ให้ทารกบอกท่าน - เคล็ดลับสำหรับการสื่อสารระหว่างผู้ปกครอง-บุตร

(เนื้อหาปรับปรุงใหม่ 03/2017)

เคล็ดลับสำหรับการสื่อสารระหว่างผู้ปกครอง-บุตร

(สำหรับผู้ปกครองของเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี)

เด็ก ๆ เกิดมาเพื่อเพลิดเพลินกับการสื่อสารกับผู้อื่น ก่อนที่พวกเขาจะพูดได้ พวกเขาได้แสดงออกถึงความต้องการและสิ่งที่ชอบผ่านทางวิธีการต่าง ๆ ที่ไม่ใช่คำพูด (การแสดงออกทางสีหน้า การเคลื่อนไหวร่างกายและเสียงต่าง ๆ ฯลฯ) แผ่นข้อเท็จจริงเรื่อง "เคล็ดลับสำหรับการสื่อสารระหว่างผู้ปกครอง-บุตร" นี้และวีดีโอเรื่อง "ให้ทารกบอกท่าน" จัดทำขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ที่จะช่วยผู้ปกครองให้มีความเข้าใจและให้ทักษะที่จำเป็นสำหรับการสื่อสารที่มีประสิทธิผลระหว่างผู้ปกครอง-บุตร

*แผ่นข้อเท็จจริงนี้เป็นส่วนเติมเต็มให้กับวีดีโอเรื่อง "ให้ทารกบอกท่าน" และแนะนำให้ดูด้วยกันเพื่อให้มีความเข้าใจที่ครบถ้วนของการสื่อสารที่มีประสิทธิผลระหว่างผู้ปกครอง-บุตร ท่านสามารถเข้าถึงวีดีโอโดยเยี่ยมชมเว็บไซต์ของบริการอนามัยครอบครัวของกรมอนามัย www.fhs.gov.hk หรือ ยืมดีวีดีจากแพทย์และพยาบาลของศูนย์สุขภาพแม่และเด็ก

อะไรคือการสื่อสารที่มีประสิทธิผลระหว่างผู้ปกครอง-บุตร

เมื่อเรากำลังสื่อสารกับบุตรของเรา เรามีแนวโน้มที่จะโฟกัสความคิดของเราหรือคำสั่งที่เราให้กับเด็กโดยปราศจากการให้ความสนใจในการตอบสนองหรือความสนใจของเขา "การสื่อสารทางเดียว" เช่นนั้น เช่น "หนูควรวางห่วงที่นี่" หรือ "นำบอลมาที่นี่" ยากที่จะนำการตอบสนองของเด็กออกมา และจะไม่กระตุ้นความสนใจของเขาในการพูดคุย

การสื่อสารที่มีประสิทธิผลระหว่างผู้ปกครอง-บุตรควรเป็นแบบสองทางและมีการโต้ตอบโดยทั้งผู้ปกครองและบุตรมีส่วนร่วมและสนุกกับกระบวนการ เมื่อท่านโต้ตอบกับบุตรของท่าน ท่านสามารถสังเกตการแสดงออกทางสีหน้า เสียงและกิริยาท่าทาง พยายามเดาความหมายของการแสดงออกที่ไม่ใช่คำพูดเหล่านี้และตอบโต้ตามนั้น ด้วยวิธีนี้บุตรของท่านจะทราบว่าท่านสามารถเข้าใจเขาและเขาจะแสดงความสนใจและตอบโต้ท่านกลับมา

การสื่อสารระหว่างผู้ปกครอง-บุตรเกิดขึ้นเมื่อท่านเล่นกับบุตรของท่านและเมื่อเขาแสดงความต้องการของเขากับท่าน การเล่นเป็นส่วนสำคัญของชีวิตเด็ก ๆ เพราะมันผ่อนคลายและสร้างโอกาสสำหรับการสื่อสาร ภายใต้บรรยากาศที่สนุกสนาน เด็ก ๆ จะมีความสุขที่จะสำรวจและเรียนรู้กับท่าน ท่านสามารถใช้เวลาเพื่อสอนเขาถึงวิธีที่จะแสดงความต้องการของเขาได้

จะเตรียมตัวสำหรับการสื่อสารระหว่างผู้ปกครอง-บุตรอย่างไร

เด็กทุกคนมีเอกลักษณ์และจังหวะของพัฒนาการที่แตกต่างกัน ท่านควรเลือกที่จะเล่นกิจกรรมที่ปรับให้เหมาะสมกับช่วงอายุและจังหวะในพัฒนาการ อารมณ์และความสนใจ เกมที่ยากหรือง่ายเกินไปสำหรับบุตรของท่านจะลดความสนใจที่จะมีส่วนร่วมของเขาลงและพรากโอกาสการเรียนรู้ไปจากเขา

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่องพัฒนาการเด็ก กรุณาอ่าน "พัฒนาการเด็ก" และชุดแผ่นพับ "การเลี้ยงดูบุตร" พิมพ์โดยบริการอนามัยครอบครัว กรมอนามัย

  1. รู้สึกดี

    เมื่อท่านกำลังรู้สึกดี ท่านจะมีความอดทนที่จะสังเกตพฤติกรรมบุตรของท่านระหว่างการเล่นและตอบโต้เขาอย่างเหมาะสม ดังนั้นเพื่อให้บรรลุถึงการสื่อสารที่มีประสิทธิผลระหว่างผู้ปกครอง-บุตร เมื่อท่านเหนื่อยหรืออยู่ในอารมณ์ไม่ดี อย่าบังคับตัวท่านเองให้เล่นกับบุตรของท่าน แทนที่จะทำแบบนั้น ให้พักและผ่อนคลายตัวท่านเองก่อนที่จะเล่นกับเขาเพื่อที่ท่านจะได้ไม่พลาดความสนุกในการเล่น

  2. เข้าใจในลักษณะเฉพาะของบุตรของท่าน
  3. เวลาและที่ตั้ง

    ตราบเท่าที่บุตรของท่านไม่เหนื่อยจนเกินไปหรือรู้สึกไม่สบาย ท่านสามารถสื่อสารและเล่นกับบุตรของท่านเมื่อใดก็ได้โดยการใช้สถานการณ์ประจำวันที่ท่านได้คลุกคลีด้วย

ทักษะที่มีประสิทธิผลในการสื่อสารระหว่างผู้ปกครอง-บุตร

ด้วยการตระเตรียมข้างต้น การสื่อสารระหว่างผู้ปกครอง-บุตรจะง่ายขึ้นมากเมื่อท่านใช้ทักษะต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

  1. เผชิญหน้ากัน

    “เผชิญหน้ากัน’ เป็นการส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ ให้ท่านสามารถสังเกตพฤติกรรมบุตรของท่านในขณะที่เขาสามารถเห็นการแสดงออกทางสีหน้าของท่านได้อย่างชัดเจน ท่านอาจจะนั่งยอง ๆ หรือนั่งบนพื้นเพื่อปรับตัวท่านเองให้อยู่ในระดับความสูงเดียวกันกับเด็ก

  2. ให้เด็กเป็นผู้นำ

    การให้เด็กเป็นผู้นำระหว่างการสื่อสารจะเพิ่มความตั้งใจของเขาในการสื่อสาร เขาจะมีความสุขที่จะสำรวจและเรียนรู้กับท่าน ท่านสามารถสังเกตได้ตั้งแต่แรกว่าอะไรที่เด็กให้ความสนใจหรือเล่นด้วย จากนั้นทำตามความสนใจของเขาและเป็นเพื่อนเล่นกับเขา

    หากบุตรของท่านไม่ได้แสดงความสนใจในกิจกรรมที่ท่านเลือก อย่าบังคับเขามิฉะนั้นท่านอาจจะทำให้เขารำคาญ

    ตัวอย่าง: คุณแม่อยากเล่นห่วงพลาสติกกับลูกสาวของเธอ แต่เด็กสนใจที่จะเล่นปาบอลมากกว่า ดังนั้นคุณแม่จึงทำตามความสนใจของเธอและปาบอลกับเธอ ในเวลาเดียวกัน คุณแม่ก็อธิบายการกระทำของเธอและสอนคำที่เกี่ยวข้องของเธอด้วย

  3. การพูดคุยเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่ในสายตา

    การอธิบายสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่ในสายตาแก่เด็กช่วยให้พวกเขาเข้าใจเกี่ยวกับวัตถุและเหตุการณ์ต่าง ๆ มากขึ้นและยังเสริมพัฒนาการทางภาษาของพวกเขาด้วย ซึ่งขึ้นอยู่กับสถานการณ์และความสนใจของเด็ก ท่านสามารถใช้การกระทำพร้อมกับคำง่าย ๆ เพื่ออธิบายถึงวัตถุหรือการกระทำที่เกี่ยวข้องได้ ใช้วลีง่าย ๆ เพื่อแนะนำคำศัพท์ เช่น ชื่อของวัตถุต่าง ๆ ลักษณะเฉพาะหรือฟังก์ชันแก่เด็ก ๆ เพื่อที่พวกเขาจะสามารถเข้าใจความหมายได้โดยง่าย

    จำไว้ว่าให้มีจังหวะหยุดเมื่อท่านพูด วิธีนี้จะทำให้เด็กได้มีโอกาสโต้ตอบหรือมีส่วนร่วมซึ่งเพิ่มโอกาสสำหรับเขาในการแสดงออกซึ่งตัวเขาเอง

    ตัวอย่าง: เมื่อพ่อกำลังเล่นกับลูกชาย เขาอธิบายสถานการณ์ให้ลูกชายของเขาด้วยคำง่าย ๆ ในขณะที่เขาส่งห่วงทรงเป็ดให้ลูกชายของเขา เขาพูดว่า "เป็ด" "ใส่มันผ่านเข้าไป" และอธิบายลักษณะเฉพาะ "นี่คือรู!"

  4. ตอบสนองมากขึ้นและเห็นคุณค่า

    ชมเชยและโต้ตอบทันทีกับความพยายามของเด็กในการแสดงออกซึ่งตัวเขาเอง สิ่งนี้สนับสนุนให้เขามีส่วนในการสื่อสารกับท่านเช่นเดียวกับจูงใจให้เขาแสดงออกซึ่งตัวเขาเอง เมื่อเด็กแสดงออกโดยการทำเสียงหรือกิริยาท่าทาง ท่านสามารถเลียนแบบการกระทำของเขาและเดาว่าเขาหมายความว่าอะไร ในเวลาเดียวกัน โต้ตอบเขาโดยการอธิบายการกระทำของเขาด้วยคำง่าย ๆ ชมเชยเขาสำหรับความพยายามของเขา

    ตัวอย่าง: พ่อกำลังเล่นห่วงพลาสติกกับลูกชายของเขา เขาชมบุตรสำหรับการมีส่วนร่วม เมื่อบุตรแสดงความไม่อดทนด้วยเสียงของเขา พ่อคิดว่าเขาได้ไม่สนใจอีกต่อไปและตอบว่า "หนูไม่ต้องการหรือ แล้วถ้าเล่นอันนี้ล่ะ"

การมีความคาดหวังที่มีเหตุผล

การเลี้ยงเด็กนั้นเต็มไปด้วยความสุขและสิ่งท้าทาย เด็กทุกคนมีจังหวะและจุดแข็งที่ต่างกันในพัฒนาการ พวกเขาอาจได้ทักษะบางอย่างในบางด้านของพัฒนาการก่อน ในขณะที่ได้ส่วนอื่น ๆ ในภายหลัง

ผู้ปกครองจำเป็นที่จะต้องเข้าใจและยอมรับว่าเด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกันในเรื่องของพัฒนาการ บางครั้ง แม้ท่านจะใช้ทักษะการสื่อสารที่มีประสิทธิผล แต่สมรรถนะของเขาอาจจะไม่ได้พัฒนาขึ้นอย่างมีนัยสำคัญอย่างที่ท่านคาดหวัง เมื่อท่านสามารถตามจังหวะในการเรียนรู้ของเขาและชี้นำเขาอย่างอดทนได้ ท่านจะสุขใจที่ได้เห็นบุตรของท่านพัฒนาอย่างมีความสุขในสภาวะแวดล้อมที่ผ่อนคลาย

หากท่านมีคำถามใดเกี่ยวกับพัฒนาการของบุตรของท่าน กรุณาติดต่อศูนย์สุขภาพแม่และเด็กหรือผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพท่านอื่น ๆ

บริการอนามัยครอบครัว กรมอนามัย สายด่วนข้อมูล 24 ชม:
2112 9900

บริการอนามัยครอบครัว เว็บไซต์กรมอนามัย: www.fhs.gov.hk

บริการประเมินเด็ก เว็บไซต์กรมอนามัย: www.dhcas.gov.hk