใช้ช่วงเวลาที่แตกต่างเล็กน้อยหรือไม่สามารถมีความสามารถบางอย่างในบางช่วงอายุ นั่นอาจเป็นเพียงสัญญาณของความต้องการการดูแลเอาใจใส่มากขึ้นก็ได้
ปรึกษาแพทย์หรือพยาบาลหาก
ในช่วงท้ายของเดือนที่ 18 บุตรของท่านจะ
- ไม่สามารถเดินเองได้
- ไม่เล่นอย่างมีความหมายแต่ชอบโยนและนำของเล่นเข้าปาก
- แทบจะไม่จ้องตาผู้ดูแล
- ไม่แสดงความสนใจในการเล่นกับผู้ดูแล ต้องการเล่นคนเดียวมากกว่า
- ไม่เข้าใจชื่อของบุคคลที่คุ้นเคยหรือสิ่งของ เช่น คุณยาย ถ้วย นม
- ไม่ชี้นิ้วบอกความต้องการ
- ไม่พูด
ในตอนท้ายของช่วงเวลานี้ ให้ปรึกษาแพทย์หรือพยาบาลหากบุตรของท่าน
- เดินอย่างมั่นคงไม่ได้
- ไม่เข้าใจชื่อของสิ่งของทั่วไปภายในบ้านหรือส่วนของร่างกาย
- ไม่ใช้ท่าทางหรือคำพูดเพื่อดึงความสนใจของท่านไปที่สิ่งของ/เหตุการณ์ที่เขาสนใจ
- พูดได้เพียงแค่คำเดี่ยว ๆ เท่านั้น
- ไม่แสดงความสนใจในการเล่นกับผู้ดูแล ต้องการเล่นคนเดียวมากกว่า
- ไม่สนใจในการเล่นบทบาทสมมติ เช่น การเล่นชุดน้ำชา
- ได้ยินหรือเห็นไม่ชัด
หากท่านมีความกังวลหรือคำถามใด ๆ ปรึกษาพยาบาลหรือแพทย์ที่ MCHC หรือแพทย์ครอบครัว/กุมารแพทย์ของท่าน
เรามีชุดเวิร์กชอปและแผ่นพับ "การเลี้ยงดูอย่างมีความสุข!" สำหรับผู้ปกครองที่ตั้งครรภ์ ผู้ปกครองของทารกแรกเกิดและเด็กก่อนวัยเรียน โปรดติดต่อบุคลากรทางการบริการสุขภาพของเราสำหรับข้อมูล