แนวทางการให้นมเด็กจากขวด
ข้อควรพิจารณาสำหรับการป้อนนมทารกด้วยนมผงเด็กแรกเกิด
หากด้วยเหตุผลบางประการ ผู้ปกครองไม่สามารถให้นมแม่หรือตัดสินใจไม่ให้นมแม่ มีเพียงนมผงเด็กแรกเกิดเท่านั้นที่พวกเขาสามารถป้อนทารกได้ในอายุช่วงเดือนแรก ๆ ของชีวิต
ผู้ปกครองควรเข้าใจว่าเมื่อทารกถูกป้อนด้วยนมผงเด็กแรกเกิดนั้น เต้านมของแม่จะผลิตน้ำนมน้อยลง ความต้องการป้อนนมจากเต้าอาจลดลงเช่นกัน
นมผงเด็กแรกเกิดมีราคาแพง ผู้ปกครองอาจต้องจ่ายเงินจำนวนมากเพื่อซื้อนมผงเด็กแรกเกิดในช่วงปีแรก (เช่น นมผงเด็กแรกเกิดกระป๋อง 900 กรัม ราคา $250 และทารกบริโภค 3 ต่อ 4 กระป๋องต่อเดือน ซึ่งผู้ปกครองต้องจ่าย $9,000 ถึง $12,000 ในช่วงปีแรก)
นมผงเด็กแรกเกิดมีสองแบบ: แบบของเหลวปราศจากเชื้อพร้อมป้อนในเชิงพาพาณิชย์และแบบผง แบบผงจะไม่ปราศจากเชื้อ จึงจำเป็นต้องมีการเตรียมนมอย่างปลอดภัยและใช้อุปกรณ์ป้อนนมที่ปลอดเชื้อเพื่อป้องกันทารกจากความเสี่ยงของการติดเชื้อ
น้ำนมแม่เป็นมากกว่าอาหารจากธรรมชาติของทารก...
น้ำนมแม่เป็นแหล่งของสารอาหารที่ยอดเยี่ยมสำหรับการเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารก นมแม่มีแอนติบอดีและเซลล์ภูมิคุ้มกันจากแม่ เอนไซม์ และสารมีประโยชน์อื่น ๆ ที่นมผงเด็กแรกเกิดไม่มี สารอาหารเหล่านี้พัฒนาภูมิคุ้มกันของทารกและลดโอกาสการถูกนำส่งโรงยาบาลเนื่องจากโรคปอดอักเสบหรือท้องเสีย นมแม่ยังช่วยเรื่องการย่อยอาหารและการดูดซึมสารอาหารอีกด้วย
การให้นมแม่นั้นสะดวกสบาย ใช้เวลาน้อย ประหยัดเงิน และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็นการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างแม่และทารกและทำให้ทารกรู้สึกปลอดภัย การให้นมแม่มีประโยชน์ต่อแม่เช่นกัน แม่ที่ให้นมจากเต้าจะมีโอกาสน้อยที่จะเป็นภาวะโลหิตจางและภาวะเลือดออกมากหลังการคลอด การให้นมจากเต้าช่วยเผาผลาญแคลอรีและช่วยให้มดลูกหดกลับเท่าขนาดเดิม ดังนั้นแม่ที่ให้นมจากเต้าจะกลับไปหุ่นเท่าเดิมไวกว่า การให้นมจากเต้ายังช่วยป้องกันไม่ให้แม่ป่วยเป็นเนื้องอกรังไข่และมะเร็งเต้านมอีกด้วย
เนื้อหา
- นมผงเด็กแรกเกิดคืออะไร
- เลือกนมผงเด็กแรกเกิดที่เหมาะสมอย่างไร
- ต้องมีอุปกรณ์อะไรบ้างในการป้อนนมจากขวด
- เลือกขวดนมและจุกนมอย่างไร
- ทำความสะอาด ฆ่าเชื้อ และเก็บรักษาอุปกรณ์ป้อนนมอย่างไร
- เตรียมนมผงเด็กแรกเกิดอย่างไรให้ปลอดภัย
- เก็บรักษานมผงเด็กแรกเกิดที่ชงแล้วอย่างไร
- อุ่นนมอีกครั้งอย่างไร
- ฉันควรป้อนนมทารกเมื่อไหร่
- ป้อนนมทารกอย่างไร
- ทำให้ทารกเรออย่างไร
- ฉันควรทำอย่างไรหากทารกแหวะนมออกหลังจากการป้อน
- ทารกต้องการนมปริมาณเท่าไหร่ต่อวัน
- ทารกของฉันทานเพียงพอแล้วหรือไม่
นมผงเด็กแรกเกิดคืออะไร
- สูตรนมผงส่วนมากมักทำจากนมวัวที่ได้รับการดูแลให้เหมาะสมแก่ทารก มีสูตรนมผงที่ทำจากนมแพะและโปรตีนถั่วเหลืองด้วยเช่นกัน
- ส่วนประกอบด้านสารอาหารของสูตรนมผงต้องตรงตามมาตรฐานของ Codex Alimentarius Commission และตรงตามข้อกำหนดของทารกในช่วงเดือนแรก ๆ หลังคลอดจนถึงการแนะนำการให้อาหารเสริมที่เหมาะสม1
เลือกนมผงเด็กแรกเกิดที่เหมาะสมอย่างไร
- สูตรนมผงที่ทำจากนมวัว หรือที่เรียกกันว่า "สูตรขั้นที่ 1" เหมาะสมกับทารกที่สุขภาพดีตั้งแต่เกิด
- สามารถใช้สูตรนมผงที่ทำจากถั่วเหลืองกับทารกที่มีภาวะกาแล็กโทซีเมียหรือเมื่อไม่สามารถบริโภคนมผงสูตรนมวัวเนื่องด้วยเหตุผลทางวัฒนธรรมหรือศาสนา
- ส่วนผสมทางโภชนาการของนมผงเด็กแรกเกิดนั้นคล้ายกัน ท่านสามารถตัดสินใจเลือกตามที่ตลาดมีหรือตัวเลือกส่วนตัว ท่านสามารถขอคำแนะนำจากแพทย์หรือพยาบาลหากจำเป็น โดยปกติแล้ว การเปลี่ยนยี่ห้อจะไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพทารก
- ทารกเกิดก่อนกำหนดและทารกที่มีระบบภูมิคุ้มกันต่ำนั้นเสี่ยงต่อการติดเชื้อแบคทีเรียมากกว่า หากเป็นไปได้ควรเลือกสูตรนมผงเด็กแรกเกิดปราศจากเชื้อพร้อมป้อน2
ยกเว้นได้รับคำแนะนำจากแพทย์ ทารกอายุต่ำกว่า 6 เดือนควรบริโภคเพียงนมผงเด็กแรกเกิดเท่านั้น
หลังจาก 6 เดือน พวกเขาสามารถบริโภคนมผงเด็กแรกเกิดต่อไปได้ หลังจาก 12 เดือน พวกเขาสามารถเริ่มดื่มนมวัวที่มีไขมันได้
1ส่วนผสมทางโภชนาการของนมผงเด็กแรกเกิดที่ขายในฮ่องกงอยู่ภายใต้ข้อบังคับทางกฎหมาย ซึ่งต้องมีฉลากแสดงพลังงานและปริมาณสารอาหาร เข้าชมเว็ปเพจของ Centre for Food Safety สำหรับรายละเอียด
2Centre for Food Safety สำนักงานอาหารและสุขอนามัยสิ่งแวดล้อม Food Safety Focus (ฉบับที่ 28 เดือน พฤศจิกายน 2008)
Q. มีนมผงเด็กแรกเกิดที่สามารถลดความเสี่ยงการป่วยเป็นภูมิแพ้ของทารกหรือไม่
- การให้นมแม่เป็นวิธีที่ดีที่สุดของการปกป้องทารกจากการเกิดภูมิแพ้
- ไม่มีผลิตภัณฑ์นมผงเด็กแรกเกิดที่แสดงผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญในการปกป้องทารกที่สุขภาพดีจากการมีอาการภูมิแพ้ หากมีสมาชิกในครอบครัวที่ป่วยด้วยโรคภูมิแพ้ การให้นมแม่แก่ทารกของท่านจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุด ปรึกษาแพทย์หากท่านจะป้อนนมทารกของท่านด้วยนมผงเด็กแรกเกิด
Q. มีตัวเลือกใดบ้างสำหรับนมผงเด็กแรกเกิดสำหรับทารกที่แพ้นมวัว
- ปรึกษาแพทย์ของท่านหากท่านกังวลว่าทารกของท่านแพ้นมวัว สำหรับทารกที่ได้รับการวินิจฉัยว่าแพ้โปรตีนนมวัว แพทย์อาจเขียนใบสั่งสูตรนมผงพิเศษให้3เช่น สูตรไฮโดรไลซ์และสูตรกรดอะมิโน การปฏิบัติตามคำสั่งแพทย์นั้นเป็นเรื่องสำคัญในการเลือกผลิตภัณฑ์
- สูตรถั่วเหลืองหรือนมแพะไม่เหมาะกับทารกที่แพ้นมวัวเพราะทารกอาจแพ้ถั่วเหลืองหรือนมแพะด้วยเช่นกัน
3"สูตรพิเศษ" หมายถึงสูตรจากวัตถุประสงค์ทางการแพทย์สำหรับทารกและเด็กเล็ก
Q. ทารกของฉันถ่ายอุจจาระแข็ง ซึ่งเกี่ยวข้องกับสูตรนมผงเด็กแรกเกิดหรือไม่
- หากพูดโดยทั่วไป เป็นเรื่องผิดปกติที่ทารกอายุ 6 เดือนแรกจะมีอาการท้องผูก อย่างไรก็ตาม อาการท้องผูกอาจเกิดขึ้นเป็นครั้งคราวเมื่อเปลี่ยนจากการทานนมแม่เป็นนมผงเด็กแรกเกิดหรือเปลี่ยนเป็นนมผงเด็กแรกเกิดยี่ห้อใหม่ นอกจากนี้ทารกอาจท้องผูกได้หากเตรียมนมผงเด็กแรกเกิดผิดวิธีและใส่น้ำน้อย ตรวจสอบคำแนะนำสูตรบนบรรจุภัณฑ์ ทำให้แน่ใจว่าผสมน้ำในปริมาณที่ถูกต้องและใช้นมผงเด็กแรกเกิดในการผสมเพื่อการป้อน ใส่น้ำในขวดนมก่อนนมผงเสมอ หากจำเป็นท่านสามารถป้อนน้ำปริมาณเล็กน้อยแก่ทารกของท่านในระหว่างมื้อได้
Q. ฉันจะช่วยทารกของฉันในการเปลี่ยนยี่ห้อนมผงสำหรับเด็กแรกเกิดอย่างไร
- ไม่มีกฎตายตัวในเรื่องของการเปลี่ยนยี่ห้อนมผงสำหรับเด็กแรกเกิด หากทารกของท่านยอมรับรสชาติได้ค่อนข้างง่าย ผู้ปกครองสามารถเปลี่ยนยี่ห้อใหม่ได้อย่างง่ายดาย อีกทางเลือกหนึ่ง ท่านอาจค่อย ๆ เพิ่มจำนวนการป้อนนมยี่ห้อใหม่ได้
- ในแต่ละยี่ห้อนั้นอัตราส่วนผงนมและน้ำมีความแตกต่างกัน ดังนั้นท่านไม่ควรผสมนมผงต่างยี่ห้อกันเมื่อเตรียมนมต่อหนึ่งขวด
- ในการเปลี่ยนยี่ห้อนมผง ท่านอาจสังเกตเห็นว่าอุจจาระของทารกของท่านเปลี่ยนไป ซึ่งโดยปกติเกิดจากความแตกต่างภายในขององค์ประกอบของส่วนผสมในหมู่ยี่ห้อที่แตกต่างกันและนั่นไม่ได้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของทารก
<นมผงสูตรต่อเนื่อง> ไม่เหมาะสมกับทารกที่อายุต่ำกว่า 6 เดือน
นมผงสูตรต่อเนื่อง (คือ "สูตรขั้นที่ 2" หรือ "สูตรขั้นที่ 3") มีโปรตีนมากกว่า โปรตีนที่มากเกินไปอาจทำให้ไตของเด็กแรกเกิดมีโปรตีนมากเกินไปและอาจนำไปสู่ภาวะขาดน้ำ ท้องเสีย หรือส่งผลกระทบต่อสมอง
ประเภทของนมที่ควรหลีกเลี่ยงในทารกอายุต่ำกว่าหนึ่งปี:
- นมแพะ
- นมถั่วเหลือง
- นมข้นจืด
- นมข้นไม่หวาน
- นมไขมันเต็มหรือนมไขมันต่ำ
ต้องมีอุปกรณ์อะไรบ้างในการป้อนนมจากขวด
- อุปกรณ์ฆ่าเชื้อ (เช่น หม้อใบใหญ่ กล่องนึ่งขวดนมไฟฟ้าหรือไมโครเวฟ)
- ขวดนมและจุกนมที่มีขนาดเหมาะสมและวัสดุ
- แปรงขวดและแปรงจุกนม
- คีมสำหรับหยิบขวดนมและจุกนมหลังจากฆ่าเชื้อ
เลือกขวดนมและจุกนมอย่างไร
การเลือกขวดนม
- ใช้ขวดนมที่ทำจากแก้วหรือพลาสติกที่ไร้สาร bisphenol A (ฺBPA)
- สีที่ตกแต่งขวดและขีดบนขวดไม่ควรหลุดลอกง่ายและต้องไม่เป็นอันตราย
- ขวดนมใสและมีขีดที่อ่านง่าย มองเห็นภายในขวดง่าย
- ควรทำความสะอาดง่าย
- ควรมีขนาดที่เหมาะสม
การเลือกจุกนม
- ขนาดของจุกนมควรเหมาะสมกับอายุของทารก
- รูปร่างและวัสดุของจุกนมโดยปกติจะไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการป้อนนม จุกนมยางนุ่มและยืดหยุ่น จุกนมซิลิโคนทนทานมากกว่าและคงรูปได้นานกว่า
- รูของจุกนมควรมีขนาดเหมาะสมที่นมจะหยดในอัตราหนึ่งหยดต่อหนึ่งวินาทีเมื่อขวดเอียง หากรูเล็กเกินไป ทารกอาจเหนื่อยจากการดูดได้ หากรูใหญ่เกินไป ทารกอาจสำลักนมเนื่องจากนมไหลออกเร็วเกินไป
- ใช้ขวดและจุกนมที่เป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัย (เช่น มาตรฐานยุโรป EN 14350) ตรวจสอบว่าขวดไร้สาร bisphenol A (BPA) หรือไม่
- ใช้ขวดใหม่หากขีดเลือนลาง
- ทิ้งขวดและจุกนมที่แตกหรือเสียหาย
ทำความสะอาด ฆ่าเชื้อ และเก็บรักษาอุปกรณ์ป้อนนมอย่างไร
ต้องทำความสะอาดและฆ่าเชื้ออุปกรณ์ป้อนนมแม่หรือนมผงเด็กแรกเกิดทั้งหมดอย่างถี่ถ้วน อุปกรณ์เหล่านี้ประกอบด้วยขวดนม จุกนม ฝาขวด ห่วง และอุปกรณ์เสริมอื่น ๆ เช่น ที่คีบและมีด
- วิธีการทำความสะอาดอุปกรณ์ป้อนนม
- ก่อนที่จะทำความสะอาดอุปกรณ์ป้อนนม ให้ล้างมือของท่านด้วยสบู่และน้ำ ทำความสะอาดพื้นผิวที่จะทำความสะอาดด้วยน้ำสบู่ร้อน
- ล้างขวดนม จุกนม และ ที่คีบด้วยน้ำสบู่อุ่นทันทีหลังจากการป้อนนมโดยใช้แปรงทำความสะอาดขวดที่สะอาด ทำให้แน่ใจว่าไม่มีนมเหลือข้างในขวด จากนั้นล้างอุปกรณ์ด้วยน้ำไหลผ่านอย่างถี่ถ้วน
บริเวณรอยแตกแบคทีเรียจะเติบโตได้อย่างง่ายดายดังนั้นให้ตรวจสอบอย่างระมัดระวังเมื่อล้างขวดนมและจุกนม ทิ้งอุปกรณ์ที่เสียหาย
- การฆ่าเชื้ออุปกรณ์ป้อนนม
ท่านสามารถเลือกวิธีการต่อไปนี้ในการฆ่าเชื้ออุปกรณ์ป้อนนมได้:
- การฆ่าเชื้อโดยการต้ม
- ทำให้แน่ใจว่าอุปกรณ์สามารถถูกต้มได้
- นำอุปกรณ์ที่ทำความสะอาดแล้วลงในหม้อใบใหญ่ ใส่น้ำให้เต็มจนเหนืออุปกรณ์และทำให้แน่ใจว่าไม่มีฟองอากาศอยู่ข้างใน
- ปิดฝา ต้มอุปกรณ์ป้อนนมเป็นเวลา 10 นาที จากนั้นปิดเครื่องทำความร้อนและปล่อยให้น้ำเย็นตัว
- ปิดฝาไว้จนกว่าต้องใช้อุปกรณ์ป้อนนม*
- อบไอน้ำฆ่าเชื้อโรคโดยใช้กล่องนึ่งขวดนมไฟฟ้าหรือไมโครเวฟ
- ปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้ผลิตอย่างระมัดระวัง
- ทำให้แน่ใจว่าส่วนเปิดของขวดและจุกนมคว่ำในเครื่องฆ่าเชื้อ
- นำอุปกรณ์ป้อนนมออกเมื่อท่านจะเตรียมป้อนนมเท่านั้น
- หากเครื่องฆ่าเชื้อถูกเปิดออก อุปกรณ์ภายในจะต้องถูกฆ่าเชื้ออีกครั้ง*
- ใช้สารละลายเคมีฆ่าเชื้อ
- ปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้ผลิตสำหรับการฆ่าเชื้อและเปลี่ยนสารละลายฆ่าเชื้อ สำหรับผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ให้เปลี่ยนสารละลายทุก ๆ 24 ชั่วโมง
- ใส่อุปกรณ์ป้อนนมในสารละลายฆ่าเชื้อ ทำให้แน่ใจว่าไม่มีฟองอากาศอยู่ข้างในขวดและจุกนม ปิดด้วยฝาบนอุปกรณ์เพื่อรักษาอุปกรณ์ทุกชิ้นให้อยู่ในสารฆ่าเชื้อ
- ปล่อยอุปกรณ์ต่าง ๆ ทิ้งไว้ในสารละลายฆ่าเชื้อเป็นเวลาอย่างน้อย 30 นาที
*หากอุปกรณ์ถูกนำออกจากสารฆ่าเชื้อก่อนจำเป็น กรุณาตรวจสอบ 'การเก็บรักษาอุปกรณ์ป้อนนมที่ได้รับการฆ่าเชื้อแล้ว'
- การฆ่าเชื้อโดยการต้ม
- การเก็บรักษาอุปกรณ์ป้อนนมที่ได้รับการฆ่าเชื้อแล้ว
- การนำอุปกรณ์ป้อนนมออกก่อนการใช้งานเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันการปนเปื้อนอีกครั้ง
- หลังจากนำอุปกรณ์ป้อนนมออกจากเครื่องฆ่าเชื้อแล้ว ให้ล้างมือของท่านด้วยสบู่และน้ำอย่างถ้วนถี่และเช็ดให้แห้งด้วยผ้าสะอาด (กรุณาอ้างถึงแผ่นพับ "สุขอนามัยของมือ --- วิธีการป้องกันการติดเชื้อที่ง่ายและมีประสิทธิภาพ")
- หากไม่มีการใช้ขวดนมที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้วหรืออุปกรณ์อื่น ๆ ทันทีในตอนนั้น ให้ใช้คีมที่ฆ่าเชื้อแล้วคีบอุปกรณ์ออกและใส่จุกและปิดฝาขวด เก็บทุกอย่างไว้ในที่สะอาดและมีฝาปิด
เตรียมนมผงเด็กแรกเกิดอย่างไรให้ปลอดภัย
ปฏิบัติตามขั้นตอนดังนี้:
- ต้มน้ำ
ต้มน้ำประปาที่เปิดตอนนั้นหรือน้ำกลั่น หากใช้กาน้ำไฟฟ้า ควรต้มน้ำจนไฟของกาต้มน้ำดับลง
- ทำความสะอาดพื้นผิวเพื่อเตรียมการป้อนนมและล้างมือของท่าน
ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อพื้นผิวที่ท่านจะผสมนมผงเด็กแรกเกิด ล้างมือของท่านด้วยสบู่และน้ำ และใช้ผ้าหรือทิชชูเช็ดให้แห้ง
- นำขวดที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้วออก
นำขวดที่ฆ่าเชื้อแล้วออกมาและเขย่าน้ำในขวดและจุกนมออก หากขวดนมถูกนำออกจากสารละลายฆ่าเชื้อ ให้เขย่าสารละลายที่เหลือออกและล้างด้วยน้ำต้มจากกาน้ำ
ขวดน้ำ
- น้ำแร่มีระดับของเกลือสูงดังนั้นไม่ควรใช้สำหรับป้อนทารก
- หากใช้น้ำกลั่นบรรจุขวด ให้ต้มก่อนจะผสมกับนมผงเด็กแรกเกิด
อ่านคู่มือการใช้งานบนบรรจุภัณฑ์ของนมผงเด็กแรกเกิด วัดปริมาณน้ำและนมผงอย่างถูกต้อง
ใช้น้ำที่มีอุณหภูมิมากกว่า 70°C เพื่อผสมนมผง ใช้ขวดนมที่สะอาดทุกครั้งเมื่อต้องป้อนนมแก่ทารกของท่าน การปฏิบัติเหล่านี้ช่วยลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อในทารกของท่าน
- เติมน้ำร้อนในขวดนมในปริมาณที่ถูกต้อง
เติมน้ำร้อนในปริมาณที่ถูกต้องในขวดที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว น้ำควรมีอุณหภูมิสูงว่า 70ºC โดยทั่วไป น้ำจะคงอุณหภูมิที่ 70ºC หรือมากกว่านั้นเป็นเวลา 30 นาทีหลังจากต้ม
- ใส่นมผงเด็กแรกเกิดในปริมาณที่ถูกต้อง
วัดปริมาณผงนมเด็กแรกเกิดด้วยช้อนตวงที่ได้มากับบรรจุภัณฑ์หรือกระป๋อง ตักนมผงหนึ่งช้อนอย่างหลวม ๆ จากนั้นใช้มีดปาดส่วนเกินออก
วัดปริมาณนมผงต่อหนึ่งช้อนตวงในแต่ละครั้ง เพิ่มปริมาณนมผงที่แน่นอนในขวดที่มีน้ำตามคำแนะนำบนบรรจุภัณฑ์
ข้อเท็จจริงที่สำคัญ
การชงนมผงเด็กแรกเกิดด้วยน้ำร้อนอุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 70ºC เป็นการฆ่าแบคทีเรียที่อันตรายซึ่งอาจมีในนมผงเด็กแรกเกิด4
4องค์การอนามัยโลกร่วมกับองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ. 2007. การเตรียมพร้อมอย่างปลอดภัย การเก็บและรักษานมผงเด็กแรกเกิด: แนวทาง. องค์การอนามัยโลก.
- เขย่าขวดเบา ๆ
ใส่จุกนม ปิดฝา และอุปกรณ์เสริมอื่น ๆ ที่ขวด เขย่า/หมุนจนกว่าผงนมจะละลาย
- ทำให้นมเย็นตัวลง
ทำให้นมเย็นตัวลงอยู่ในอุณหภูมิที่เหมาะสมโดยการถือขวดนมแล้วให้น้ำประปาไหลผ่านขวด หรือใส่ขวดลงในบรรจุภัณฑ์ที่มีน้ำเย็น ทำให้แน่ใจว่าน้ำเย็นอยู่ใต้ฝาและไม่สัมผัสกับจุกนม
- ตรวจสอบอุณหภูมิ
เพื่อป้องกันไม่ให้ปากทารกถูกลวก ตรวจสอบอุณหภูมิของนมโดยใช้ข้อมือด้านในของท่านก่อนป้อนนม ทำซ้ำ ๆ จนกว่านมจะอุ่นพอดี
ข้อเท็จจริงที่สำคัญ
ป้อนนมภายใน 2 ชั่วโมงเพื่อลดความเสี่ยงของการติดเชื้อ
เก็บรักษานมผงเด็กแรกเกิดที่ชงแล้วอย่างไร
- การชงใหม่ทันทีที่ทารกของท่านหิวและป้อนนมทันทีเป็นวิธีที่ดีที่สุด
- หากท่านต้องชงนมล่วงหน้า ทำให้นมเย็นตัวลงทันทีหลังจากชงและเก็บในตู้เย็นที่อุณหภูมิ 4℃ หรือต่ำกว่า
- ทิ้งนมที่แช่ในตู้เย็นหากไม่ได้ใช้ป้อนภายในเวลา 24 ชั่วโมง
อุ่นนมอีกครั้งอย่างไร
- อุ่นนมที่แช่ตู้เย็นอีกครั้งเป็นเวลาไม่มากกว่า 15 นาที อุ่นนมอีกครั้งโดยวางขวดลงในภาชนะที่มีน้ำอุ่น ทำให้แน่ใจว่าระดับน้ำไม่สัมผัสกับฝาขวดหรือจุกนม หมุนขวดเป็นครั้งคราวเพื่อให้แน่ใจว่านมอุ่นเท่า ๆ กัน
- ปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้ผลิตหากท่านใช้เครื่องอุ่นนม
- ห้ามอุ่นนมที่เหลือ
ข้อเท็จจริงที่สำคัญ
- ต้องทานนมภายใน 2 ชั่วโมงหลังจากอุ่น ให้ทิ้งนมหากไม่ได้ป้อนภายในเวลานั้น
- อย่าไมโครเวฟในการอุ่นนมที่แช่ตู้เย็น ความร้อนของไมโครเวฟจะอุ่นนมไม่เท่ากันซึ่งสามารถลวกทารกได้
Q. ฉันสามารถชงนมนอกบ้านได้อย่างไร
- หากท่านต้องการป้อนนมทารกนอกบ้าน ท่านสามารถเลือกสูตรนมผงเด็กแรกเกิดปราศจากเชื้อพร้อมบริโภคได้ หากท่านเลือกที่จะชงนมผงนอกบ้าน ให้ระมัดระวังกระบวนการเป็นพิเศษและทำให้แน่ใจว่าอุปกรณ์ป้อนนมนั้นฆ่าเชื้อโรคแล้ว
- เนื่องจากการฆ่าเชื้อนั้นใช้เวลา ผู้ปกครองจะได้รับคำแนะนำให้ฆ่าเชื้อขวดนมและภาชนะก่อนล่วงหน้า ก่อนออกจากบ้านให้ใส่นมผงเด็กแรกเกิดในภาชนะที่แห้ง เทน้ำที่พึ่งต้มลงในกระติกน้ำเก็บความร้อนและหมุนปิดฝาให้สนิท วิธีการนี้เป็นการช่วยรักษาอุณหภูมิน้ำที่ 70℃ หรือมากกว่าสำหรับการชงนม
Q. เป็นอะไรไหมหากจะชงนมก่อนที่เราจะออกจากบ้าน
- ในการป้อนนมที่ชงใหม่ ๆ แก่ทารกของท่านทุกครั้งเป็นวิธีที่ปลอดภัยที่สุด ชงนมผงใหม่เมื่อลูกของท่านต้องการ หากท่านต้องพกพานมไปด้วย ให้ทำนมให้เย็นตัวลงทันทีหลังจากชงเสร็จและนำไปแช่ตู้เย็นที่อุณหภูมิ 4℃ หรือต่ำกว่า สักครู่ก่อนที่จะออกจากบ้าน เก็บขวดนมใส่กระเป๋าเก็บความเย็นที่มีแพ็คน้ำแข็งสำหรับส่งของ จำไว้ว่าต้องทานนมชงที่เอาออกจากตู้เย็นภายในสองชั่วโมง
ฉันควรป้อนนมทารกเมื่อไหร่
ทารกแสดงความหิวและความอิ่มโดยไม่คำนึงว่าพวกเขาจะได้รับนมจากเต้าหรือจากขวด
- เมื่อหิว ทารกของท่านจะมีพฤติกรรมการหานม
- ป้อนนมทารกของท่านเมื่อท่านสังเกตเห็นสัญญาณพฤติกรรมเบื้องต้นเหล่านี้:
- ตื่นและขยับตัว
- เลียริมฝีปาก
- หันไปมาเพื่อหาและอ้าปาก
- ดูดมือหรือกำปั้น
- การร้องไห้และการงอแงเป็นสัญญาณความหิวช่วงท้าย ๆ เมื่อทารก "หิวมาก" ในเวลานั้น อย่างไรก็ตามทารกร้องไห้อาจเนื่องมาจากสาเหตุอื่น ๆ
- การป้อนนมเป็นเวลาที่ท่านและทารกของท่านจะได้สารสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด อุ้มทารกของท่านให้ผิวหนังสัมผัสกันในช่วงป้อนนมจะทำให้ทารกรู้สึกสงบ ปลอดภัย และอบอุ่น
- หากท่านไม่สามารถป้อนนมทารกด้วยตนเองได้ ให้หาโอกาสกอดเขาและมีส่วนร่วมกับเขาในกิจวัตรประจำวันอื่น ๆ วิธีนี้ยังช่วยพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างท่านกับทารกของท่านอีกด้วย
ป้อนนมทารกอย่างไร
ผ่อนคลายตนเอง การป้อนนมเป็นช่วงเวลาพิเศษที่ท่านและทารกของท่านจะได้สานความสัมพันธ์ระหว่างกันและกัน ในขณะที่ท่านป้อนนมทารก ให้มองตาและพูดคุยด้วยอย่างอ่อนโยน
การป้อนนมทารก
- ล้างมือของท่านก่อนป้อนนมทารก สวมใส่ผ้ากันเปื้อนให้เธอ ให้ตัวท่านนั่งอยู่ในท่าที่สบายและบนเก้าอี้ที่มีที่วางแขน
- อุ้มทารกของท่านให้ใกล้กับท่าน ศีรษะและลำคอของทารกให้พักอยู่บนศอกของท่าน ทารกมักจะมีความสบายตัวในการหายใจและกลืนในท่านี้
- ให้ทารกของท่านเห็นขวดนม ใช้จุกนมสัมผัสริมฝีปากของเธอเบา ๆ ทารกจะตอบสนองและอ้าปาก จากนั้นให้ท่านสอดจุกนมเข้าไปในปาก
- เอียงขวดนมเล็กน้อยเพื่อให้จุกนมเต็มไปด้วยนมระหว่างการป้อนนมเพื่อที่ทารกของท่านจะได้ไม่กลืนอากาศมากจนเกินไป
- เมื่อทารกของท่านหยุดหรือดูดนมช้าลง ให้ค่อย ๆ นำจุกนมออก หากทารกต้องการกินนมต่อ เขาจะดึงขวดกลับ เว้นช่วงพักเพื่อให้ทารกของท่านได้เรอหากทารกปล่อยจุกนม ป้อนนมอีกครั้งหลังจากเรอ หยุดป้อนนมหากทารกแสดงสัญญาณว่าอิ่มแล้ว
สังเกตดูทารกในช่วงป้อนนม:
- เรียนรู้สัญญาณการอิ่มจากทารกของท่าน ให้เธอตัดสินใจว่าจะทานนมปริมาณเท่าไหร่ในแต่ละครั้ง
หยุดป้อนนมเมื่อทารกของท่านแสดงสัญญาณการอิ่ม เช่น หากทารก:
- ปิดปาก
- ดูดช้าลงหรือหยุดดูด
- ปล่อยจุกนม
- ดันขวดนมออก
- แอ่นหลังและหันหน้าหนี
- ผ่อนคลายร่างกายและหลับ
- สังเกตการหายใจของทารกและความพยายามในการดูดนม ทารกต้องใช้ความพยายามอย่างมากในการดูดหากรูจุกนมเล็กเกินไป ตรวจสอบรูจุกนมหากจำเป็น ให้ปรึกษาแพทย์หากท่านมีข้อสงสัย
หมายเหตุสำคัญ
- ห้ามเพิ่มหรือผสมอาหารหรือยาใด ๆ ลงในนมผงเด็กแรกเกิดเพื่อป้อนทารกของท่าน
- อย่าค้ำขวดนมหรือปล่อยให้ทารกของท่านอยู่เพียงลำพังระหว่างการป้อนนมเพราะมีความเสี่ยงต่อการสำลักนมและหายใจไม่ออก
- หลีกเลี่ยงการกระแทกขวดนมหรือจั๊กจี้ปากทารกด้วยจุกนมระหว่างการป้อนนม เพราะจะทำให้ทารกรู้สึกไม่สบาย
- ห้ามบังคับให้ทารกดื่มนมทั้งหมด ให้ทิ้งนมที่เหลือ
- ห้ามปล่อยให้ทารกหลับเมื่ออมขวดนมเพราะอาจก่อให้เกิดฟันผุและนิสัยการหลับนอนที่ไม่ดี
ทำให้ทารกเรออย่างไร
ทำให้ทารกของท่านเรอหลังจากป้อนนมเพื่อไล่ลมที่ทารกได้กลืนไประหว่างป้อนนม
- ทำให้ทารกของท่านเรอหลังจากป้อนนมหรือเมื่อเขาพักในช่วงสั้น ๆ ระหว่างการป้อนนม
- ท่านสามารถทำให้ทารกเรอด้วยวิธีต่อไปนี้นี้:
- อุ้มทารกของท่านให้ตั้งตรงบนไหล่ของท่านแล้วตบหรือลูบที่หลังเขาเบา ๆ
- ให้ทารกนั่งบนตัก พยุงศีรษะและอกของเขาแล้วตบหรือลูบที่หลังเขาเบา ๆ
ฉันควรทำอย่างไรหากทารกแหวะนมออกหลังจากการป้อน
ทารกแรกเกิดหลายคนจะแหวะนมเล็กน้อยขณะที่เรอหลังจากป้อนนม หรือเมื่อนอนลงเพราะระบบย่อยอาหารของพวกเขายังไม่เติบโต
สิ่งที่ช่วยลดอาการแหวะนมมีดังนี้:
- ป้อนนมทารกของท่านเมื่อเขาแสดงอาการหิวช่วงต้น ๆ เช่น เลียริมฝีปาก อ้าปาก หรืออมมือ วิธีนี้จะช่วยให้ทารกสงบและกลืนอากาศน้อยลงขณะป้อนนม
- ทำให้แน่ใจว่าจุกนมเต็มไปด้วยนมในขณะที่ป้อน
- หลีกเลี่ยงการป้อนนมมากเกินไป หยุดป้อนนมเมื่อทารกแสดงอาการอิ่ม
- หลังจากป้อนนมหรือเรอ ให้ทารกของท่านอยู่ในท่านั่งตรงเป็นเวลา 10 ถึง 20 นาที ท่านสามารถอุ้มเขาหรือให้เขานั่งบนตักของท่านก็ได้
- ปรึกษาแพทย์หากอาการแหวะนมไม่ดีขึ้น
ทารกต้องการนมปริมาณเท่าไหร่ต่อวัน
ทารกปรับเปลี่ยนปริมาณของนมที่บริโภคเพื่อให้ตอบสนองต่อความต้องการทางด้านการเจริญเติบโตและพัฒนาการของพวกเขา ความอยากอาหารของเขาเปลี่ยนไปวันต่อวัน ปล่อยให้ทารกของท่านนำทางท่านว่าเขาต้องการนมเมื่อไหร่และมากขนาดไหน
- ทารกทุกคนมีเอกลักษณ์เฉพาะของตนเอง บางคนต้องการการป้อนนมปริมาณน้อยแต่บ่อยครั้ง ในขณะที่บางคนต้องการการป้อนนมน้อยครั้งแต่ในปริมาณมาก
- ในช่วงวันแรก ๆ หลังคลอด ทารกต้องการนมผงเด็กแรกเกิดในปริมาณน้อยเนื่องด้วยกระเพาะของพวกเขานั้นเล็กมาก พวกเขาต้องการการป้อนนมทุก ๆ 2 ถึง 3 ชั่วโมงตามเวลาตื่น ไม่กี่สัปดาห์หลังจากนั้น พวกเขาจะกินนม 60 ถึง 90 มล. ทุก ๆ 3 ถึง 4 ชั่วโมง บางครั้งพวกเขาอาจต้องการกินนมบ่อยมากขึ้นเช่นกัน ดังนั้นปฏิบัติตามสัญญาณความหิวของพวกเขา
- ทารกอายุหนึ่งหรือสองเดือนมักจะเริ่มมีรูปแบบการทานนมของตนเอง จากอายุสองถึงหกเดือน ทารกบางคนจะปรับรูปแบบการทานนมเป็นในช่วงกลางคืนและกลางวันปกติ พวกเขาหลับเป็นเวลา 5 ถึง 6 ชั่วโมงตอนกลางคืนและทานนมปริมาณมากขึ้นเมื่อตื่นตอนเช้าตรู่
- ปริมาณน้ำนมผงเด็กแรกเกิดที่ทารกต้องการต่อวันแตกต่างกันไปในทารกแต่ละคน นี่คือข้อมูลอ้างอิงสำหรับทารกที่สุขภาพดีในช่วงเดือนแรก ๆ5
-
อายุ การบริโภคนมผงเด็กแรกเกิดต่อวัน 1 เดือน ประมาณ 550 - 970 มล. 2 ถึง 5 เดือน ประมาณ 630 – 1110 มล. - ทารกรู้ว่าตนต้องการนมปริมาณเท่าไหร่สำหรับการเจริญเติบโตและตามที่ร่างกายของพวกเขาต้องการ ทารกบางคนอาจมีความอยากอาหารมากในเวลาไม่กี่วันและทานน้อยลงหลังจากนั้น หากพวกเขาชอบเล่นและน้ำหนักขึ้นดี การเปลี่ยนแปลงของความอยากอาหารก็ไม่ใช่เรื่องที่น่าเป็นห่วง
- อย่าพยายามบังคับให้เขาดื่มนมจนหมดขวด ความอยากอาหารของทารกเปลี่ยนไปทุกวัน ให้ปฏิบัติตามสัญญาณของเขาและให้เขาตัดสินใจว่าเขาต้องการนมในปริมาณเท่าไหร่
5Leung, S.S.F., Lui, S. & Davies, D.P. (1988). A better guideline on milk requirements for babies below 6 months. Australian Paediatric Journal, 24, 186-190.
ทารกของฉันทานเพียงพอแล้วหรือไม่
ทารกของท่านทานนมเพียงพอเมื่อมีสัญญาณต่อไปนี้:
ผ้าอ้อมเปียก:
- มีผ้าอ้อมเปียก 1 ถึง 2 ชิ้นต่อวันในช่วงสองวันแรกหลังคลอด
- มีผ้าอ้อมเปียกอย่างน้อย 3 ชิ้นต่อวันในวันที่ 3 และ 4
- จากวันที่ 5 เป็นต้นไป มีผ้าอ้อมเปียกหนัก 5 ถึง 6 ชิ้น (แต่ละชิ้นมีน้ำหนักประมาณน้ำ 3 ช้อนโต๊ะ) และปัสสาวะสีใสหรือเหลืองอ่อน
อุจจาระของทารก:
- เปลี่ยนจากอุจจาระสีเทาเป็นสีเหลืองใน 5 วันแรก
- เนื้อสัมผัสค่อย ๆ เปลี่ยนจากเหลวเหมือนแป้งเปียกเป็นเม็ด
น้ำหนักของทารก:
- หลังจากคลอดไม่กี่วัน เป็นเรื่องปกติที่น้ำหนักของทารกของท่านจะลดลงเล็กน้อย
- ในช่วงหนึ่งถึงสองสัปดาห์แรก น้ำหนักของทารกของท่านจะเพิ่มอีกครั้งจากนั้นน้ำหนักจะเพิ่มอย่างต่อเนื่อง
- ในช่วง 2 เดือนแรก ทารกส่วนใหญ่น้ำหนักจะขึ้นที่ 0.5 กก. หรือมากกว่าโดยเฉลี่ยต่อเดือน
หากท่านมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการป้อนนมจากขวด กรุณาปรึกษาแพทย์หรือพยาบาลของท่าน
สำหรับข้อมูลด้านสุขภาพเพิ่มเติม กรุณาเข้าเว็ปเพจบริการอนามัยครอบครัว: www.fhs.gov.hk หรือโทรสายด่วนให้ข้อมูล 24 ชั่วโมง: 2112 9900.
ประเด็นสำคัญสำหรับการป้อนด้วยขวดนม
องค์การอนามัยโลกแนะนำให้ทารกควรได้รับนมจากเต้าอย่างเดียวในช่วงหกเดือนแรก ในช่วงอายุประมาณหกเดือนนั้น ทารกควรได้รับสารอาหารจากอาหารแข็งและยังคงต้องได้รับนมแม่ต่อไปจนกระทั่งอายุ 2 ปีหรือมากกว่า หากผู้ปกครองไม่สามารถหรือเลือกที่จะไม่ให้นมแม่ การป้อนนมด้วยนมผงเด็กแรกเกิดคือทางเลือกเดียวในช่วงเดือนแรก ๆ หลังคลอด
การเลือกนมผงเด็กแรกเกิด
- นมผงเด็กแรกเกิด ("สูตรขั้นที่ 1") นั้นเหมาะสมกับทารกแรกเกิดและทารกที่มีอายุต่ำกว่า 12 เดือน
- นมผงสูตรต่อเนื่อง ("สูตรขั้นที่ 2") นั้นไม่เหมาะสมกับทารกที่อายุต่ำกว่า 6 เดือน การเปลี่ยนเป็นนมผงสูตรต่อเนื่องนั้นไม่จำเป็นหลังจากอายุ 6 เดือนแล้ว
การเตรียมชงนมผงเด็กแรกเกิด
- ขวดนม จุกนม และอุปกรณ์อื่น ๆ ต้องได้รับการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อแล้ว
- วัดปริมาณน้ำและนมผงเด็กแรกเกิดอย่างถูกต้องตามคำแนะนำบนบรรจุภัณฑ์เมื่อชงนม
- เทน้ำใส่ขวดก่อนใส่นมผงเด็กแรกเกิด น้ำต้องมีอุณหภูมิที่ 70°C หรือมากกว่า
- ให้ทารกทานน้ำนมผงเด็กแรกเกิดที่พึ่งชง ควรทานภายใน 2 ชั่วโมงหลังจากชงแล้ว
การป้อนนมทารก
- ตรวจสอบอุณหภูมินม
- หนุนทารกให้นั่งตั้งตรงเล็กน้อยและพยุงทารกระหว่างการป้อนนม
- ป้อนนมทารกตามที่ทารกต้องการ อย่าบังคับให้เขาทาน
- ทิ้งนมที่เหลือทั้งหมด