วิธีการป้อนนมทารกของคุณ เป็นการตัดสินใจของคุณ (โดยมีข้อมูลประกอบ)
เนื้อหา
- ทำการตัดสินใจโดยมีข้อมูลประกอบในการป้อนนมทารกของคุณ
- การป้อนนมทารกในช่วงแรก: สิ่งที่คุณต้องรู้
ทำการตัดสินใจโดยมีข้อมูลประกอบในการป้อนนมทารกของคุณ
ขอแสดงความยินดีด้วย คุณคงตื่นเต้นที่จะได้ต้อนรับทารกของคุณแน่ ๆ ในฐานะที่เป็นคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ คุณจำเป็นต้องเรียนรู้และเตรียมความพร้อมทั้งร่างกายและจิตใจเพื่อรับบทบาทของพ่อแม่ การเรียนรู้ทักษะและความรู้ในการเลี้ยงดูตั้งแต่เนิ่น ๆ นั้นสามารถช่วยให้คุณเป็นพ่อแม่ที่มีความสุข และเลี้ยงทารกให้มีสุขภาพดีและน่ารักน่าชังได้อย่างสบาย ๆ
วิธีการป้อนนมทารกถือเป็นการตัดสินใจอย่างแรกที่สำคัญในการเลี้ยงดู งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าโภชนาการที่มีคุณภาพสำหรับทารกและเด็กเล็กนั้นสามารถส่งเสริมการเจริญเติบโตทางร่างกายและพัฒนาการทางสมอง เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน และก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสุขภาพตลอดชีวิตแก่ทารกของคุณได้ นอกเหนือจากการเลือกโภชนาการที่ดีที่สุดสำหรับการเจริญเติบโตของทารกแล้วนั้น ความใกล้ชิดระหว่างคุณกับทารกในระหว่างการป้อนนมแม่ยังช่วยสร้างความผูกพันระหว่างพ่อแม่ลูกผ่านการทำความเข้าใจในความต้องการและนิสัยใจคอของทารกได้อีกด้วย นี่เป็นการเริ่มต้นในการเรียนรู้ทักษะการเลี้ยงดูที่ดี
ฉันควรเลี้ยงทารกอย่างไรเพื่อให้ได้รับสารอาหารที่ดีที่สุด
คุณอาจรู้สึกสับสนเล็กน้อยกับคำแนะนำต่าง ๆ จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย บริการสุขภาพครอบครัวของกรมอนามัยจึงได้จัดเตรียมข้อมูลที่ครอบคลุมและถูกต้องตามหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ล่าสุดสำหรับพ่อแม่มือใหม่ในการตัดสินใจอย่างมีข้อมูลประกอบ
การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
ประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่มีต่อทารก
- น้ำนมแม่ประกอบด้วยแอนติบอดี เซลล์ที่มีชีวิตและส่วนประกอบอื่น ๆ ที่สามารถเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของทารกได้
- น้ำนมแม่มีสารอาหารที่เป็นธรรมชาติและครบถ้วนองค์ประกอบของน้ำนมแม่จะปรับเปลี่ยนตามความต้องการของการเจริญเติบโตของทารกในระยะต่าง ๆ
- น้ำนมแม่มีเอนไซม์ที่ช่วยในการย่อยและดูดซึม นอกจากนี้ยังช่่วยในเรื่องของพัฒนาการของสมอง ดวงตา และอวัยวะอื่น ๆ อีกด้วย
- การสัมผัสใกล้ชิดและมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างแม่กับทารกในระหว่างการป้อนนมแม่จะช่วยกระชับสายสัมพันธ์ระหว่างแม่กับทารก และช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางอารมณ์ของทารกด้วย
- การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในครอบครัว ทรัพยากรทางสังคม และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
- รสชาติของน้ำนมแม่เปลี่ยนไปตามสิ่งที่แม่รับประทาน ทารกสามารถสัมผัสกับรสชาติของอาหารที่หลากหลายผ่านน้ำนมแม่ได้ ซึ่งสิ่งนี้สามารถช่วยให้ทารกยอมรับอาหารใหม่ ๆ ได้ง่ายขึ้นเมื่อมีการให้อาหารแข็ง
- ทารกของคุณจะเป็นผู้นำเมื่อคุณป้อนนมแม่จากเต้า ร่างกายของคุณจะผลิตน้ำนมในปริมาณตามความต้องการของทารก ซึ่งจะช่วยลดโอกาสการป้อนนมที่มากเกินไปและลดโอกาสการเกิดโรคอ้วนในเด็กในอนาคตอีกด้วย
- การป้อนนมแม่จากเต้าจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตของทารกที่กะทันหันที่ไม่คาดคิดและที่ไม่สามารถอธิบายได้ในระหว่างการนอนหลับ
(โปรดอ่าน: การนอนหลับฝันดีอย่างปลอดภัย)
ทารกที่ได้รับการเลี้ยงดูด้วยนมแม่จะฉลาดกว่าและมีสุขภาพที่ดีกว่า
ประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่มีต่อผู้เป็นแม่
- ช่วยให้มดลูกกลับมามีขนาดปกติ ลดความเสี่ยงในการตกเลือด และโลหิตจางหลังคลอดบุตร
- ช่วยในการเผาผลาญไขมัน และลดน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์
- การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในระยะยาวช่วยลดความเสี่ยงของโรคมะเร็งรังไข่และโรคมะเร็งเต้านม
- การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั้นสะดวกสบายเนื่องจากสามารถป้อนนมทารกได้ทุกที่ทุกเวลาเมื่อแม่อยู่กับทารก
ข้อกังวลเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และอุปสรรคที่อาจเกิดขึ้น
- ทั้งคุณและทารกต้องใช้เวลาในการเรียนรู้ทักษะการป้อนนมที่ถูกต้อง
- ทารกของคุณจำเป็นต้องได้รับการป้อนนมบ่อย ๆ และคุณอาจรู้สึกเหนื่อยในช่วงเดือนแรกได้ คุณจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนและความช่วยเหลือจากครอบครัว เพื่อน และผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพ
- เนื่องจากคุณไม่สามารถรู้ได้ว่าทารกของคุณได้รับน้ำนมไปมากน้อยแค่ไหน คุณอาจกังวลว่าทารกของคุณไม่ได้รับน้ำนมที่เพียงพอ หรือคุณผลิตน้ำนมออกมาได้ไม่เพียงพอ
- ปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจส่งผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่:
- สถานพยาบาลคลอดบุตรไม่ได้มีการใช้แนวทางปฏิบัติสายสัมพันธ์แม่ลูก
- บางสถานการณ์ที่คุณต้องแยกจากทารกของคุณ เนื่องด้วยเหตุผลทางด้านสุขภาพของทารกและมารดา หรือในตอนที่คุณต้องกลับไปทำงาน
หากคุณมีข้อกังวลใด ๆ เกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ คุณสามารถขอคำแนะนำได้จากศูนย์บริการสูตินรีเวชของคุณ หรือผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพคนอื่น ๆ การเตรียมพร้อมที่ดีก่อนการคลอดบุตรนั้นสามารถช่วยให้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ง่ายยิ่งขึ้น หากคุณต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โปรดติดต่อผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพที่เกี่ยวข้องหรือเยี่ยมชมเว็บไซต์บริการสุขภาพครอบครัวของกรมอนามัย
- จุลสาร ความรัก เริ่มต้นด้วยการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่...
- รหัสคิวอาร์ของคลิปวิดีโอ ความรัก · เริ่มต้นด้วยการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ บนใบปลิว
- จุลสารการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพระหว่างการตั้งครรภ์และการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
- คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (ข้อมูลออนไลน์)
- จุลสารแนวทางปฏิบัติของพนักงาน - ในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ไปพร้อมกับการทำงาน
การเลี้ ้ยงลููกด้ วยนมแม่่ เป็นของขวัญ จากธรรมชาต ิสำำหรับ แม่และทารก
การเลี้ยงลูกด้วยนมผงสำหรับเด็กทารก
หากแม่ไม่สามารถป้อนนมแม่ได้เนื่องด้วยเหตุผลเฉพาะบางอย่าง หรือตัดสินใจที่จะไม่ป้อนนมแม่ นมผงสำหรับเด็กทารกเป็นสิ่งเดียวที่แทนน้ำนมแม่ได้
ความยืดหยุ่นในการเลี้ยงลูกด้วยนมผงสำหรับเด็กทารก:
- ให้คนอื่นเลี้ยงทารก เพื่อที่แม่จะสามารถจัดการเวลาของตัวเองให้มีความยืดหยุ่นได้มากขึ้น
- ให้สมาชิกในครอบครัวได้สัมผัสใกล้ชิดกับทารกในขณะที่ป้อนนมอยู่ นอกจากนี้พวกเขายังสามารถเลี้ยงทารกในตอนกลางคืนให้ได้อีกด้วย
- ทำให้การป้อนนมทารกของคุณในที่สาธารณะเมื่อมีคนอื่นอยู่ใกล้ ๆ สะดวกมากขึ้นในบางโอกาส
- การเลี้ยงลูกด้วยนมจากอาหารเสริม ในกรณีที่ไม่สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้อย่างเดียวหลังจากที่แม่กลับมาทำงานต่อ
แม่บางคนอาจพบว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมผงนั้นสะดวก แต่ความจริงแล้วการเลี้ยงลูกด้วยวิธีนี้สามารถทำให้เกิดปัญหาหลายอย่างได้
ข้อเสียของการเลี้ยงลูกด้วยนมผงสำหรับเด็กทารก:
เมื่อเปรียบเทียบกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่:
- ส่วนผสมของนมผงสำหรับเด็กทารกไม่สามารถให้สารอาหารที่ดีที่สุดสำหรับการเจริญเติบโต รวมไปถึงพัฒนาการของสมอง ตาและอวัยวะอื่น ๆ ของทารกได้
- เมื่อเปรียบเทียบกับทารกที่ได้รับการเลี้ยงดูด้วยนมแม่ ทารกที่ได้รับการเลี้ยงดูด้วยนมผงนั้นเสี่ยงต่อการเป็นภูมิแพ้ (เช่น โรคผิวหนังอักเสบ) พวกเขาอาจมีอาการแพ้โปรตีนในน้ำนมวัวด้วย
- นมผงสำหรับเด็กทารกนั้นย่อยยากกว่าและอาจทำให้เกิดอาการท้องผูกบ่อยขึ้น
- นมผงสำหรับเด็กทารกผลิตขึ้นโดยการกลั่นและแปรรูปน้ำนมวัว จึงไม่มีแอนติบอดีและเซลล์ภูมิคุ้มกันที่ยังมีชีวิตอยู่ทำให้ทารกมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อมากยิ่งขึ้น (เช่น ไข้หวัด ปอดบวม หูชั้นกลางอักเสบ และท้องเสีย)
- ทารกต้องรอการเตรียมนมผงเวลาที่หิว ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องง่ายและสะดวกเสมอไป
นมผงสำหรับเด็กทารกไม่ได้ปลอดเชื้อ:
- การปนเปื้อนจากแบคทีเรียหรือสารเคมีสามารถเกิดขึ้นในระหว่างกระบวนการการผลิต การขนส่ง การเก็บรักษาและการเตรียมนมได้
- อุปกรณ์ป้อนนมต้องมีการฆ่าเชื้อโรคก่อนที่จะนำมาใช้ในการป้อนนมแต่ละครั้ง และต้องปฏิบัติตามขั้นตอนต่าง ๆ ที่เหมาะสมในการเตรียมนมผงเพื่อลดความเสี่ยงจากการเลี้ยงลูกด้วยนมผง
ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการเลี้ยงลูกด้วยนมผงสำหรับเด็กทารก:
- ทารกไม่ต้องเป็นผู้นำเมื่อป้อนนมด้วยขวดนม หากผู้ดูแลไม่สังเกตเห็นความหิวหรือความอิ่มของทารก ทารกอาจได้รับนมมากเกินไปและอาจกลายเป็นเด็กที่มีน้ำหนักเกิน "การทานเยอะ" ไม่ได้หมายถึง "สุขภาพที่ดีขึ้น"
- เมื่อบุคคลอื่นป้อนทารก ผู้เป็นแม่จำเป็นต้องคว้าโอกาสนี้เพื่อใช้เวลาในการสานสัมพันธ์กับทารกของตัวเอง
- การเลี้ยงทารกด้วยนมผงทำให้ค่าใช้จ่ายในบ้านเพิ่มสูงขึ้นรวมไปถึงการซื้อนมผง ขวดนม จุกนม อุปกรณ์ฆ่าเชื้อ และอื่น ๆ อีกทั้งยังมีค่ารักษาพยาบาลเพิ่มขึ้น เนื่องจากทารกมีแนวโน้มที่จะป่วยมากขึ้น
- มีความเป็นไปได้ที่ยี่ห้อนมผงสำหรับเด็กทารกที่ทารกของคุณทานอยู่นั้นจะไม่มีขาย ซึ่งสิ่งนี้สามารถสร้างความกังวลที่ไม่จำเป็นสำหรับพ่อแม่ได้
การป้อนนมแม่จากเต้าโดยตรงเป็นวิธีการที่เป็นธรรมชาติมากที่สุด หลังจากการพิจารณาอย่างรอบคอบแล้ว หากคุณยังตัดสินใจที่จะป้อนด้วยขวดนม (ทั้งน้ำนมแม่จากการบีบเก็บหรือนมผง) คุณต้องเรียนรู้ให้มากที่สุดเท่าที่คุณจะทำได้เกี่ยวกับวิธีการที่ปลอดภัยมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ คุณสามารถสอบถามผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพสำหรับข้อมูลดังต่อไปนี้ หรือเข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์บริการสุขภาพครอบครัวของกรมอนามัย
- แนวทางสู่การป้อนนมด้วยขวดนม (จุลสาร)
- การรับประทานเพื่อสุขภาพสำหรับทารกและเด็กเล็ก - การป้อนนม (ใบปลิว)
การป้อนนมทารกในช่วงแรก: สิ่งที่คุณต้องรู้...ตอนที่ 1
คำถามที่ 1 : ส่วนประกอบเพิ่มเติมในนมผงสำหรับเด็กทารก (เช่น โพรไบโอติกส์) ดีเทียบเท่าน้ำนมแม่ ในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและส่งเสริมสุขภาพทารกของคุณ
คำตอบ : ไม่จริง!
การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่:
- น้ำนมแม่ประกอบไปด้วยแอนติบอดีธรรมชาติที่เฉพาะตัว เซลล์ที่มีชีวิต และอื่น ๆ ซึ่งช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานโรคของทารกให้แข็งแรงมากขึ้น
- น้ำนมแม่ให้สารอาหารที่ครบถ้วนในการส่งเสริมการเจริญเติบโต
- การสัมผัสอย่างใกล้ชิดระหว่างคุณกับทารกของคุณในช่วงป้อนนมแม่จากเต้านั้นช่วยให้ทารกรู้สึกปลอดภัย ด้วยวิธีนี้จึงช่วยกระชับสายสัมพันธ์แม่ลูกและส่งเสริม พัฒนาการ ทาง สมองของทารก
นมผงสำหรับเด็กทารก:
- นมผงนั้นไม่มีแอนติบอดีธรรมชาติ โปรตีนโกรทแฟคเตอร์หรือ เซลล์ที่มีชีวิตที่ช่วยขจัดโรค
- ส่วนประกอบเพิ่มเติมนั้นมีไว้เพื่อเลียนแบบส่วนประกอบของน้ำนมแม่ ซึ่งหลักฐานนั้นมีไม่เพียงพอที่จะพิสูจน์ว่าสารประกอบเพิ่มเติมเหล่านี้ส่งผลดีต่อสุขภาพทารกของคุณได้ในระยะยาว
- มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดการปนเปื้อนในระหว่างการผลิต การจัดเก็บ และกระบวนการการขนส่ง
- การจัดการที่ไม่เหมาะสมในระหว่างการเตรียมนมผงสามารถนำไปสู่การเจริญเติบโตของแบคทีเรีย ซึ่งเสี่ยงต่อสุขภาพร่างกายของทารก
(โปรดอ่านบทที่ 1 ใน ความรัก เริ่มต้นจากการป้อนนม... สำหรับรายละเอียด)
คำถามที่ 2: การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพิ่มภาระทางกายให้แก่ฉัน
คำตอบ: ไม่จริง!
- การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อาจเพิ่มภาระให้คุณ แต่คุณสามารถทำการปรับเปลี่ยนเพื่อช่วยให้ดีขึ้นได้
- ไม่ว่าจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หรือเลี้ยงด้วยนมผง ทารกแรกเกิดของคุณจำเป็นต้องได้รับการป้อนนมบ่อยครั้งทั้งกลางวันและกลางคืนในช่วงเดือนแรก ซึ่งทำให้คุณรู้สึกเหนื่อย อย่างไรก็ตาม เมื่อคุณป้อนนมทารกจากเต้า ฮอร์โมนจะผลิตออกมา ซึ่งมีผลทำให้คุณภาพการนอนหลับของคุณดีขึ้น
- ระหว่างช่วงเวลานี้ คุณสามารถ:
- นอนหลับขณะทารกของคุณกำลังหลับได้
- ลดการมาเยี่ยมของแขกเพื่อให้มีเวลาพักผ่อนมากขึ้น
- ทำงานบ้านให้น้อยลงหรือขอให้ผู้อื่นช่วย
- ตั้งแต่ระยะเวลา 1 เดือนเป็นต้นไป ทารกของคุณอาจต้องได้รับการป้อนนม 7-8 ครั้งต่อวันและนอนหลับนานขึ้นในตอนกลางคืน ซึ่งในเวลานี้ คุณจะได้เวลาพักผ่อนมากขึ้น
(โปรดอ่านบทที่ 3 ใน ความรัก เริ่มต้นจากการป้อนนม... สำหรับรายละเอียด)
คำถามที่ 3: คุณและคนรักของคุณควรสัมผัสแบบเนื้อแนบเนื้ออย่างใกล้ชิดกับทารกของคุณบ่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็นการป้อนด้วยนมแม่จากเต้าหรือป้อนด้วยนมผง
คำตอบ: จริง!
การสร้างความสนิทสนมหรือสายใยรักระหว่าง พ่อแม่และ ทารกนั้นจะช่วยในเรื่องของพัฒนาการทางสมอง
- เริ่มตั้งแต่การตั้งครรภ์ พ่อแม่สามารถเชื่อมสัมพันธ์กับทารกของพวกเขาได้ตลอดเวลาผ่านการลูบที่ครรภ์อย่างอ่อนโยน พูดคุย และร้องเพลง ทั้งคุณและคนรักของคุณสามารถสัมผัสแบบแนบชิดกับทารกของคุณได้มากขึ้น โดยเฉพาะก่อนป้อนนม หรือเมื่อทารกของคุณร้องไห้
การสัมผัสแบบแนบชิดโดยตรงและใกล้ชิดนั้นสามารถ:
- ทำให้ทารกของคุณมีความมั่นคงทางอารมณ์และเสริมสร้างความผูกพันระหว่างแม่กับลูกได้
- ให้ความอบอุ่นแก่ทารกของคุณและทำให้จังหวะการเต้นของหัวใจ และการหายใจของเขาคงที่
- ช่วยให้ร่างกายของคุณผลิตฮอร์โมนที่ส่งเสริมการหลั่งน้ำนมแม่และการหดตัวของมดลูก
- ตอบสนองความต้องการของทารกได้อย่างทันท่วงที
(โปรดอ่านบทที่ 1 และ 2 ใน ความรัก เริ่มต้นจากการป้อนนม... สำหรับรายละเอียด)
คำถามที่ 4: การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ไม่เหมาะกับแม่ที่มีอาการดังต่อไปนี้: หัวนมแบนหรือกลับหัว เป็นพาหะไวรัสตับอักเสบบี หรือเป็นไข้หวัด
คำตอบ: ไม่จริง!
- มีภาวะทางการแพทย์เพียงไม่กี่อย่างเท่านั้นที่จะทำให้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ไม่เหมาะสม
- แม่ที่มีภาวะดังต่อไปนี้สามารถป้อนนมทารกจากเต้าได้:
- การมีหัวนมแบนหรือกลับหัว: นอกจากหัวนมแล้ว ทารกยังใช้ฐานหัวนมเป็นส่วนใหญ่ในระหว่างการดื่มนมจากเต้า ดังนั้นคุณสามารถป้อนนมทารกจากเต้าได้
- หากคุณเป็นพาหะไวรัสตับอักเสบบี ทารกจะได้รับอิมมูโนโกลบูลินไวรัสตับอักเสบบีและวัคซีนหลังคลอดไม่นานเพื่อป้องกันไม่ให้ติดเชื้อจากนมแม่ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่ปลอดภัยที่จะป้อนนมทารกด้วยนมแม่
- หากคุณเป็นหวัดหรือไข้หวัดใหญ่ แอนติบอดีในน้ำนมแม่สามารถเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ทารกได้ โดยทั่วไปแล้วยาที่ใช้สำหรับไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่เหมาะสำหรับแม่ที่ให้นมบุตร
- โปรดขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพหากคุณมีคำถามใด ๆ
(โปรดอ่านบทที่ 7 ใน ความรัก เริ่มต้นจากการป้อนนม... สำหรับรายละเอียด)
คำถามที่ 5: การให้ทารกนอนในเปลข้างเตียงนอนของคุณนั้นช่วยให้คุณตอบสนองความต้องการของเขาได้ทันเวลา
คำตอบ : จริิง!
- การแบ่งปันห้องกับทารกของคุณและการอยู่ใกล้ชิดช่วยให้คุณเข้าใจความต้องการของทารกได้ดีขึ้นและตอบสนองได้ทันท่วงที
- เมื่อคุณสังเกตเห็นสัญญาณความหิวในช่วงแรกของทารก เช่น อ้าปาก หรือเอานิ้วเข้าปาก คุณสามารถเริ่มป้อนนมแก่เขาได้
- หากคุณป้อนนมทารกในท่านอนราบ คุณควรวางทารกกลับเข้าไปในเปลหลังป้อนนมเพื่อหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุต่าง ๆ
(โปรดอ่านบทที่ 2 ใน ความรัก เริ่มต้นจากการป้อนนม... สำหรับรายละเอียด)
คำถามที่ 6: คุณควรมีตารางการป้อนนมและกำหนดปริมาณที่แน่นอนสำหรับการป้อนนมในแต่ละครั้ง
คำตอบ: ไม่จริง!
- ทารกทุกคนมีจังหวะการทานนมของตัวเอง บางครั้งทารกอาจต้องได้รับการป้อนนมบ่อยขึ้นและบางครั้งนอนมากขึ้น นอกจากนี้น้ำนมที่ได้รับต่อการป้อนนมอาจแตกต่างกันไปอีกด้วย
- ทารกควรเป็นผู้นำในช่วงการให้นมไม่ว่าจะด้วยนมแม่จากเต้าหรือนมผง ไม่สนับสนุนการป้อนนมตามกำหนดเวลาและไม่สนับสนุนให้มีการกำหนดจำนวนต่อการป้อนนม
- เริ่มการป้อนแบบตอบสนองเมื่อคุณสังเกตเห็นสัญญาณการดูดนมของทารกในช่วงต้น
- ตราบใดที่ผ้าอ้อมของทารกของคุณเปียกและมีการเคลื่อนไหวของลำไส้ที่เพียงพอในทุกวันและมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอย่างน่าพอใจ หมายความว่าเขาได้รับน้ำนมที่เพียงพอ
(โปรดอ่านบทที่ 2 และ 3ใน ความรัก เริ่มต้นจากการป้อนนม... สำหรับรายละเอียด)
คำถามที่ 7: ปริมาณของ "น้ำนมแรก" (น้ำนมเหลือง) ที่ผลิตในช่วงสองสามวันแรกหลังคลอดมีปริมาณน้อย ฉันควรป้อนนมทารกของฉันด้วยนมผงสำหรับเด็กทารกก่อนและเริ่มป้อนนมทารกหลังจากน้ำนม "มีการกระตุ้น"
คำตอบ: ไม่จริง!
- ทารกที่สมบูรณ์แข็งแรงจะเกิดมาพร้อมกับน้ำและแหล่งสารอาหารสำรองที่เพียงพอ ทารกต้องการน้ำนมเหลืองในช่วงสองสามวันแรกเท่านั้น
- ประโยชน์ของน้ำนมเหลือง:
- น้ำนมเหลืองเข้มข้นช่วยให้ทารกเรียนรู้และประสานทักษะการดูดนม การกลืน และการหายใจไปพร้อม ๆ กัน
- น้ำนมเหลืองปริมาณเล็กน้อยพอดีกับกระเพาะของเด็กแรกเกิดที่มีขนาดเท่ากับลูกแก้ว
- น้ำนมเหลืองประกอบด้วยแอนติบอดีและเซลล์ที่มีชีวิตมากมายซึ่งนับว่าเป็นการฉีดวัคซีนตามธรรมชาติครั้งแรกให้กับทารกของคุณ
- การเลี้ยงทารกของคุณด้วยนมผงสำหรับเด็กทารกจะลดความอยากดูดนมจากเต้าและส่งผลต่อการผลิตน้ำนมของคุณด้วย
(โปรดอ่านบท 3 ใน ความรัก เริ่มต้นจากการป้อนนม... สำหรับรายละเอียด)
คำถามที่ 8: การป้อนนมผงสำหรับเด็กทารกและน้ำเปล่าแก่ทารกด้วยขวดนมและจุกกัดนั้นไม่ส่งผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
คำตอบ: ไม่จริง!
- น้ำนมแม่เป็นน้ำมากกว่า 80% ดังนั้นทารกที่รับประทานน้ำนมแม่เพียงอย่างเดียวจึงไม่จำเป็นต้องดื่มน้ำเพิ่ม
- การป้อนนมผงสำหรับเด็กทารก น้ำ หรือน้ำผสมน้ำตาลกลูโคสเป็นอาหารเสริมแก่ทารกของคุณ:
- ลดความอยากนมแม่ของทารกและยังทำให้การผลิตน้ำนมลดลงด้วย
- ลดความแข็งแรงของเยื่อบุกระเพาะในกระเพาะอาหารของทารกที่สร้างได้โดยการเลี้ยงด้วยนมแม่เท่านั้น ดังนั้นจึงเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อและโรคภูมิแพ้
- การดูดที่ขวดหรือจุกยางนั้นต่างกับการดูดที่เต้านมโดยสิ้นเชิง
- การให้ทารกของคุณดูดนมจากขวดหรือดูดจุกยางก่อนอายุครบ 1 เดือนอาจส่งผลต่อการเรียนรู้ที่จะดูดนมที่เต้าอย่างถูกต้อง
- หากจำเป็นต้องป้อนนมที่ปั๊มเก็บไว้หรือนมผงชงแก่ทารก คุณอาจพิจารณาป้อนทารกในปริมาณหนึ่งช้อนหรือถ้วยเล็ก ๆ ได้
(โปรดอ่านบท 1, 2, 4 และ 5 ใน ความรัก เริ่มต้นจากการป้อนนม... สำหรับรายละเอียด)
คำถามที่ 9: คุณค่าทางโภชนาการของน้ำนมแม่จะลดลงหลังจากฉันคลอดบุตรแล้ว 6 เดือน ดังนั้นฉันสามารถหยุดป้อนนมทารกได้
คำตอบ: ไม่จริง!
- องค์การอนามัยโลก แนะนำให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวในช่วงอายุ 6 เดือนแรก เมื่อทารกอายุประมาณ 6 เดือนควรให้อาหารแข็งทีละน้อยและควรป้อนนมบุตรจนอายุครบ 2 ปีหรือมากกว่านั้น
- น้ำนมแม่ประกอบด้วยสารอาหารที่หลากหลายและร่างกายของคุณสามารถปรับสารอาหารได้ตามความต้องการของทารกในช่วงพัฒนาการต่าง ๆ
- โอกาสที่จะมีอาการแพ้อาหารจะลดลง หากคุณเริ่มป้อนอาหารใหม่ ๆ ให้ทารกในขณะที่ป้อนนมแม่อยู่
- ความสามารถของทารกของคุณในการสร้างแอนติบอดีจะเริ่มพัฒนาขึ้นเมื่ออายุ 2-3 ปีเท่านั้น แอนติบอดีตามธรรมชาติ เซลล์สิ่งมีชีวิต และส่วนประกอบอื่น ๆ ในน้ำนมแม่ลดความเสี่ยงของการติดเชื้อได้
- ยิ่งคุณเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นานเท่าไหร่ ยิ่งดีต่อสุขภาพของทั้งคุณและทารกมากเท่านั้น
- โดยทั่วไปแล้วไม่มีหลักเกณฑ์ที่ยากและรวดเร็ว วิธีที่ดีที่สุดคือให้คุณและทารกช่วยกันว่าจะหย่านมเมื่อใดและอย่างไร
(โปรดอ่านบทที่ 1 ใน ความรัก เริ่มต้นจากการป้อนนม... สำหรับรายละเอียด)
การป้อนนมทารกในช่วงแรก: สิ่งที่คุณต้องรู้...ตอนที่ 2
คำถามที่ 1: ฉันจะรู้ได้อย่างไรว่าทารกของฉันได้รับนมเพียงพอ
คำตอบ:
- ยิ่งทารกของคุณรับประทานนมมากเท่าไหร่ เขาจะปัสสาวะและอุจจาระออกมามากเท่านั้น
- ทารกของคุณจะอุจจาระเป็นสีเขียวเข้ม เหนียว (ขี้เทา) หลังคลอด จากนั้นอุจจาระจะค่อย ๆ นิ่มเป็นสีเหลืองหรือเขียวในสองสามวันแรก
- คุณจะรู้ว่าทารกของคุณได้รับนมเพียงพอหรือไม่โดยการตรวจสอบผ้าอ้อมที่เปียกและการขับถ่ายอุจจาระ
- เป็นเรื่องปกติที่ทารกของคุณจะน้ำหนักลดลงเนื่องจากสูญเสียน้ำในช่วงไม่กี่วันแรกหลังคลอด แต่หลังจากนั้นจะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
(โปรดอ่านบทที่ 3 ใน ความรัก เริ่มต้นจากการป้อนนม... สำหรับรายละเอียด)
คำถามที่ 2: จะรู้ได้อย่างไรว่าทารกของฉันหิว
คำตอบ:
- เป็นเรื่องสำคัญที่คุณจะต้องปล่อยให้ทารกของคุณเป็นผู้นำขณะการป้อนนม ดังนั้นคุณจะต้องรู้สัญญาณแรกเมื่อเธอหิว
- สัญญาณ ความหิวช่วงแรกในทารกของคุณ เช่น การอ้าปาก การเอามือเข้าปากของเธอ หรือการส่งเสียงดูด
- การร้องไห้หรืองอแงเป็นสัญญาณของความหิวที่ค่อนข้างช้าไปแล้ว เป็นเรื่องยากมากขึ้นที่จะทำให้ทารกที่ร้องไห้แนบเต้านมได้อย่างเหมาะสม และนั่นอาจขัดขวางการดูดนมอย่างมีประสิทธิภาพได้
(โปรดอ่านบทที่ 2 ใน ความรัก เริ่มต้นจากการป้อนนม... สำหรับรายละเอียด)
คำถามที่ 3: ยิ่งทารกดูดนมจากเต้านมมากเท่าไร ฉันก็ยิ่งผลิตน้ำนมได้มากขึ้นเท่านั้น
คำตอบ: จริง
- หลังจากน้ำนมของคุณมี "การกระตุ้น" เต้านมของคุณจะค่อย ๆ ผลิตน้ำนมในปริมาณที่เหมาะสมตามความต้องการของทารก
- เมื่อทารกของคุณดูดนม ร่างกายคุณจะสร้างฮอร์โมนผลิตน้ำนม
- อย่างไรก็ตาม ถ้าไม่สามารถนำน้ำนมออกจากเต้านมอย่างมีประสิทธิภาพได้ เต้านมของคุณจะผลิตสารที่หยุดการผลิตน้ำนมที่ทำให้ปริมาณน้ำนมลดลง
- การดูดนมบ่อย ๆ และมีประสิทธิภาพคือหนทางที่ดีที่สุดที่ช่วยให้เต้านมของคุณผลิตน้ำนมได้เพียงพอ
(โปรดอ่านบทที่ 2 และ 3 ใน ความรัก เริ่มต้นจากการป้อนนม... สำหรับรายละเอียด)
คำถามที่ 4: ในช่วงไม่กี่สัปดาห์แรก ทารกของฉันจำเป็นต้องได้รับน้ำนมบ่อย ๆ ฉันต้องให้น้ำนมทารกอย่างน้อย 8 ถึง 12 ครั้งต่อวัน
คำตอบ: จริง
- ในช่วงไม่กี่สัปดาห์แรก ท้องของทารกแรกเกิดมีขนาดเล็ก ดังนั้นจำเป็นต้องให้การป้อนนมบ่อย ๆ
- ทารกแรกเกิดมีแนวโน้มว่าจะขี้เซาและบางทีอาจไม่ตื่นขึ้นมาทานนม ดังนั้นคุณจำเป็นต้องป้อนนมทารกของคุณอย่างน้อย 3 ถึง 4 ครั้งในวันแรก
- ตั้งแต่วันที่สองเป็นต้นไป ทารกของคุณจะตื่นตัวมากขึ้นและต้องการให้ป้อนนมประมาณ 8 ถึง 12 ครั้งต่อวัน
- ร่างกายของคุณสร้างฮอร์โมนผลิตน้ำนมในตอนกลางคืน การป้อนนมแม่ในช่วงกลางคืนจะช่วยกระตุ้นการผลิตน้ำนม
(โปรดอ่านบทที่ 3 ใน ความรัก เริ่มต้นจากการป้อนนม... สำหรับรายละเอียด)
คำถามที่ 5: การวางตำแหน่งและการแนบติดที่ถูกต้องเป็นหัวใจสำคัญในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้ประสบความสำเร็จ
คำตอบ: จริง
- ตำแหน่งการป้อนนมแม่ที่ถูกต้องและการช่วยให้ทารกแนบติดกับเต้านมของคุณได้ดีเป็นหัวใจสำคัญในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้ประสบความสำเร็จ ทั้งคุณและทารกของคุณต้องเรียนรู้ในการป้อนนมแม่ โดยเฉพาะในช่วงไม่กี่วันแรกหลังคลอด อย่าลังเลที่จะมองหาคำแนะนำในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ
- ตำแหน่งการป้อนนมที่เหมาะสม
- ร่างกายของคุณและทารกจะได้รับการประคับประคองอย่างดีเพื่อให้คุณทั้งสองคนรู้สึกสุขสบายระหว่างการป้อนนมบ่อย ๆ
- วิธีนี้ช่วยให้คุณนำทารกของคุณเข้าเต้านมได้ง่ายขึ้น และช่วยให้เขาแนบติดอย่างเหมาะสมกับเต้านม
- ทารกของคุณสามารถกระตุ้นเต้านมของคุณให้ผลิตน้ำนมมากขึ้นด้วยการแนบติดที่ดี
(โปรดอ่านบทที่ 4 ใน ความรัก เริ่มต้นจากการป้อนนม... สำหรับรายละเอียด)
คำถามที่ 6: ฉันสามารถบีบน้ำนมเมื่อแยกจากทารกชั่วคราว หรือเมื่อเต้านมของฉันคัด
คำตอบ: จริง
- หากคุณไม่สามารถป้อนนมทารกของคุณได้โดยตรง (เช่น เมื่อทารกป่วยหรือต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล หรือเมื่อคุณกลับไปทำงาน) คุณสามารถบีบและเก็บน้ำนมของคุณไว้ได้
- วิธีนี้ช่วยทำให้แน่ใจได้ว่าเต้านมจะได้รับการกระตุ้นอย่างเพียงพอและช่วยให้น้ำนมของคุณมีปริมาณเพียงพอสำหรับการป้อนนมอย่างต่อเนื่อง
- เมื่อเต้านมของคุณมีอาการคัดและคุณไม่สามารถป้อนนมทารกได้ในทันที คุณสามารถบีบน้ำนมบางส่วนเพื่อบรรเทาความไม่สบายตัวและลดความเสี่ยงของอาการท่อน้ำนมอุดตันได้
- หากทารกไม่พอใจหลังจากการป้อนนมจากเต้าโดยตรง แม่อาจบีบน้ำนมและป้อนนม ซึ่งจะกระตุ้นให้เต้านมผลิตน้ำนมมากขึ้น
(โปรดอ่านบทที่ 5 ใน ความรัก เริ่มต้นจากการป้อนนม... สำหรับรายละเอียด)
คำถามที่ 7: การป้อนนมแม่จากขวดนมให้ทารกของฉันดีกว่าการป้อนนมแม่จากเต้าโดยตรงเพราะฉันรู้แล้วว่าเขากินในปริมาณแค่ไหน
คำตอบ: ไม่จริง!
- ทารกที่มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงแสดงให้เห็นถึงความต้องการที่จะดูดนมเมื่อหิวและพอใจเมื่ออิ่ม การป้อนนมทารกตามความต้องการของเขานั้นสำคัญมากกว่าการรู้ปริมาณในการทาน โดยแท้จริงแล้วตราบใดที่ผ้าอ้อมเปียกเพียงพอ หมายความว่าเขาได้รับน้ำนมเพียงพอ
- ข้อดีของการป้อนนมแม่จากเต้าโดยตรง
- ทารกของคุณจะเป็นผู้นำในระหว่างการป้อนนมเพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการของเขา
- การสัมผัสกันแบบเนื้อแนบเนื้ออย่างใกล้ชิดช่วยให้ทารกของคุณรู้สึกอบอุ่นและปลอดภัย อีกทั้งยังช่วยกระชับสายสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่ลูกอีกด้วย
- การเลี้ยงลูกด้วยน้ำนมแม่โดยตรงช่วยส่งเสริมพัฒนาการกล้ามเนื้อใบหน้า ช่องปาก และกระดูกขากรรไกรของทารก รวมทั้งลดความเสี่ยงของการติดเชื้อในหูชั้นกลางอีกด้วย
- ข้อที่ควรทราบก่อนป้อนนมทารกของคุณด้วยขวดนม:
- ปริมาณของน้ำนมอาจไม่เหมาะกับความต้องการที่แท้จริงของทารก หากผู้ให้การดูแลเป็นผู้นำในการป้อนนม
- คุณอาจเจ็บเต้านมหรือหัวนมของคุณ หรือมีอาการกล้ามเนื้อที่มือตึง หากคุณใช้วิธีการที่ไม่เหมาะสมในการบีบน้ำนมหรือปั๊มน้ำนม
(โปรดอ่านบทที่ 1 และ 5 ใน“ความรัก เริ่มต้นจากการป้อนนม...”และ จุลสารเรื่อง “สิ่งที่คุณต้องรู้เกี่ยวกับการปั๊มนม” สำหรับรายละเอียด)
คำถามที่ 8: ขอความช่วยเหลือทันทีหากคุณมีปัญหาใด ๆ ขณะป้อนนมทารกของคุณ
คำตอบ: จริง
- สมาชิกในครอบครัวสามารถให้ความช่วยเหลือในการดูแลทารกแรกเกิดได้ วิธีนี้จะทำให้ชีวิตของคุณเร่งรีบน้อยลงและการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะเป็นเรื่องที่สนุกมากขึ้น
- เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการป้อนนมทารกขณะตั้งครรภ์ เข้าร่วมและปรึกษากับคนรักของคุณและครอบครัวของคุณในการตัดสินใจเกี่ยวกับการป้อนนม
- คนรักของคุณ ปู่ย่าตายายของทารกของคุณ และตลอดจนแม่เลี้ยงหรือบุคคลใดก็ตามที่อยู่ร่วมกับคุณเมื่อคุณคลอด
- หากคุณตัดสินใจที่จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อย่าลืมปรึกษากับ:
- แพทย์สูตินรีเวชและพยาบาลผดุงครรภ์ของคุณที่สถานพยาบาลคลอดบุตร: แจ้งให้พวกเขาทราบถึงแผนของคุณที่จะป้อนนมทารกทันทีที่เป็นไปได้หลังจากคลอดบุตร
- หัวหน้างานของคุณในที่ทำงาน: ปรึกษาเรื่องการเตรียมพร้อมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เมื่อกลับไปทำงาน
- ขอความช่วยเหลือทันทีหากคุณมีปัญหาใด ๆ ในการป้อนนมทารกของคุณ
(โปรดอ่านบทที่ 8 ใน ความรัก เริ่มต้นจากการป้อนนม... สำหรับรายละเอียด)
หากคุณต้องการรับทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการป้อนนมทารก คุณสามารถอ่าน ความรัก เริ่มต้นจากการป้อนนม...
คุณสามารถถามผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพสำหรับจุลสาร “แนวทางสู่การป้อนนมด้วยขวดนม”หากคุณต้องการ